ลดวันกักตัวกลุ่มเสี่ยงสูง จาก 14 เหลือ 7 วัน

14 ม.ค.2565 - ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ. กล่าวว่า จากกรณีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย ที่ช่วงแรกการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะเน้นให้ทุกรายเข้ารักษาในสถานพยาบาล หรือโรงพยาบาล (รพ.) สนาม หรือฮอสปิเทล เป็นเวลา 14 วัน เพื่อป้องกันอาการที่อาจรุนแรงขึ้น เนื่องจากปีที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนโควิด-19 ยังไม่ครอบคลุมเพียงพอ

แต่ขณะนี้มีการฉีดวัคซีนมากขึ้นในเข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 โดยประสิทธิภาพวัคซีน ป้องกันความรุนแรงของโรคได้กว่าร้อยละ 90 และด้วยโรคมีความรุนแรงน้อยลง ทำให้ สธ.มีการปรับระบบการรักษาโดยให้ผู้ติดเชื้อแยกกักที่บ้านหรือศูนย์พักคอยในชุมชน (Home and community Isolation) และลดจำนวนวันการรักษาผู้ติดเชื้อที่รับวัคซีนแล้ว มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการเหลือ 10 วัน

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวอีกว่า สำหรับการพิจารณาปรับนิยามกลุ่มเสี่ยงสูง และเรื่องของระยะเวลาในการกักตัวนั้น เรื่องนี้มีการประชุมกันไปแล้ว เบื้องต้นคือ กรณีกลุ่มเสี่ยงสูงให้มีการกักตัวอยู่ที่พัก 7 วัน ตรวจ ATK ในวันที่ 5, 6 ของวันกักตัว หากผลเป็นลบ ก็สามารถออกมาใช้ชีวิตได้ แต่ต้องสวมหน้ากากอนามัย พยายามไม่พบปะผู้คนมากเป็นระยะเวลา 3 วัน จนเมื่อครบ 10 วัน ตรวจ ATK อีกครั้ง หากผลเป็นลบ ก็ถือว่าพ้นมาตรการกักตัว แต่ใช้ชีวิตโดยมีมาตรการป้องกันตัวสูงสุด ซึ่งหลังจากนี้ กรมควบคุมโรคจะจัดทำขั้นตอน และออกเป็นมาตรการประกาศให้ทราบทั่วกันอีกครั้ง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘หมอธีระวัฒน์’ ควง ‘รสนา-ปานเทพ’ นัดแถลงยื่น สธ. ประกาศกัญชาเป็นยาเสพติดแบบมีเงื่อนไข

ขอเชิญสื่อมวลชนและพี่น้องประชาชนผู้สนใจ ทำข่าวการยื่นหนังสือขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

จับตา! 'ไข้หวัดนก' ระบาดใหม่ 2 ราย ในกัมพูชา พบเด็กอุ้มซากไก่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กัมพูชาพบผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 รายใหม่ 2 ราย ในจังหวัดตาแก้ว

‘หมอธีระ’ ข้องใจตัวเลขโควิด สัปดาห์ก่อนพุ่งอาทิตย์นี้ลดฮวบ ไม่ใช่เรื่องปกติ

สัปดาห์ก่อน ตัวเลขนอนรพ.พุ่งขึ้นกว่าสัปดาห์ก่อนหน้านั้นถึง 78% แต่สัปดาห์ล่าสุดนี้ ลดลงฮวบฮาบจากสัปดาห์ก่อนถึง 57.7% ส่วนตัวคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ควรต้อง explore