'หมอยง' ตอกย้ำการการฉีดวัคซีนเข็มบูสเตอร์ โดยเฉพาะวัคซีนต่างชนิดกันจะกระตุ้นภูมิต้านทานที่สูงมาก และลดอัตราการเสียชีวิตลงแน่นอน
26 ม.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วย วัคซีนต่างชนิดกัน” ระบุว่า การกระตุ้นเข็ม 3 ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องให้ครบหลักการ ตามให้วัคซีนที่มี primary วัคซีน 2 โดส แล้วตามด้วยกระตุ้นเข็ม 3 เพื่อให้ภูมิคุ้มกันได้สูงและอยู่นานขึ้น ตามหลักของการให้วัคซีน วันนี้ขอพูดตามหลักวิชาการมากหน่อย อาจจะเข้าใจยากกว่าทุกวัน
ขณะนี้เริ่มเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การให้วัคซีนเบื้องต้นที่เป็นวัคซีนเชื้อตาย แล้วกระตุ้นด้วยไวรัสเวกเตอร์ หรือ mRNA กระตุ้นภูมิได้สูงมาก มีการศึกษาสนับสนุนออกมามากมาย มาสนับสนุนงานวิจัยที่เราทำมาโดยตลอด เช่น ทีมมหาวิทยาลัย oxford ร่วมกับบราซิล ได้ลงพิมพ์ในวารสาร lancet (https://www.thelancet.com/action/showPdf...) รายงานนี้ก็อ้างอิงผลงานของเรา และยังมีการศึกษาในสวีเดน อินโดนีเซีย ได้ผลกระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงเช่นเดียวกัน
ที่น่าสนใจการศึกษาในประเทศชิลี ถึงประสิทธิภาพการกระตุ้นเข็มสาม หลังจากได้รับวัคซีนเชื้อตาย (CoronaVac) มาแล้ว 2 เข็ม โดยให้เข็มที่ 3 เป็น เชื้อตาย (CoronaVac) virus Vector (AZ) และ mRNA (Pfizer) มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดโรคแบบมีอาการร้อยละ 78.8, 93.2 และ 96.5 ตามลำดับ และป้องกันการเสียชีวิตได้สูงถึงร้อยละ 86.7, 98.1 และ 96.8 ตามลำดับ รายงานนี้เสนอใน preprint ที่กำลังพิจารณาในวารสาร Lancet https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=4005130
ข้อมูลดังกล่าวได้สนับสนุนผลงานวิจัยที่ศูนย์ได้ทำมาตลอด โดยผลงานของเราลงพิมพ์ในวารสาร https://www.mdpi.com/2076-393X/10/1/86 ได้ผลในรูปแบบเดียวกัน ขณะนี้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ และกำลังจะส่งผลงาน ที่มีภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ omicronไปเผยแพร่ในวารสาร ในอาทิตย์นี้อีกหนึ่งเรื่อง และจะมีการเปรียบเทียบให้เห็นว่าการกระตุ้นที่ 3 เดือนและ 6 เดือน ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นในการกระตุ้นห่าง 6 เดือนจะได้สูงกว่าภูมิกระตุ้นที่ 3 เดือนหลังเข็ม 2 ของการให้วัคซีนเชื้อตาย แต่ข้อเสียของการกระตุ้นช้า คืออาจจะเกิดการติดเชื้อโรค covid 19 เสียก่อน ส่วนเมื่อกระตุ้นเข็ม 3 แล้ว ภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ omicron สูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มของ AZ และ mRNA
โดยสรุปการให้วัคซีนต่างชนิดกัน จะได้ผลในการกระตุ้นภูมิต้านทานที่สูงมาก ดังจะเห็นได้จากข้อมูลที่กำลังออกมามากมายในระดับนานาชาติทั่วไป และน่าจะลดอัตราการเสียชีวิตลงได้อย่างแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
'หมอยง' แฉธุรกิจสำนักพิมพ์ทางวิชาการกับดักผลงานวิชาการ!
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’ ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้
เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป
‘หมอยง’ สะท้อน จริยธรรมการใช้ AI กับงานทางวิชาการ งานวิจัย
ถ้าให้ AI ทำงานแทนเราทั้งหมด โดยไม่ได้ออกจากแนวความคิดเราเลย หรือเอา AI มาเป็นผู้ร่วมวิจัย ถือว่าไม่เป็นยอมรับ
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์