'ดร.อนันต์' แจกแจงผลทดสอบ ATK ในไทยตรวจโอมิครอน ได้หรือไม่

12 ม.ค.65-ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา Anan Jongkaewwattana นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ได้โพสต์ข้อความ การทดสอบ ATKชุดตรวจโควิด 19 ที่วางจำหน่ายในไทย ยี่ห้อไหนมีประสิทธิภาพตรวจแล้วรู้ผลสายพันธุ์โอมิครอน ความว่า

ประเด็นเรื่อง ATK ตรวจวัดโอมิครอนได้หรือไม่ และ การอ้างอิงผลทดสอบจากมหาวิทยาลัยเจนีวาที่ผมเคยเอามาลงไว้ทำให้มีคำถามกลับมาเยอะครับว่า ตกลง ATK ยี่ห้ออื่นในประเทศไทยตรวจไวรัสโอมิครอนได้หรือไม่ และ ถ้าได้จะตรวจเร็วหรือไม่เร็วต่างกันอย่างไร หลังจากที่ทีมวิจัยสามารถแยกเชื้อไวรัสโอมิครอนได้เป็นผลสำเร็จ เราจึงปรับค่าปริมาณไวรัสให้เหมาะสมโดยใช้ ATK ที่ทาง U of Geneva ใช้และพบว่ามีความสามารถสูงสุดในการตรวจวัดไวรัสโอมิครอนเป็นเกณฑ์ เราใช้ชุดตรวจดังกล่าวตรวจสอบไวรัสต้นแบบโอมิครอนที่แยกได้ในประเทศไทย ปรับปริมาณไวรัสให้สามารถตรวจวัดได้แบบไม่เข้มเกินไป เพื่อจะสามารถเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นๆในประเทศไทยได้ เราใช้ปริมาณไวรัสที่เท่ากันนั้นเปรียบเทียบกับชุดตรวจที่หาได้ 11 ยี่ห้อ และ ตรวจวัดพร้อมกันโดยใช้น้ำยาที่ได้มาจากชุดตรวจแต่ละชนิด ผลการทดสอบพบว่า

  1. ชุดตรวจ 9 ใน 11 ยี่ห้อที่นำมาทดสอบสามารถตรวจวัดโอมิครอนได้ มีแถบขึ้นที่ T ที่เห็นได้ด้วยตาเปล่า อีก 2 ยี่ห้อไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าไม่มีความจำเพาะต่อโอมิครอน หรือ ระดับการตรวจวัดยังไม่ไวเท่าชุดตรวจอื่นๆ แสดงว่า ชุดตรวจส่วนใหญ่สามารถมีความจำเพาะต่อโอมิครอนได้ กรณีที่มีปริมาณไวรัสเพียงพอ ทุกยี่ห้อที่ได้ผลบวกมาน่าจะตรวจวัดได้ทั้งหมด
  2. ระดับความไวของการตรวจวัดพบว่ามีความแตกต่างกัน ผมได้เกรดออกเป็น A คือ มีความไวสูงตรวจได้ชัดเจนดีมาก มี 2 ยี่ห้อคือ เบอร์ 2 และ 4 ส่วน B คือ มีความไวระดับดี มี 2 ยี่ห้อ คือ เบอร์ 7 และ 10 กลุ่มที่ได้ C คือ กลุ่มที่ได้ผลบวกที่เห็นได้ แต่จะจางลง และ กลุ่มที่ได้ D คือ กลุ่มที่มีความไวต่ำ แบนออกมาจางๆ สุดท้ายคือ E คือ ไม่สามารถเห็นแถบที่ T ได้เลยซึ่งอาจจำเป็นต้องทดสอบเพิ่มเติม
    เนื่องจากว่าการทดสอบนี้ไม่ได้ทำขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่ทำเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ATK ที่หาได้ในท้องตลาดไม่ได้มีคุณภาพแตกต่างกันมาก สามารถใช้ตรวจวัดโอมิครอนได้ไม่แตกต่างกันครับ และ การทดสอบนี้เพื่อเป็นข้อมูลในการใช้เทคโนโลยี ไม่มีเจตนาโฆษณาให้กับบริษัทใดๆ รบกวนอย่านำไปอ้างอิงเพื่อประโยชน์การการค้านะครับ…ขอบคุณครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า