ศบค. เผยยอดติดเชื้อสายพันธุ์ 'โอมิครอน' พุ่ง 70% ในรอบสัปดาห์

10 ม.ค.2565 - เมื่อเวลา 12.40 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7,926 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 7,319 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 7,229 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 90 ราย มาจากเรือนจำ 195 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 412 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 2,277,476 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 3,612 ราย ทำให้มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 2,197,479 ราย อยู่ระหว่างรักษา 58,159 ราย อาการหนัก 495 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 115 ราย

เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 13 ราย เป็นชาย 4 ราย หญิง 9 ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 10 ราย มีโรคเรื้อรัง 3 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 21,838 ราย

ส่วนยอดผู้ได้รับวัคซีนของประเทศไทยเมื่อวันที่ 9 ม.ค. มีการฉีดวัคซีนเพิ่มเติม 138,885 โดส รวมยอดฉีดวัคซีนสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.64 ทั้งสิ้น 106,475,122 โดส ขณะที่สถานการณ์โลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 307,870,543 ราย เสียชีวิตสะสม 5,505,839 ราย

พญ.สุมนี กล่าวว่า นอกจากนี้ ในวันที่ 9 ม.ค. มีการตรวจหาเชื้อแบบ ATK จำนวน 52,329 ราย พบผลเป็นบวก 1,262 ราย มีแนวโน้มสูงขึ้น ขณะที่กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ได้ให้ข้อมูลว่า จากการสุ่มตรวจจำแนกสายพันธุ์สายพันธุ์ที่เฝ้าระวังตั้งแต่เดือน พ.ย.64 – 9 ม.ค.65 พบผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ยังเป็นสายพันธุ์เดลอยู่ที่ 64.71% เป็นสายพันธุ์โอมิครอน 5,397 ราย คิดเป็น 35.17% กระจายตัวไปแล้วเกือบทั่วประเทศ 71 จังหวัด

"แต่หากดูเฉพาะสัปดาห์ล่าสุดระหว่างวันที่ 2-8 ม.ค. พบเป็นโอมิครอนถึง 70.3% เดลต้า 29.7%"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า