'นพ.ธีระ' ชี้ยอดติดเชื้อโอมิครอนอาเซียนพุ่งแซงค่าเฉลี่ยโลก

'หมอธีระ' เผยยอดติดเชื้อโควิดทั่วโลกทะลุ 334 ล้านคนไปแล้ว ยอดติดเชื้อโอมิครอนในอาเซียนพุ่งกระฉูดเกินค่าเฉลี่ยโลก ชี้การกระจายวัคซีน-ยายังมีความไม่เป็นธรรมอื้อ

19 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 19 มกราคม 2565 ว่าทะลุ 334 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,755,657 คน ตายเพิ่ม 7,372 คน รวมแล้วติดไปรวม 334,651,148 คน เสียชีวิตรวม 5,572,200 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย อิตาลี และบราซิล

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 84.25 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 86.25 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 49.86 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 50.84 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...อัพเดต Omicron องค์การอนามัยโลกออกรายงานล่าสุด WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อวานนี้ 18 มกราคม 2565 ทั่วโลกมีจำนวนคนติดเชื้อเพิ่มรายสัปดาห์ที่ผ่านมาสูงกว่าสัปดาห์ก่อนหน้า 20% ตายเพิ่มสูงขึ้น 4% ทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นสถานการณ์แย่สุด ติดเชื้อรายสัปดาห์เพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 145% และตายเพิ่มสูงกว่าเดิม 12% จะเห็นได้ว่าสถิติตั้งติดเชื้อและตายสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งโลก

ในการตรวจสายพันธุ์ของทั่วโลกรอบ 30 วันที่ผ่านมา พบสัดส่วนของ Omicron สูงถึง 71.9% ส่วนเดลตาเหลือเพียง 28% ขณะนี้ Omicron (B.1.1.529) แตกลูกหลานเป็นสายพันธุ์ย่อย BA.1, BA.2, BA.3 โดย BA.1 นั้นมีสัดส่วนครองการระบาดมากกว่า 99%

สถิติเรื่องการฉีดวัคซีน หากดูภาพรวมของทั้งโลก ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2564 มีประชาชนในประเทศรายได้ต่ำเพียง 9% ที่ได้รับวัคซีนไปอย่างน้อย 1 โดส ในขณะที่ประชาชนในประเทศที่รายได้สูงนั้นได้รับไปแล้ว 66%
การระบาดแต่ละระลอกที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดผลกระทบมากมายทั้งทางสุขภาพ เศรษฐกิจ และสังคม โดยผลกระทบด้านสังคมนั้นเห็นชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ

ปัญหาความไม่เป็นธรรม และความไม่เพียงพอในเรื่องของวัคซีนและยานั้นจำเป็นต้องได้รับการจัดการแก้ไขทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ซึ่งต้องใช้เวลาอีกระยะนานพอสมควร จนกว่าโควิด-19 จะนิ่ง อย่างไรก็ตาม เรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมรับมือคือ ถัดจากนี้ไป Long COVID จะเป็นเรื่องที่เห็นชัดเจนขึ้น การป้องกันตนเองและครอบครัวอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งที่ควรทำ ไม่ติดเชื้อจะดีที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน