25 ก.พ.2565- ที่กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียมแผนการบริหารจัดการให้โรคโควิด-19 ออกจากการเป็นโรคระบาดไปสู่การเป็นโรคติดต่อทั่วไปหรือโรคประจำถิ่น คือการที่โรคลดความรุนแรงลง ไม่มีภาวะอันตรายมาก มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันประชาชนมีภูมิต้านทางมากเพียงพอ จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือนจากนี้ โดยได้จัดระบบบริการที่เหมาะสมกับสถานการณ์ เพิ่มการดูแลในระบบผู้ป่วยนอก ไม่ต้องนอนโรงพยาบาล “เจอ แจก จบ” โดยทำการตรวจผู้ที่สงสัยป่วยโควิด 19- ด้วยชุดตรวจ ATK หากพบผลเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาจ่ายยารักษาตามอาการ 3 สูตร ได้แก่ 1.ยาฟาวิพิราเวียร์ 2.ยาฟ้าทะลายโจร 3.ยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ ลดน้ำมูก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ติดเชื้อในการเข้าถึงบริการ และเป็นการเชื่อมโยงเข้าสู่การเป็นโรคที่ดูแลได้ด้วยตนเอง คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในวันที่ 1 มี.ค. นี้
นพ.เกียรติภูมิ กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีจังหวัดเชียงใหม่ และภูเก็ต ที่ดำเนินการอยู่แล้ว พบว่าได้ผลดี ส่วนศิริราชพยาบาลได้วางระบบต้นแบบนี้ไว้เช่นกัน โดยให้ผู้ป่วยดูแลตนเองที่บ้าน ไม่พบคนหมู่มาก พยายามแยกตัวออกจากผู้อื่น ลดการเดินทาง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อ สำหรับกลุ่ม 608 สามารถใช้ระบบนี้ได้ หากมีความเสี่ยงสูง หรือโรคประจำตัวมาก แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาให้การรักษาแบบผู้ป่วยในต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'สมศักดิ์' ฟุ้งปีหน้า 'รัฐบาลอิ๊งค์' ฉลุย อีก 2 ปีครึ่ง พท. กลับมายิ่งใหญ่
'สมศักดิ์' มองทิศทางการเมืองปี 68 มั่นใจรัฐบาลแพทองธาร เดินไปได้ไร้ปัญหาสะดุดล้ม พรรคร่วมไม่ถึงขั้นแตกหัก ฟุ้งอีก 2 ปีครึ่ง เพื่อไทยกลับมายิ่งใหญ่
โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น