พบเด็กอายุ10-14ปี ติดโควิดสูงถึงร้อยละ20.22 ส่วนใหญ่มาจากคนในครอบครัว เชิญชวนเด็กฉีดวัคซีนเพิ่ม

10ก.พ.65-ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) – นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงข่าวประเด็น: สถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ในเด็ก 5-17 ปี และ การบริหารจัดการวัคซีนโควิด 19 ตอนหนึ่งว่า อัตราการป่วย และการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แยกตามกลุ่มอายุระลอกมกราคม 2565 นั้น ส่วนใหญ่เราจะพบผู้ติดเชื้ออยู่วัยทำงาน แต่ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จะพบผู้ติดเชื้อกลุ่มเด็ก โดยเฉพาะ 0-9 ปี และกลุ่มวัยรุ่น 10-19 ปี เพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งมาจากหลายปัจจัย ได้แก่ ติดเชื้อจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อที่โรงเรียน พบว่า กลุ่มอายุ 10-14 ปี มีร้อยละ 20.22 อายุ 15-19 ปี มีร้อยละ 12.25 อายุ 5-9 ปี ร้อยละ 5.34 ขณะที่กลุ่ม อายุ 0-4 ไม่พบการติดเชื้อรูปแบบนี้ และการติดเชื้อจากการสัมผัสผู้ติดเชื้อ (เพื่อน) นอกโรงเรียนหรือไม่ระบุ พบ อายุ 15-19 ปี ร้อยละ 4.44 อายุ 10-14 ปี ร้อยละ 3.13 อายุ 5-9 ปี ร้อยละ 2.06 กลุ่ม 0-4 ปี ไม่พบ

การติดเชื้อจากผู้สัมผัสร่วมบ้าน/ครอบครัว พบ กลุ่ม 0-4 ปี ร้อยละ 37.16 กลุ่ม 5-9 ปี ร้อยละ 30.18 กลุ่ม 10-14 ปี ร้อยละ 20.01 และกลุ่ม 15-19 ปี ร้อยละ 12.99 ประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อแต่ไม่ระบุประเภท กลุ่ม 15-19 ปี ร้อยละ 28.44 กลุ่ม 0-4 ปี ร้อยละ 25.74 กลุ่ม 5-9 ปี ร้อยละ 25.02 กลุ่ม 10-14 ปี ร้อยละ 24.11 และสาเหตุอื่นๆ เช่น เดินทางมาจากประเทศ/พื้นที่เสี่ยง/ติดเชื้อในชุมชน พบ กลุ่ม 15-19 ปี ร้อยละ 41.88 กลุ่ม 5-9 ปี ร้อยละ 37.40 กลุ่ม 0-4 ปี ร้อยละ 34.96 กลุ่ม 10-14 ปี ร้อยละ 32.53 ทั้งนี้ในกลุ่มเด็กเล็กที่ติดเชื้อควรเว้นระยะห่างจากญาติผู้ใหญ่ที่สูงอายุ และผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน สำหรับอัตราการเสียชีวิตในกลุ่มเด็กนั้นถือว่าน้อยมาก ร้อยละ 0.01 จากการป่วย สำหรับข้อมูลเด็กอายุ 5-11 ปี จำนวน 5,150,082 คน ได้รับวัคซีนเข็มแรกแล้ว จำนวน 84,915 คน เข็มที่ 2 จำนวน 7,731 คน อย่างไรก็ตาม ตนของเชิญชวนทุกท่านให้ช่วยพาบุตรหลาน เข้ารับวัคซีน พร้อมทั้งขอให้ทุกคนร่วมด้วยช่วยกันในการลดกิจกรรมที่มีโอกาสเสี่ยงสูง หรือถ้าจำเป็นต้องไปก็สวมหน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่าง เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้ออย่างรวดเร็ว

ด้านนพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่ากลุ่มเด็ก 5-11 ปี พบการติดเชื้อที่สูงขึ้น กว่าร้อยละ 6 และเป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าและโอมิครอน และแม้จะติดเชื้อจำนวนมาก แต่อาการที่พบก็ค่อนข้างน้อย ซึ่งสิ่งที่เรากังวลในเด็ก คือ เด็กบางคนอาจจะมีภาวะการอักเสบของอวัยวะหลายระบบ ดังนั้นจึงเป็นนโยบายของ สธ.ที่ต้องการจะให้เด็กได้รับวัคซีนป้องกันการแพร่ระบาดในครัวเรือน และสามารถเปิดโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย

