มธ. คิดค้น 'ชุดตรวจต้นแบบ' สแกนหา 'แอนติบอดีโควิด' ในเลือด ช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ 'ไม่แสดงอาการ'

นักวิชาการธรรมศาสตร์ เปิดตัว “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด” แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว หวังช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หลังโควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่น-คนฉีดวัคซีนครอบคลุม คาดอีก 1-2 ปี พัฒนาสมบูรณ์

21 ก.พ.2565 - ผศ.ดร.จีระพงษ์ ทะนงศักดิ์ศรีกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะหัวหน้าห้องปฏิบัติการศูนย์ตรวจวินิจฉัยระดับโมเลกุล เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้พัฒนา “ต้นแบบชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว” ขึ้นมา ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยคาดว่าชุดตรวจดังกล่าวจะได้รับการพัฒนาให้สมบูรณ์ได้ภายใน 1-2 ปี ต้นทุนปัจจุบันอยู่ที่ไม่เกินชุดละ 100 บาท

สำหรับชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อโควิด 19 แบบเจาะเลือดปลายนิ้ว จะเป็นชุดตรวจที่จะเข้ามาสนับสนุนการทำงานของการตรวจแบบ RT-PCR และ Antigen Test Kit (ATK) แต่จะมีความแตกต่างอยู่ที่ การตรวจด้วยชุดตรวจแอนติบอดีฯ จะสามารถหาเชื้อในผู้ติดโควิด 19 แบบไม่แสดงอาการได้

ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าวอีกว่า แอนติบอดีของผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 จะพบได้ในผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 แล้วเท่านั้น โดยจะพบได้ทั้งในผู้ที่แสดงและไม่แสดงอาการ และจะไม่พบในส่วนประกอบของวัคซีนโควิด 19 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน โดยการตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสชนิดแอนติบอดีนั้นจำเป็นต้องรอเวลา 3-7 วันหลังจากการติดเชื้อ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ติดเชื้อสร้างแอนติบอดีให้ขึ้นสูงถึงระดับที่จะตรวจเจอ โดยจะมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในสัปดาห์ที่ 2 ของการติดเชื้อ

“ต้องเข้าใจก่อนว่า RT-PCR เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรม ขณะที่ ATK ใช้ตรวจหาโปรตีนของไวรัส ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะให้ค่าความแม่นยำอยู่ในช่วงสัปดาห์แรกของการติดเชื้อ ส่วนชุดตรวจแอนติบอดีฯ จะใช้ตรวจหาภูมิต้านทาน ซึ่งให้ค่าความแม่นยำในสัปดาห์ที่สอง ฉะนั้นเราจึงมุ่งหวังว่าในอนาคต เราจะใช้ชุดตรวจนี้ติดตามการติดเชื้อในชุมชน โดยเฉพาะเมื่อโควิด 19 กลายเป็นโรคประจำถิ่นและผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่ เมื่อติดเชื้อจะมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ซึ่งทุกวันนี้เรามักจะตรวจเฉพาะผู้ที่มีอาการ ส่วนผู้ที่ไม่มีอาการเราจะไม่ตรวจ ดังนั้นในอนาคตการสุ่มตรวจด้วย ATK หรือ RT-PCR อาจไม่เหมาะสม เราจึงดีไซน์ชุดตรวจนี้ขึ้นมาเพื่อตรวจหาภูมิแอนติบอดีในเลือด ซึ่งจะพบในผู้ที่ติดเชื้อเท่านั้น” ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าว

ผศ.ดร.จีระพงษ์ กล่าวต่อไปว่า เมื่อเราสามารถตรวจจับผู้ติดเชื้อได้ทั้งในผู้ที่มีอาการและไม่มีอาการ เราก็จะได้ภาพของสถานการณ์การติดเชื้อจริงของประเทศที่มีความครอบคลุมและแม่นยำขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดนโยบายในการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ โดยหนึ่งในนั้นคือผลการตรวจในภาพรวมจะช่วยชี้ว่าการฉีดวัคซีนโควิด 19 ได้ผลดีหรือไม่

อนึ่ง การตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อโควิด 19 ที่นิยมใช้ในปัจจุบันมี 2 หลักการ คือ 1. การหาส่วนประกอบของเชื้อ คือ RT-PCR และ ATK 2. การตรวจหาภูมิต้านทานไวรัสชนิดแอนติบอดี (antibody detection) โดยวิธี immunoassay ซึ่งใช้เป็นข้อบ่งชี้การติดเชื้อทั้งจากในอดีตและการติดเชื้อปัจจุบัน

