'หมอยง' ชี้ใช้ไฟเซอร์กระตุ้นเข็ม 3 ได้ผลดี

'หมอยง' ชี้บูสเตอร์เข็ม 3 ของไทยมาถูกทางแล้ว โดยเฉพาะการใช้ไฟเซอร์ ชี้ช่วยยับยั้งโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาแฃะโอมิครอนได้ดี

19 ม.ค.2565 - ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “โควิด 19 วัคซีน การกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ในสูตรต่างๆ” มีเนื้อหาว่า ประเทศไทยได้มีการให้วัคซีนไปแล้วมากกว่า 110 ล้านโดส นับว่ามากพอสมควร และทั่วโลกมีการให้ไปแล้วร่วม 10,000 ล้านโดส แล้ว รวมทั้งประชากรจำนวนหนึ่งได้ติดเชื้อทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ ทำให้มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นเป็นบางส่วน ถึงแม้ว่าจะป้องกันการติดเชื้อ โอมิครอน ไม่ได้แบบสมบูรณ์ แต่ก็เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ลดความรุนแรงของโรคลง

การกระตุ้นเข็ม 3 ในปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องให้ครบหลักการตามให้วัคซีนที่มี primary วัคซีน 2 โดส แล้วตามด้วยกระตุ้นเข็ม 3 เพื่อให้ภูมิคุ้มกันได้สูงและอยู่นานขึ้น ตามหลักของการให้วัคซีน

ประเทศไทยมีการให้วัคซีนหลากหลายสูตรอย่างมาก การกระตุ้นต่างชนิดกัน ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับทั่วไป จะเห็นว่ามีผลงานองค์ความรู้ทางวิชาการระดับนานาชาติออกมามากมาย

ในวันนี้จะขอแสดงผลการให้วัคซีนเบื้องต้นในสูตรต่างๆ ที่ใช้ในประเทศไทยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Sinovac, Sinopharm, AstraZeneca , สูตรสลับ SV/AZ, Pfizer มาแล้ว 2 เข็ม และกระตุ้นด้วย mRNA ไฟเซอร์ (วันต่อไปค่อยเอาข้อมูล Moderna และการกระตุ้นด้วยวัคซีนอื่น มาแสดงต่อไป)

วัคซีนไฟเซอร์ เป็นวัคซีนที่ใช้กระตุ้นได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการฉีดเบื้องต้น 2 เข็มมาแล้ว ในสูตรเกือบทุกชนิด ดังแสดงในรูป การให้วัคซีนเชื้อตายนำมาก่อน ได้ผลไม่แตกต่างกับการให้วัคซีน ไวรัส Vector หรือ mRNA
การทำการศึกษาครั้งนี้ เราได้ทำการศึกษาทั้ง ภูมิต้านทาน โดยตรวจ 2 วิธี ในแต่ละรูป

นอกจากนี้ ยังได้ทำการศึกษา sVNT ต่อไวรัสทั้งสายพันธุ์ อู่ฮั่น แอลฟา เบตา และเดลตา และโอมิครอน รวมทั้งการศึกษา FRNT ด้วยไวรัสเชื้อเป็นสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ข้อมูลแสดงผลการยับยั้งสายพันธุ์เดลตาและโอมิครอน ได้เป็นอย่างดี แสดงว่าที่ผ่านมาประเทศไทยได้เดินมาถูกทางแล้ว ผลงานทั้งหมดอยู่ระหว่างการเขียน เพื่อลงในวารสารระดับนานาชาติ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'คารม' บอกรัฐบาลเฝ้าระวังโรคไอกรนใกล้ชิดผู้ปกครองไม่ต้องห่วง

'คารม' เผยรัฐบาลร่วมบูรณาการเฝ้าระวังโรคไอกรนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในโรงเรียน เน้นย้ำเฝ้าระวัง ติดตามอย่างเข้มงวด ป้องกันการแพร่ระบาด ขอผู้ปกครองอย่าเป็นกังวล

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้