นพ.ธีระเผย 2 ปัจจัยที่กำหนดทิศทางการอยู่กับโควิด-19

'หมอธีระ' ชี้ 2 ปัจจัยที่จะทำให้ไทยอยู่กับโควิดได้ คือ การมีวัคซีนคุณภาพสูงและความเข้าใจทางการแพทย์ที่โควิดมีผลในระยะยาว

03 ก.พ.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ทะลุ 384 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,916,531 คน ตายเพิ่ม 10,858 คน รวมแล้วติดไปรวม 384,960,111 คน เสียชีวิตรวม 5,716,637 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา บราซิล และอินเดีย จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.89 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 79.07
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 55.63 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 35.1 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...ดูสถิติรายสัปดาห์ของ Worldometer ทั่วโลกมีจำนวนติดเชื้อใหม่ลดลง 7% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 14%

มองดูสถิติของไทยเรา สถานการณ์ระบาดยังไม่ดีนัก สวนกับกระแสโลก โดยจำนวนติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 6% และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 27%

...ปัจจัยหลักที่กำหนดทิศทางในการอยู่กับโควิด-19 มีอยู่ 2 เรื่องหลัก ได้แก่

หนึ่ง การเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพสูงของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หากประเทศใด ยังไม่สามารถทำให้เข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุม ครบถ้วน แต่ไปดำเนินมาตรการเปิดเสรีการใช้ชีวิตเร็วเกินไป ย่อมเกิดผลกระทบทั้งด้านการติดเชื้อ ป่วย และตายตามมา และจะทำให้ระยะเวลาการระบาดยืดยาวออกไปมากขึ้น

สอง ความรู้ความเข้าใจทางการแพทย์เกี่ยวกับ Long COVID ผลกระทบระยะยาว และการเตรียมระบบสุขภาพเพื่อรองรับดูแลและให้คำปรึกษา

...การระบาดของไทยเรายังเยอะ กระจายไปต่อเนื่อง จำเป็นต้องป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ณ จุดนี้ จำเป็นต้องพึ่งตนเอง และดูแลตนเองและสมาชิกในครอบครัวให้ดี เพื่อประคับประคองตัวให้ผ่านพ้นการระบาดไปให้ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง

'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้