นายกฯ โพสต์ขอประชาชนมั่นใจมาตรการคุมโควิด สอดคล้องสถานการณ์ คำนึงเศรษฐกิจ-สังคม

24 ก.พ.2565 - พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม โพสต์เฟซบุ๊ก "ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut-Chan-o-cha" ระบุว่า "พี่น้องประชาชนที่รักครับ จากการประชุม ศบค. เมื่อวาน (23 ก.พ. 65) มีหลายประเด็นที่ผมเห็นว่ามีความสำคัญในการสร้างความตระหนักรู้ เข้าใจ และร่วมไม้ร่วมมือกัน ฟันฝ่ามหาวิกฤตนี้ ไปพร้อมๆ กับชาวโลก เพื่อให้ประเทศไทยและชาวไทยเอาชนะได้เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา ทั้งนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ส่วนในเอเชียหลายประเทศมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มมากขึ้น ทั้งเกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เวียดนาม มาเลเซีย อินเดีย และสิงคโปร์ อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโอมิครอน ยังถือว่ารุนแรงน้อยกว่าเดลต้า เป็นผลให้อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำกว่าคาดการณ์ และภาพรวมการครองเตียงผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศ ณ 22 ก.พ. 65 ทั้งผู้ป่วยวิกฤต (สีแดง) และผู้ป่วยหนัก (สีเหลือง) ต่ำกว่า 20% ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการไม่หนักและสามารถเข้ารับการศึกษาในระบบ HI/CI ได้ ทำให้ผู้ป่วยอาการรุนแรง ได้เข้ารับการรักษาอย่างเต็มที่ที่ผ่านมา ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด ในปี 2563 ซึ่งเป็นปีแรกของการระบาด มีค่ารักษาและบริการรวมทุกสิทธิประมาณ 3,800 ล้านบาท แต่เมื่อเข้าสู่ปีที่สอง ในปี 2564 รัฐมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นสูงมากถึง 97,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม อาการของโอมิครอนที่ลดความรุนแรงลง รวมทั้งอุปกรณ์และการบริการตรวจเชื้อทั้ง ATK และ RT-PCR ที่หาง่ายขึ้นและราคาถูกลง ประกอบกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ อาทิ ค่าอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล-ค่าห้องพักผู้ป่วยโควิด ค่าทำความสะอาดฆ่าเชื้อบนรถพาหนะ-ชุดป้องกันเจ้าหน้าที่ และค่ารักษาพยาบาลกรณีรักษาพยาบาลที่บ้าน HI/CI ก็ถูกลง ด้วยประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ส่งผลให้ ศบค. สามารถลดค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการรักษาผู้ป่วยโควิดทุกระดับอาการลงได้ โดยที่ไม่ลดประสิทธิภาพในการรักษา จึงสามารถประหยัดงบประมาณไปได้พอสมควร ทั้งนี้ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาผู้ป่วยโควิดของไทยได้รับการรักษาจนหายกลับบ้านได้ เป็นอัตรา 92% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่มีอัตรา 83%นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ประสบความสำเร็จจากการเปิดประเทศ อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมีมาตรการควบคุมโรคที่สมดุล และปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของโลก ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกกลับมาเยี่ยมเยือน โดย "ภูเก็ต แซนด์บอกซ์" สามารถสร้างรายได้กว่า 18,000 ล้านบาท จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติกว่า 300,000 คน กระตุ้นเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของไทย รวมมูลค่ากว่า 43,000 ล้านบาท และล่าสุดกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของเรา ก็ได้รับการจัดอับดับที่ 6 ของเมืองจุดหมายจัดการประชุมนานาชาติระดับโลก ประจำปี 2564 จากทั้งหมด 101 เมืองทั่วโลกอีกด้วย ดังนั้น ศบค. จึงได้พิจารณาปรับมาตรการตามสถานการณ์โรค โดยเฉพาะในประเทศฝั่งตะวันตกที่ลดความรุนแรงลง เพื่อลดภาระและจูงใจนักท่องเที่ยวมากขึ้น โดยไม่ลดประสิทธิภาพการควบคุมโรค อาทิ เปลี่ยนจากการตรวจ RT-PCR ครั้งที่ 2 ในวันที่ 5 ของการพำนักในประเทศไทย เป็นการตรวจด้วย ATK แล้วแจ้งผลผ่านแอปพลิเคชัน "หมอชนะ" ซึ่งหากเกิดการติดเชื้อของนักท่องเที่ยวในภายหลัง ก็สามารถติดตามและสอบสวนโรคโดยใช้แอปพลิเคชัน "หมอชนะ" ได้ รวมทั้งปรับลดวงเงินคุ้มครองการประกันสุขภาพลง จากเดิมไม่น้อยกว่า 50,000 เหรียญสหรัฐ เป็นไม่น้อยกว่า 20,000 เหรียญสหรัฐสำหรับข้อเสนอในการปรับระบบการรักษาโรคโควิด-19 ให้เป็นการรักษาตามสิทธินั้น ครม. ได้ให้กระทรวงสาธารณสุขทบทวนและสร้างการรับรู้ให้ทั่วถึงก่อน ทั้งสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนที่เป็นผู้ให้บริการ และผู้ป่วยที่จะเข้ารับบริการ โดยจะต้องไม่สร้างความสับสน ทุกอย่างต้องชัดเจนก่อนปฏิบัติจริง ผมขอย้ำว่า ปัจจุบันโควิดยังคงเป็นโรคที่ “สามารถเข้ารับการรักษาในระบบ UCEP ได้เหมือนเดิม” โดยโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน “ไม่สามารถปฏิเสธการรักษาได้” โดยเป็นไปตามหลักกฎหมาย และหลักมนุษยธรรม หากเตียงเต็มจะต้องมีการประสานงานเพื่อส่งต่อในระบบให้เร็วที่สุด โดยล่าสุด สปสช.ได้เพิ่มคู่สาย สายด่วน 1330 รวมเป็น 3,000 คู่สาย เพื่อเพิ่มศักยภาพรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงนี้ อีกทั้งเพิ่มช่องทางติดต่อผ่านไลน์ @NHSO โดยผู้ป่วย/ญาติสามารถกรอกข้อมูลในทันที และคอยเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับในโอกาสแรกๆ ซึ่งผมได้สั่งการให้ทุกจังหวัดและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนเผชิญเหตุฉุกเฉินและความพร้อมในการขยายศักยภาพโรงพยาบาลสนามได้ทันที่ที่จำเป็น อีกทั้งกำชับให้ยกระดับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในช่วงนี้ ไม่ให้มีกิจกรรมการรวมกลุ่มคนจำนวนมากที่ไม่เป็นไปตามมาตรการควบคุมโรคผมขอให้พี่น้องประชาชนได้มั่นใจว่า การปรับมาตรการต่างๆ ของ ศบค. ทุกครั้ง ทุกมาตรการ ล้วนมาจากหลักวิชาการ สถิติ แนวโน้ม และคำแนะนำของคณะแพทย์ที่ปรึกษา รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญจากทุกภาคส่วน โดยจะพิจารณาให้สอดคล้องกับสถานการณ์โรคและบริบทของสังคมไทย ที่ย่อมมีความแตกต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งเราได้นำเอาบทเรียนในอดีตและมาตรการของประเทศต่างๆ มาเป็นกรณีศึกษา และปรับให้เหมาะสมที่สุด โดยยึดเอาความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก ประกอบกับคำนึงถึงความสมดุลทางเศรษฐกิจและการใช้ชีวิต กิจกรรมต่างๆ ของสังคมไทย ที่มีความสำคัญทางจิตใจไม่แพ้กัน ซึ่งผมเชื่อมั่นในศักยภาพของบุคลากรด้านสาธารณสุข อสม. และเจ้าหน้าที่ด่านหน้าของไทย รวมทั้งเชื่อว่าความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของพี่น้องชาวไทย จะทำให้ประเทศไทยของเราเอาชนะสงครามโควิดในรอบนี้ ที่เชื่อว่าใกล้จะจบลงได้อีกครั้งครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายกฯรวยหมื่นล้าน อิ๊งค์แจงบัญชีทรัพย์สิน ใช้จ่ายส่วนตัวปีละ45ล.

