'นพ.ธีระวัฒน์' แจงเรื่องการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนัง ยก 5 ข้อดีโดยเฉพาะเรื่องผลข้างเคียงที่น้อยกว่าถึง 10 เท่า
13 ม.ค.2565 - นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์คลิปวิดีโอสั้นๆ พร้อมเนื้อหาในหัวข้อ ความเข้าใจที่ถูกต้องของการฉีดวัคซีนโควิดเข้าชั้นผิวหนังความเข้าใจมีเนื้อหาว่า วัคซีนมีเพื่อป้องกันโรค ดังนั้นต้องมีความปลอดภัยสูงสุด การฉีดเข้าชั้นผิวหนังจะเลี่ยงผลข้างเคียงได้มาก ทั้งจากปริมาณที่ใช้น้อยกว่าและที่สำคัญคือกลไกในการกระตุ้นต่างออกไป
1.ภูมิขึ้นเท่ากับเข้ากล้าม
2.ภูมิอยู่นานพอกัน
3.ผลข้างเคียงน้อยกว่า อย่างน้อย 10 เท่า
4.ฉีดสบายๆ
5.เรื่องของทีเซลล์ การฉีดชั้นผิวหนังจะมีตัวจับย่อยวัคซีนสองชนิดด้วยกัน ไม่ใช่ชนิดเดียวแบบในกล้ามเนื้อ และส่งผ่านไปยังต่อมน้ำเหลืองซึ่งจะเกิดปฏิกิริยาขั้นต้น คือ ที เชลล์ ถูกกระตุ้นโดยใช้เวลาประมาณสี่วัน ตามการศึกษาตั้งแต่ปี 2008 โดยใช้วิธี 2 photon microscopy และจะควบรวมสัมพันธ์กับบีเซลล์ในการสร้างภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองต่อ
การกระตุ้นทีเซลล์ ดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตัวคนแต่ละคน ที่แบ่งออกเป็นตอบสนองกับวัคซีนได้สูงกลางต่ำ ซึ่งทราบกันดีมาตั้งแต่ก่อนปี 2010 ขึ้นอยู่กับอายุและมีโรคประจำตัวหรือไม่
ขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีน ทั้งนี้แม้แต่ SV SV AZ แม้กระตุ้นภูมิได้น้ำเหลืองได้สูงมากแต่การตอบสนองของที่เซลล์นั้นยังพบได้น้อยก็มี
การลดความรุนแรงไม่ได้ขึ้นกับทีเซลล์อย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับภูมิในน้ำเหลือง และยังขึ้นอยู่กับความรวดเร็วทันท่วงทีในอวัยวะนั้นๆ นั่นคือ ทันที ถูกที่ ถูกเวลา
ตั้งแต่ 37 ปีที่แล้ว ที่มีการริเริ่มฉีดเข้าชั้นผิวหนังของวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า เจอความเข้าใจผิดว่า ภูมิขึ้นน้อย-ภูมิอยู่สั้น-ผลข้างเคียงมาก-ฉีดยาก ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเข้าใจผิดทั้งหมด และในวัคซีนโควิดเช่นกันพิสูจน์ซ้ำ ทั้งสี่ข้อ
ส่วนในข้อที่ห้านั้น อาจต้องเข้าใจว่าแม้การติดเชื้อโควิดตามธรรมชาติที่เป็นการสร้างภูมิที่ดีที่สุด ระบบความจำทีเซลล์นั้นก็ไม่ได้อยู่ยั่งยืนตลอดและหายไปตั้งแต่หกเดือนขึ้นไปก็มี ส่วนภูมิในน้ำเหลืองหายไปภายในเป็นสัปดาห์ก็มีในบางราย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้