'หมอยง' เผยผลวิจัยกระตุ้นเข็ม 3 ต่างชนิด กับภูมิคุ้มกันเดลตา-โอมิครอน

28 ม.ค. 2565 – ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีน โควิด-19 การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนต่างๆ หลังจากได้รับวัคซีนเชื้อตายมาแล้ว 2 เข็ม

วันนี้จะขอแสดงผลของการกระตุ้นเข็ม 3 หลัง ได้รับวัคซีนเชื้อตาย Sinovac มาแล้ว 2 เข็มเป็นระยะเวลาประมาณ 6 เดือน กลุ่มละประมาณ 60 คน (ก่อนหน้านี้เคยนำเสนอระยะห่าง 3 เดือนมาแล้ว) เป็นงานวิจัยทางคลินิก โดยดูผลการตอบสนองภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ เดลตา และ โอมิครอน โดยทำการศึกษาด้วยวิธีการคล้ายไวรัสเทียม และ ต่อไวรัสจริงสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ที่แยกได้ในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจาก ดร.ฐนียา ดวงจินดา หน่วยปฏิบัติการเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นผู้ทำ FRNT ให้ ซึ่งจะได้ข้อมูลที่ตอบสนองได้ดีกว่า และน่าเชื่อถือมากกว่าไวรัสเทียม

ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนเชื้อตายมาแล้ว 2 เข็ม เมื่อกระตุ้นด้วยเชื้อตายอีก 1 ครั้ง ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น ที่ตอบสนองต่อสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ทั้งไวรัสจริงและไวรัสเทียม สู้การให้วัคซีนชนิดไวรัสเวกเตอร์ AZ หรือ mRNA ไม่ได้ และในการกระตุ้นด้วย mRNA วัคซีน moderna ตอบสนองภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์โอมิครอน ได้ดีที่สุด สูงกว่าการกระตุ้นด้วยวัคซีนเชื้อตายถึง 22 เท่า

โดยสรุปแล้วการกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยไวรัสเวกเตอร์ (AZ) mRNA (Pfizer หรือ Moderna) ได้ผลดี ต่อสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน และขณะนี้ก็ใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับประเทศไทยอยู่แล้ว

ข้อมูลทั้งหมดนี้ ได้ส่งไป เพื่อเผยแพร่ในวารสารนานาชาติ และ จะส่งเผยแพร่แบบ preprint MedRxiv วันนี้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ผลวิจัยชี้ชัด การได้อยู่ในที่โล่งกว้างช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น

เพจเฟซบุ๊ก คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา ของ นพ.เจษฎา ทองเถาว์ แพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ จิตแพทย์ประจำ รพ.พระศรีมหาโพธิ์ จ.อุบลราชธานี ได้เผยแพร่ข้อมูล งานวิจัยที่ระบุว่าการได้อยู่ในที่โล่งกว้างช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้น โดยระบุว่า

หมอยง เตือนการระบาดโรคทางเดินหายใจ ไวรัส hMPV ในเด็ก แนะวิธีดูแล

อาการของไวรัสนี้ไม่แตกต่างกับไวรัสตัวอื่น ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจพบได้ ตั้งแต่ ไม่มีอาการ อาการน้อย จนถึงอาการมากลงปอด พบได้ทุกอายุ แต่พบได้มากในเด็ก

70 ยัน 90 ปี เพียงเดินเพิ่ม 500 ก้าว ลดเสี่ยงโรคเส้นเลือดหัวใจ-สมองตีบ

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 70 ยัน 90 ขวบ เพียงเดินเพิ่มแค่ 500 ก้าว