'โอมิครอน'คร่าผู้ติดเชื้อแล้ว 1ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 2-3 คน

14 ม.ค.65- นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) ประธานคณะกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข รานงานข้อมูลประเมินสถานการณ์ด้านระบาดวิทยา อาการและอาการแสดง ประเทศไทย จากการระบาดของโควิด 19 สายพันธุ์โอมิครอน ในประเทศไทย ณ วันที่ 13 มกราคม 2564 ว่า
1) พบผู้เสียชีวิต ~ 1 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
2) พบผู้ป่วยอาการหนักต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ~ 2-3 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
3) พบผู้ป่วยมีอาการปอดบวม/จำเป็นต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ~ 10-15 คน ในผู้ติดเชื้อ 1,000 คน
4) ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ ไม่มีอาการ และมีอาการเล็กน้อยคล้ายไข้หวัด/ไข้หวัดใหญ่
5) วัคซีนโควิด 19 และการป้องกันตนเอง (UP) มีส่วนสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรงของโรคโควิด 19
6) การแพร่เชื้อโควิด 19 (โอมิครอน) สูงมาก พบว่า ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโอมิครอน (ที่ป้องกันตนเองไม่ดี) 10 คน จะติดเชื้อ ~ 9-10 คน

ประชาชนและทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมสำคัญในการลดการแพร่เชื้อ ควบคุมการระบาด และทำให้ประเทศไทยอยู่ร่วมอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีและปลอดภัยจากโควิด 19 ด้วยการป้องกันตนเองสูงสุด ปฏิบัติตามมาตรการ และเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”

'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”

ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86

ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่