'หมอธีระ' เผยยอดติดเชื้อโควิด 19 ทั่วโลกทะลุ 362 ล้านไปแล้ว เชื่อพี่ไทยยังไม่ถึงระดับสูงสุด เตือนสติให้รับมือและเตรียมความพร้อมให้ดีในเรื่องป้องกันตัว
27 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานกาณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 27 ม.ค.ว่า ทะลุ 362 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 3,343,710 คน ตายเพิ่ม 9,729 คน รวมแล้วติดไปรวม 362,701,881 คน เสียชีวิตรวม 5,644,172 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย บราซิล และเยอรมัน จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 86.87 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 83.3 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 50.44 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 33.85 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 11 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...เทียบกันแต่ละทวีป สถานการณ์ขณะนี้ จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวัน ทวีปยุโรปสูงสุด ตามมาด้วยเอเชีย อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ตามลำดับ แต่ทวีปอเมริกาเหนือมีอัตราส่วนระหว่างการเสียชีวิตกับการติดเชื้อใหม่สูงสุด โดยมากกว่าทวีปยุโรปและทวีปเอเชียถึง 3 เท่า
...Omicron BA.2 ในเดนมาร์ก ทำท่าไม่ค่อยดี เพราะ BA.2 นั้นกระจายไปหลากหลายเมือง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ที่ชี้ตรงกันว่า BA.2 น่าจะแพร่ได้ไวกว่า Omicron ดั้งเดิมอย่าง BA.1 (ดังภาพที่ 1 และ 2 จาก Pandemic Prevention Institute) คงต้องติดตามการวิจัยกันอย่างใกล้ชิดว่า ความรุนแรง การดื้อต่อวัคซีน และสมรรถนะในการติดเชื้อซ้ำของ BA.2 นั้นจะแตกต่างไปจาก BA.1 หรือไม่
...วิเคราะห์สถานการณ์ย้อนหลังของ Omicron ในอเมริกา (ภาพที่ 3) หากเทียบกับระลอกก่อนๆ จะพบว่าอเมริกาโดน Omicron โจมตีหนัก ทำให้มีจำนวนการติดเชื้อสูงกว่าทุกระลอกที่ผ่านมา แม้วิจัยพิสูจน์แล้วว่าความรุนแรงจะน้อยกว่าเดลตา แต่ก็ส่งผลกระทบให้มีจำนวนคนป่วยที่ต้องมารับบริการฉุกเฉินและนอนโรงพยาบาลมากกว่าเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวัยเด็ก ที่เราเห็นข้อมูลมาก่อนหน้านี้ว่ามีการติดเชื้อ และป่วยเพิ่มขึ้นมาก แม้ Omicron จะผ่านพีคไปแล้ว แต่ในช่วงอายุนี้ในหลายรัฐก็ยังถีบตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
...สำหรับไทยเรา ดูธรรมชาติการระบาดของทั่วโลก ต้องยอมรับว่าทวีปเอเชียนั้นเริ่มต้นการระบาดช้ากว่าทวีปอื่นๆ และกำลังอยู่ในขาขึ้น ยังไม่ได้พีคแล้วลงแบบทวีปอื่น ด้วยสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ที่มีการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวและคนที่เดินทางจากต่างประเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ย่อมมีโอกาสที่ไวรัสสายพันธุ์ต่างๆ ที่มีนั้นจะเล็ดรอดเข้ามาได้ ดังที่เห็นล่าสุดคือ BA.2
ตีความตามเนื้อผ้า ทั้งในเรื่องเงื่อนเวลาการระบาด และสภาพแวดล้อมเชิงนโยบาย ณ จุดนี้ น่าจะยังไม่ใช่พีคของเรา การป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด เป็นกิจวัตร เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า พบคนน้อยลง เท่าที่จำเป็น ใช้เวลาสั้นๆ อยู่กันห่างๆ เลี่ยงการกินดื่มร่วมกัน ไม่แชร์ของกินของใช้ เตรียมตัว เตรียมพร้อมเสมอ ข้าวของเครื่องใช้จำเป็น หยูกยาสามัญประจำบ้าน รวมถึงห้องหับและชุดตรวจ ATK เผื่อสมาชิกในครอบครัวไม่สบายจะได้ควักแผนที่เตรียมไว้มาใช้ได้ทันที
การดำรงชีวิตประจำวันในอนาคตถัดจากนี้ สวมหน้ากาก ลดความแออัด รักษาระยะห่าง และเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง จะเป็นเรื่องที่ควรทำเพื่อประคับประคองให้สุขภาพไปพร้อมกับการทำมาหาเลี้ยงชีพ ...รักตัวเองมากๆ ตระหนักถึง Long COVID ไว้เสมอ เพราะโควิดไม่ใช่หวัดธรรมดา...
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
'ไชยันต์' ตั้งปุจฉา 'ไม่มีสมบูรณาญาสิทธิราชก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง'
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไม่มีสม