'ดร.อนันต์' โต้ข่าวแชร์ วัคซีนmRNA ฉีดแล้วกระจายไปทุกเซลล์ในร่างกาย หรือสะสม10-20ปี

1ก.พ.65- สืบเนื่องจากมีกระแสข่าวว่า วัคซีน mRNA เมื่อฉีดเข้าร่างกายแล้ว ก็จะกระจายไปเข้าทุกcellของทุกอวัยวะ เพื่อให้สร้าง original spike protein จากสายพันธ์แรกเริ่ม จึงทำให้ ได้ protein spike เยอะ เพราะทุกcell ช่วยกันสร้าง จึงทำให้ดูเหมือนมี antigenicity ดี ทั้งที่ฉีดปริมาณไม่มาก จากที่ cellของทุกอวัยวะถูกบังคับให้สร้าง protein spike อวัยวะบางชนิดอาจ# สร้างprotein ที่เพี้ยนไป#อาจสะสมภายใน cellของอวัยวะนั้น ซึ่งอาจชัดขวางการทำงานของอวัยวะนั้นได้#อาจไม่ถูกปล่อยออกมานอกcell หลังจาก สร้างแล้ว และคาอยู่ที่ผนัง cell ก็จะถูกทำลายโดย immuneresponse ที่เกิดขึ้น

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้โพสต์ข้อความว่า เมื่อเช้านี้ข้อความนี้ส่งมาให้ทาง line ครับ อ่านแล้วน่าสนใจจึงอยากออกความเห็นส่วนตัวครับ ข้อเท็จจริงข้อแรกคือ วัคซีน mRNA ที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายใช้ปริมาณเป็นระดับไมโครกรัมซึ่งน้อยมาก ในแล็บเราใช้ RNA ระดับเดียวกันนำส่งเข้าเซลล์ยังไม่สามารถเข้าได้ทุกเซลล์เลยครับ ยิ่งวัคซีนเด็กจะลดปริมาณลงไปอีก ร่างกายเรามีเซลล์ทั่วรางกายจำนวนมหาศาล การที่ mRNA ที่ฉีดไปจำนวนน้อยขนาดนั้นจะไปสะสมในทุกส่วนของร่างกายควรเกิดขึ้นหรือไม่? ถ้าคิดว่าได้ ไปคำถามต่อไปครับ


การฉีดวัคซีนคือฉีดเข้ากล้ามเนื้อเพื่อให้เซลล์จำเพาะบางชนิดรับวัคซีนไปสร้างภูมิคุ้มกันที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้บริเวณที่ฉีด วัคซีนจะใช้กลไกใดส่งไปสะสมทั่วร่างกาย? ในเมื่อเราไม่ได้ฉีดเข้ากระแสเลือด ถ้ายังคิดว่าได้อีก ลองอีกข้อครับ


mRNA ฉีดแล้วจบ เราไม่ได้ฉีดทุกวันเหมือนกินยา ตัววัคซีนอยู่ในร่างกายไม่นานด้วยคุณสมบัติของ RNA เองส่งผลให้โปรตีน ที่สร้างขึ้นก็จะหยุดการสร้างไปด้วย โปรตีนมีอายุ มีการเสื่อมสลาย แม้กระทั่งเซลล์ที่แสดงออกโปรตีนนั้นก็มีอายุเสื่อมสลายเช่นกัน การสะสมเป็น 10-20 ปี เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ถ้ายังคิดว่าได้อีก เราควร agree to disagree แล้วครับ

ข่าวที่มีการแชร์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอธีระวัฒน์' เลิกพูดถึงเรื่อง 'white clot' แต่ยังให้ความสำคัญกับผลกระทบของวัคซีน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก