15 ก.พ.2565 - ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ว่า ขณะนี้สายพันธุ์โอมิครอนเป็นสายพันธุ์หลักของโควิด-19ในประเทศไทย ภาพรวมพบเป็นโอมิครอน 97.2 % เดลต้า(อินเดีย) 2.8 % เมื่อแบ่งเป็นกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศแล้วตรวจพบติดเชื้อจะเป็นโอมิครอน 99.4% ที่เหลือเป็นเดลต้า และกลุ่มในประเทศไทยเป็นโอมิครอน 96.4 % มีการพบกระจายทุกจังหวัดแล้ว โดย 10 จังหวัดที่พบโอมิครอนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ หนองคาย สุราษฎร์ธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และขอนแก่น
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า หลังจากมีการระบาดโอมิครอนค่อนข้างเร็วและจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นมาก ธรรมชาติไวรัสเมื่อมีการติดเชื้อซ้ำๆ และระบาดค่อนข้างกว้างมีโอกาสการกลายพันธุ์ จากเดิมที่เป็น B.1.1.529 (BA.1) เป็นสายพันธุ์หลักในหลายประเทศ ก็พบเป็นBA.2 โดยมีตำแหน่งกลายพันธุ์เหมือน BA.1 ใน 32 จุด แตกต่างกัน 28 จุด ปัจจุบันมีรายงานพบใน 57 ประเทศรวมถึงประเทศไทยที่รายงานครั้งแรกเมื่อต้นปี 25654 เริ่มพบการระบาดแทนที่สายพันธุ์หลักแล้วในบางประเทศ เช่น เดนมาร์ก อินเดีย และสวีเดน เป็นต้น ซึ่ง BA.2มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายประเทศ และอาจกลายเป็นสายพันธุ์หลักใน 1-2 เดือน เพราะสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่าBA.1 ซึ่งมีรายงานผลการศึกษาในประเทศเดนมาร์ก พบโอมิครอนสายพันธุ์BA.2 สามารถติดต่อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์ BA.1แม้ว่าBA.2จะมีคุณสมบัติในการหลบหลีกภูมิคุ้มกัน แต่จากข้อมูลที่มี ณ ขณะนี้ความรุนแรงของโรคไม่ต่างจากโอมิครอนสายพันธุ์หลัก และวัคซีนเข็มกระตุ้นยังคงสามารถป้องกันอาการป่วยและอาการรุนแรงได้
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า BA.2 ข้อมูลในเรื่องการแพร่เร็วเริ่มเห็นสัญญาณอยู่บ้าง จากการเห็นเริ่มเบียดBA.1ในเดนมาร์กแปลว่าเร็วกว่าเดิม ความรุนแรงและหลบวัคซีนอาจดูจากตำแหน่งที่กลายพันธุ์ ยังไม่มีข้อแตกต่างที่มีนัยสำคัญนักเมื่อเทียบกับBA.1 ส่วนป่วยรุนแรงต้องดูในสนามจริงว่าคนติดเชื้อจะรุนแรงแค่ไหน อย่างไรก็ตามการตรวจแยกโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยBA.1และBA.2ตรวจได้ในประเทศไทย โดยวิธีการตรวจ เบื้องต้นสามารถตรวจได้ ถ้าตรวจเจอ G3339D เป็นโอมิครอน ถ้าไม่พบเป็นเดลต้า จากนั้นตรวจการหายไปของตำแหน่งHV69-70 ถ้าหายไปเป็นBA.1 ถ้าไม่หายไปเป็นBA.2 ทั้งนี้ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการสุ่มตรวจบางพื้นที่ของประเทศไทยและคนเดินทางจากต่างประเทศจำนวน 1,975 คน นำมาแยกสายพันธุ์ย่อย 567 ราย เจอเป็นBA.2 จำนวน 105 คน ประมาณ 18.5 % และBA.1 จำนวน 462 คน หรือ 81.5 % ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นของBA.2ในประเทศไทย
นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่า โดยสรุปโอมิครอนเป็นเจ้าตลาดแทนเดลต้าเกือบหมดแล้ว และเพิ่มขึ้นค่อนข้างเร็ว การที่แพร่เร็วและติดเชื้อซ้ำบ่อยๆมีโอกาสกลายพันธุ์ได้ สำหรับการเฝ้าระวังสายพันธุ์ในประเทศไทย สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน คือ BA.2 ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัว พบประมาณ 2 % แต่จากการสุ่มตรวจโดยการตรวจเบื้องต้นในบางพื้นที่ พบเป็น BA.2ในสัดส่วนประมาณ 18 % แปลว่าแนวโน้มเจอBA.2มากขึ้น จะมีการเฝ้าระวังต่อไป ข้อมูลเบื้องต้นของโอมิครอนพันธุ์ย่อยBA.2 สามารถแพร่ได้เร็วกว่าBA.1แต่ความรุนแรง ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ ทางกรมวิทย์จะได้ประสานกับกรมการแพทย์ เพื่อติดตามอาการทางคลินิกของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์BA.2ต่อไป และข้อมูลเท่าที่มียังบ่งชี้ว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นยังช่วยป้องกันสายพันธุ์ย่อยBA.2 และลดอาการป่วยหนักและเสียชีวิตได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป
สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว
สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ
ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่