'หมอธีระ' คาดขางลงโอมิครอนของไทยจะพบผู้ติดเชื้อมากกว่าก่อน แนะยังต้องระวังตัว เชื่อโควิด-19 ซาลงแน่แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยังต้องใช้ชีวิตอย่างมีสติ รวมทั้งระวังเรื่อง Long COVID
10 ก.พ.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ว่าทะลุ 403 ล้านแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,298,201 คน ตายเพิ่ม 10,132 คน รวมแล้วติดไปรวม 403,304,053 คน เสียชีวิตรวม 5,792,980 คน5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เยอรมัน รัสเซีย บราซิล อเมริกา และตุรกี
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.4 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 78.3 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 51.24 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 34.43 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก ภาพรวมการระบาดของ Omicron ทั่วโลก หลายทวีปเป็นขาลง ทั้งยุโรป อเมริกาเหนือและใต้ โอเชียเนีย และแอฟริกา (รูปที่ 1) ทั้งนี้ทวีปเอเชียชะลอตัว ยกเว้นหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออก ซึ่งกำลังอยู่ในขาขึ้นชัดเจน รวมถึงประเทศไทยด้วย (รูปที่ 2)
...คาดการณ์ไตรมาสสองของปี 2565 หลังพีกระลอก Omicron ในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่าขาลงของไทยจะมีจำนวนการติดเชื้อต่อวันในระดับสูงกว่าช่วงขาลงของระลอกก่อน ดังนั้นการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอจึงมีความจำเป็น
การติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันในช่วงไตรมาสสอง หากพิจารณาจากธรรมชาติการระบาดของต่างประเทศ อาจเห็นสองลักษณะที่เพิ่มมากขึ้นถ้าไม่ป้องกันให้ดี คือ จำนวนผู้ที่ติดเชื้อซ้ำ (reinfection) จะสูงขึ้น และการติดเชื้อในกลุ่มประชากรที่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนจะมากขึ้นได้ ซึ่งทั้งสองลักษณะนั้นก็ไม่ได้ทำให้แปลกใจ เพราะสอดคล้องกับความรู้ที่มีอยู่เดิมว่า ไวรัสสายพันธุ์ Omicron นั้นหลบหลีกภูมิได้มาก และมีอัตราการทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำสูงกว่าสายพันธุ์เดิม
ทั้งนี้สายพันธุ์ BA.2 ที่กลายพันธุ์และเป็นที่จับตามองกันอยู่นั้น ข้อมูลขณะนี้พบว่าแพร่เร็วกว่า Omicron ดั้งเดิมคือ BA.1 แต่การหลบหลีกภูมิคุ้มกันไม่น่าจะต่างจากเดิม และอัตราการติดเชื้อซ้ำนั้นไม่ได้มากไปกว่า BA.1
...สิ่งสำคัญที่ต้องย้ำเตือนกันคือ การติดเชื้อนั้นแม้จะรุนแรงน้อยกว่าเดลตา แต่ที่ควรระวังคือผลกระทบระยะยาวหลังจากติดเชื้อคือ Long COVID ซึ่งขณะนี้เรายังไม่ทราบชัดเจนว่าสายพันธุ์ Omicron จะทำให้เกิดภาวะนี้มากกว่า เท่ากับ หรือน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนๆ ซึ่งพบว่ามีสัดส่วนสูงถึง 20-40% และเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย เกิดได้ทั้งในคนติดเชื้อที่ไม่มีอาการ อาการน้อย หรืออาการรุนแรง ทั้งนี้น่าจะเห็นผลการวิจัยเรื่องนี้สำหรับสายพันธุ์ Omicron ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีกว่า ใส่หน้ากาก เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะคนเท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ เลี่ยงการกินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่น หากไม่สบาย ควรแจ้งคนใกล้ชิด และคนในที่ทำงาน หยุดเรียนหยุดงาน และไปตรวจรักษา เป็นการแสดงความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและสังคม
โควิด-19 นั้นจะซาลงแน่อย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่นโยบายระดับชาติและการดำรงชีวิตของประชาชนต้องเป็นไปอย่างมีสติ ไม่ประมาท ขืนกระโดดไล่ตามกิเลส จะเสียหายหนักระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบจาก Long COVID
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
'ไชยันต์' ตั้งปุจฉา 'ไม่มีสมบูรณาญาสิทธิราชก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง'
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่มีสม