สำหรับวิธีการตรวจแอนติบอดีที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบ ELISA และ lateral flow immunochromatography เพื่อตรวจหาภูมิคุ้มกันต่อโปรตีน spike (S) หรือ nucleocapsid (N) ของเชื้อโควิด 19 ซึ่งสามารถพบได้จากการติดเชื้อและจากการได้รับวัคซีนโควิด 19 ดังนั้นชุดตรวจแอนติบอดีที่มีในปัจจุบันจึงยังใช้ตรวจวินิจฉัยแยกภูมิคุ้มกันระหว่างที่เกิดจากการติดเชื้อและวัคซีนโควิด 19 ไม่ได้

จึงนำมาสู่โครงการวิจัยเรื่อง “การคัดเลือกแอนติเจนของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และการผลิตชุดตรวจภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดีโดยการศึกษาการตอบสนองทางซีโรโลยีของบุคคลที่หายจากโรคโควิค-19” ที่คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธรรมศาสตร์เกมส์2025' กีฬามหาวิทยาลัยฯครั้ง50 'รวมความหลากหลาย สู่ชัยชนะเพื่อคนทั้งมวล'

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) จัดพิธีเปิดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 "ธรรมศาสตร์เกมส์" (Thammasat Games 2025) อย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด "Unity of Diversity, Victory for All - รวมความหลากหลาย สู่ชัยชนะเพื่อคนทั้งมวล” โดยใช้กีฬาเป็นสื่อกลางในการหล่อหลอมจิตวิญญาณแห่งมิตรภาพ ผ่านการรวมพลังของนักศึกษาจากสถาบันการศึกษาทั่วประเทศที่มาร่วมสร้างสรรค์สังคมแห่งความเสมอภาค และนับเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ทั่วประเทศทั้งในด้านกีฬาและวิชาการ เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ซึ่งในปีนี้มีนักกีฬาและผู้ร่วมงานมากกว่า 10,000 คน ทั้งนี้ การแข่งขันกีฬาฯ จะมีขึ้นตั้งแต่วันที่ 9 - 18 มกราคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต จำนวน 37 ชนิดกีฬา และชิงชัยมากถึง 372 เหรียญ

'ธรรมศาสตร์'ฉลอง90ปี จัดใหญ่'กีฬามหาวิทยาลัยฯครั้ง50' มี126สถาบันฯร่วม

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เฉลิมฉลองครบรอบ 90 ปี แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รุกเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 50 "ธรรมศาสตร์เกมส์" (Thammasat Games 2025) ภายใต้แนวคิด "Unity of diversity, Victory for all - รวมความหลากหลาย สู่ชัยชนะเพื่อคนทั้งมวล” ตั้งเป้าหมายผลักดันศักยภาพนักกีฬาไทยให้ก้าวไกลไปสู่ระดับโลก พร้อมเน้นย้ำความสำคัญของการยอมรับความหลากหลาย การเคารพในความแตกต่าง สร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ผ่านตราสัญลักษณ์การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ รวมทั้งสนับสนุนสร้างสุขภาวะที่ดี ตามนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยการแข่งขันจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 18 มกราคม 2568 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

สมาคมธรรมศาสตร์ฯ ชวนลูกแม่โดมร่วมงาน “วันธรรมศาสตร์ 90 ปี 2567” ชมรายการพิเศษทางโทรทัศน์เนื่องในวันธรรมศาสตร์ 9 ธันวาคม และสังสรรค์รำลึกความหลัง “วันธรรมศาสตร์ 10 ธันวาคม”

สมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร นายกสมาคม ชวนลูกแม่โดมร่วมงาน “วันธรรมศาสตร์ 90 ปี 2567” ชมรายการพิเศษทางโทรทัศน์เนื่องในวันธรรมศาสตร์ คืนวันที่ 9

'บ้านแสนอยู่ดี' ที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตร นวัตกรรมธรรมศาสตร์เพื่อคนทั้งมวล

แม้ว่าที่อยู่อาศัยจะเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ หากแต่มีที่อยู่อาศัยจำนวนไม่น้อยที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยเพียงช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์' ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ต้องไม่ยอมมัน! อดีตรองอธิการบดี มธ. ปลุกขวางแก้ รธน. ทำลายความถูกต้อง-เป็นธรรม

ความพยายามในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราครั้งนี้ หากทำได้สำเร็จ จะเป็นลดความสำคัญของความซื่อสัตย์สุจริต และมาตรฐานทางจริยธรรม