“ป.ป.ช.” เปิดทรัพย์สิน “นายกฯ อิ๊งค์” รวยมโหฬารกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท แบกหนี้กู้เงินญาติพี่น้อง 4.4 พันล้าน สะสมนาฬิกา 75 เรือน มูลค่า 162 ล้านบาท มีกระเป๋า 217 ใบ

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

'นิพิฏฐ์' ถาม 'อิ๊งค์-อ้วน' เศร้าใจและเสียศักดิ์ศรีที่ชายไทยจนๆ คนหนึ่งเสียชีวิตจากเรือรบของเพื่อนบ้านหรือไม่

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตส.ส.พัทลุง โพสต์ข้อความหัวข้อ หรือผมจะเป็นชายไทยที่รักชาติต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ผวาหายนะ! บี้ '2พ่อลูกชินวัตร' ทบทวนพฤติกรรม บ้านเมืองไม่ใช่ธุรกิจครอบครัว

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราข โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ทักษิณ คุณเป็นใคร? หลังจากนายทักษิณ ชินวัตร

'ลุงป้อม' เปิดมูลนิธิป่ารอยต่อฯ รับอวยพรปีใหม่

'ลุงป้อม' สดใส เปิดมูลนิธิป่ารอยต่อฯ รับอวยพรปีใหม่ ย้ำพระราชเสาวนีย์พระพันปีหลวง ปกป้องป่าให้ลูกหลาน ด้าน ผบ.เหล่าทัพ ทยอยอวยพร 3 ป. วานนี้