'นักไวรัสวิทยา' เผย WHO คาดไวรัสโควิดไม่น่าหยุดที่ 'โอมิครอน' จะเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกเรื่อยๆ

'ดร.อนันต์' เผย WHO มองไวรัสโรคโควิด-19 ในปี 2022 ไม่น่าหยุดที่โอมิครอน จะเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกเรื่อยๆ ไวรัส VOC ที่จะมาแทนโอมิครอน มีแนวโน้มหนีภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น

26 ม.ค.2565 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana ระบุว่า

จากข้อมูลนี้ดูเหมือนว่า WHO มองไวรัสโรคโควิด-19 ในปี 2022 นี้ไม่น่าหยุดที่โอมิครอน น่าสนใจที่ว่า WHO คิดว่าไวรัสจะเปลี่ยนแปลงต่อไปอีกเรื่อยๆ และ ไวรัส VOC ที่จะมาแทนโอมิครอน จะมีปรับตัวให้เข้ากับโฮสต์ได้ดีขึ้น (more fit) ไม่จำเป็นต้องเป็นไวรัสที่มีความรุนแรงน้อยลงกว่าเดิม (could be more or less severe) และที่สำคัญคือ ไวรัสตัวนั้นมีแนวโน้มหนีภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น (further immune escape)

WHO เชื่อว่า แรงผลักสำคัญที่ทำให้ไวรัสปรับตัวไปในรูปแบบนั้นเป็นเพราะภูมิคุ้มกันในหมู่ประชากรมนุษย์ที่มากขึ้นจาก วัคซีน และ การติดเชื้อจากธรรมชาติ ซึ่ง ไวรัสจำเป็นต้องอยู่รอดด้วยการปรับตัวหนีภูมิเหล่านั้น

WHO คาดการณ์ว่าวัคซีนคงต้องมีปรับแน่นอน เพื่อให้เข้ากับไวรัสที่เปลี่ยนแปลงไป จนถึงจุดที่วัคซีนปัจจุบันมีประสิทธิภาพน้อยลงมากจนเกินไป โดยการปรับวัคซีนจะบ่อยแค่ไหน ทุกปี หรือ ทุกกี่ปียังไม่ได้มีการตัดสินใจ
ที่มา

WHO : Global COVID-19 situation and way forward (Jan 23rd 2022)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' บี้ถอดบทเรียนบัสมรณะ เร่งสร้างจิตสำนึกคนขับ-เข้มใช้กม.

'อดีตปธ.กมธ.คมนาคม' ชี้รายงานWHO ไทยครองอันดับ 1 อาเซียน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน และอันดับ 9 ของโลก สาเหตุหลักคนขับรถประมาท แนะรัฐบาลถอดบทเรียนโศกนาฏกรรมบัสมรณะ

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

เปิดผลสอบ 'ฝีดาษลิง' ธรรมชาติรังสรรค์ หรือมนุษย์ประดิษฐ์!

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กในหัวข้อ "การสอบสวนฝีดาษลิงธรรมชาติสร้างสรรค์หรือมนุษย์ประดิษฐ์"

'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า