สำหรับความคืบหน้าแผนการบริหารจัดการวัคซีนโควิด-19 สำหรับเด็กอายุ 5-11 ปี ปัจจุบันวัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียบจากคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) จะมี 3 ประเภท คือ 1.วัคซีน Pfizer ฝาสีส้ม 2.วัคซีน Sinovac และ 3.วัคซีน Sinopharm ที่ฉีดได้ในเด็กอายุ 6-17 ปี และขณะนี้ได้มีการเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่เด็ก 7 กลุ่มโรคร้ายแรงไปแล้วตั้งแต่วันที่ 31 มกราคมที่ผ่านมา และให้บริการฉีดวัคซีนผ่านระบบสถานศึกษา ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม กรมควบคุมโรคเองก็ได้มีการติดตามในส่วนของอาการไม่พึ่งประสงค์จากการไม่รับวัคซีน ซึ่งยังไม่ได้รับรายงานความผิดปกติ สำหรับคำแนะนำในเรื่องขอบการฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กจะพิจารณาจากข้อมูลหลายด้าน โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรกและผลข้างเคียงต่างๆ ซึ่งขอให้มั่นใจว่าวัคซีนที่ผ่านการพิจารณาก็ได้มีคณะผู้เชี่ยวชาญจากหลายส่วนมาร่วมดำเนินการ ดังนั้นทั้งประเภทของวัคซีน สัดส่วนของวัคซีนถือว่าผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว ทั้งนี้ในกรณีของฉีดวัคซีนสูตรไขว้ระหว่าง Sinovac และ Pfizer ในกลุ่มเด็ก อายุ 6-11 ปี ขอให้มีการพิจารณาของคณะผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง

“สำหรับสถานการณ์การฉีดวัคซีน Sinovac ในกลุ่มเด็ก ตัวอย่างจากประเทศจีนไม่มีเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ถึง 1.5 หมื่นราย ส่วนวัคซีน Pfizer กลุ่มตัวอย่างจากประเทศอเมริกา ซึ่งมีการผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรง และผลข้างเคียงที่เป็นข้อกังวลของผู้ปกครองคือเรื่องกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ซึ่งก็ตรวจพบ สุดท้ายการฉีดวัคซีนในเด็กไม่ว่าจะเป็นเชื้อตายหรือวัคซีน mRna ในเด็กก็ขอให้พิจารณาข้อมูลให้ครบถ้วนและเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครอง ซึ่งผู้ปกครองสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อประกอบการตัดสินใจได้”ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระ' ยกตัวเลข Long COVID ฝรั่งเตือนคนไทยวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือไม่ติดเชื้อ!

'หมอธีระ' ยกแถลงการณ์ ผอ.อนามัยโลกยุโรปเตือนสติคนไทย บอกฝรั่งเกิด Long COVID มากถึง 36 ล้านคนในรอบ 3 ปี ย้ำวิธีป้องกันลองโควิดที่ดีที่สุดคือต้องไม่ติดเชื้อ

มีหนาว! โควิด-19 ไม่ใช่อยู่แค่ระบบหายใจแต่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้

มีหนาว! หมอธีระยกสารสารการแพทย์ระบุชัดการติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้ต้องอยู่ที่ระบบหายใจถ่ายเดียว สามารถกระจายไปยังอวัยวะและระบบอื่นๆ ในร่างกายได้

'หมอยง' เผยการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิดเริ่มเฉื่อยลงทำให้อนาคตอาจเหมือนไข้หวัดใหญ่ A

'หมอยง' ชี้โควิดสายพันธุ์ XBB ติดซ้ำไม่ใช่เรื่องแปลก ข่าวดี! อัตราการกลายพันธุ์ของไวรัสเริ่มช้าลง ทำให้แนวโน้มอาจใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่ A ในอนาคตได้

รู้กันไว้! ไวรัสโควิดไร้สีที่ตามองเห็นส่วนที่ขึ้นเป็นสีแดงเพราะใช้คอมพิวเตอร์แต่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์เปิดความรู้เรื่องสีไวรัส บอกชัดไม่มีสีที่ตามองเห็นได้ ส่วนที่เป็นสีแดงไม่ใช่สีจริงเป็นการแต่งแต้มด้วยคอมพิวเตอร์

นพ.ธีระยกผลวิจัยเมืองผู้ดีย้ำ Long COVID ก่อให้เกิดปัญหายืดเยื้อยาวนาน!

หมอธีระยกผลวิจัยระยะยาวจากแดนผู้ดีเรื่อง Long COVID ย้ำป้องกนตัวเองให้ห่างโควิดดีที่สุด เพราะหากติดแล้วมีโอกาสเกิดปัญหายืดเยื้อยาวนานแน่