ศบค.แจงแผนเผชิญเหตุให้โรงเรียน สถานศึกษา ปฏิบัติทั่วประเทศ ย้ำชัดวัคซีนผู้ใหญ่ฝาสีม่วงทดแทนวัคซีนเด็กฝาสีส้มไม่ได้ เผยไทยสั่งเข้ามาแล้วมากเป็นอันดับสองของเอเชีย
12 ม.ค.2564 - พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.แถลงว่า ที่ประชุมอีโอซี กระทรวงสาธารณสุขได้หารือถึงเรื่องการปิด-เปิดโรงเรียน และสถานศึกษา เพราะจากสถานการณ์ในขณะนี้ทำให้มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งปรับการเรียนการสอนมาเป็นออนไลน์ส่วนใหญ่ และกระทรวงศึกษาธิการกับกระทรวงสาธารณสุข ประชุมร่วมกันและจัดทำมาตรการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเปิดภาคเรียน ทำแผนเผชิญเหตุในกรณีพบการติดเชื้อของนักเรียนนักศึกษาหรือบุคลากรในโรงเรียน โดยหลักการในการจัดการป้องกันควบคุมโรคในโรงเรียนหรือสถานศึกษา มีการดำเนินการโดยใช้มาตรการที่เรียกว่า 6-6-7 คือ 6 มาตรการหลัก ได้แก่ เว้นระยะ สวมหน้ากากตลอดเวลา ล้างมือ วัดไข้ ไม่ทำกิจกรรมที่มีคนแออัดจำนวนมาก- 6 มาตรการเสริม ได้แก่ ให้ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ลงทะเบียนก่อนเข้าและออกโรงเรียน หรือสถานศึกษา และ 7 มาตรการเข้มงวด ซึ่งเป็นมาตรการที่ทุกสถานศึกษาต้องดำเนินการ ได้แก่ ประเมินด้วยแอพพลิเคชั่นไทยสต็อปโควิดพลัส นอกจากมาตรการ 667 ดังกล่าวแล้ว ในการที่จะเปิดเรียนจะต้องได้รับวัคซีนเกิน 75% เด็กนักเรียนได้รับการฉีดวัคซีน ช่วงอายุ 12 ปีขึ้นไป ตรวจคัดกรองด้วย ATK เป็นระยะ
พญ.สุมณี กล่าวว่า สำหรับการทำแผนเผชิญเหตุ เพื่อใช้ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในโรงเรียน สถานศึกษา ซึ่งได้จัดทำส่งไปยังโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว อาทิ หากพบนักเรียนหรือครูในโรงเรียนติดเชื้อหนึ่งคนเราจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป เช่น ลงไปสอบสวนโรคและให้ปิดเฉพาะห้องเรียนนั้น 3 วัน ดังนั้น การที่เจอผู้ติดเชื้อก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องปิดเรียนทั้งโรงเรียน เพราะการปิดทั้งโรงเรียนหรือสถานศึกษานั้นจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กๆ และนักศึกษา ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก กรณีดังกล่าวเรื่องการจัดการในโรงเรียนและสถานศึกษานั้นต้องขอความร่วมมือให้ทางคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดช่วยประชาสัมพันธ์ถึงระเบียบและการดำเนินการที่ได้ประชุมออกมาโดยจัดทำเป็นแผนเผชิญเหตุให้ทางโรงเรียนในทุกพื้นที่ ทั้งโรงเรียนภาครัฐและเอกชนและสถานศึกษารูปแบบ ประเภทต่างๆ ให้มีความเข้าใจถึงการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคให้ตรงกันและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์
พญ.สุมณี กล่าวว่า สำหรับความคืบหน้ากรณีการฉีดวัคซีนให้กับเด็กอายุ 5-11 ปี ก่อนหน้านี้ อย. ได้อนุมัติให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์ในเด็ก 5-11 ปีแล้ว วัคซีนที่ใช้ในเด็กอายุช่วงดังกล่าว (ฝาสีส้ม) จะต่างจากวัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้ในผู้ใหญ่ (ฝาสีม่วง) ในเด็กใช้ 10 ไมโครกรัม ในผู้ใหญ่ใช้ 30 ไมโครกรัม ดังนั้น ถ้าใช้ฝาสีม่วงของผู้ใหญ่มาแบ่งเป็น 3 โดสๆ ละ10 ไมโครกรัมเพื่อที่จะฉีดให้เด็กได้หรือไม่ ก็ต้องบอกว่าใช้ทดแทนกันไม่ได้ ในเด็กต้องใช้แบบเฉพาะเด็กฝาสีส้มเท่านั้น ส่วนเด็กโตขึ้นไปและผู้ใหญ่ต้องใช้ในสูตรที่เป็นฝาสีม่วง 30 ไมโครกรัม ขอให้เข้าใจว่าทดแทนกันไม่ได้
พญ.สุมนี กล่าวว่า ตอนนี้วัคซีนเด็กฝาสีส้มประเทศไทยสั่งเข้ามาแล้ว และจะเริ่มทยอยเข้ามาบ้านเราในช่วงปลายเดือน ม.ค.นี้ หรือเต็มที่ก็จะภายในเดือน ก.พ.จะเข้ามาแล้ว ถือว่าเร็วมาก เพราะวัคซีนในโดสเด็กตอนนี้เป็นที่ต้องการของทั่วโลก ประเทศไทยนำเข้าวัคซีนโดสเด็ก ตอนนี้ถือว่าเป็นประเทศอันดับ 2 ที่ได้วัคซีนเด็กในเอเซีย และตอนนี้ได้มีการเตรียมแผนในการฉีดวัคซีนเด็กอายุ 5-11ปีแล้ว โดยมีการเตรียมการฉีดไล่จากเด็กอายุ 11ปีลงมา ซึ่งได้มีการเตรียมการเรียบร้อยแล้ว ส่วนวัคซีนเชื้อตายทั้งซิโนแวคและซิโนฟาร์มตอนนี้คณะอนุกรรมการอาหารและยา กำลังเร่งขึ้นทะเบียนวัคซีนเชื้อตายอยู่และต้องรอผ่านมติคณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันด้วย ขณะนี้กำลังทำคู่ขนานกันไป เมื่อผ่านแล้วผู้ปกครองจะสามารถเลือกสูตรในการฉีดวัคซีนให้กับบุตรหลานได้ด้วยความสมัครใจ ขอให้รอสักนิดตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ไข้หวัดนกโผล่ อเมริกันติดเชื้อ ป่วยขั้นรุนแรง
กรมควบคุมโรคเผย ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐรายงานผู้ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก สายพันธุ์ H5N1 ที่รัฐลุยเซียนา
กรมควบคุมโรค เผย ชาวอเมริกันติดไวรัสไข้หวัดนกจากฝูงนกหลังบ้านเป็นรายแรก หนัก!นอนICU
กรมควบคุมโรค เผยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) รายงาน ผู้ติดเชื้อไวรั
รัฐบาลชวน 'ครู-นร.' ลงทะเบียน 'ซิมพร้อมเรียน' ใช้เน็ตฟรี
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
'หมอธีระวัฒน์' ยกตัวอย่างคนป่วยวัคซีนโควิด รายแล้วรายเล่า ถ้านิ่งเฉยไม่ควรเป็นแพทย์หรือมนุษย์
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ตัวอย่างของคนป่วย รายแล้วรายเล่า ไม่จบไม่สิ้นนำมาแสดงบางราย ทั้งนี้เป็นที่หมอดูเองและร่วมดูทั้งสิ้น