10 ม.ค.2565-ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง “ทะลุ 307 ล้านไปแล้ว” ระบุว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,773,684 คน ตายเพิ่ม 3,237 คน รวมแล้วติดไปรวม 307,706,139 คน เสียชีวิตรวม 5,505,663 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส อเมริกา อินเดีย อิตาลี และสหราชอาณาจักร จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 84.38 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 86.09 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 46.74 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 49.67 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 10 ใน 20 อันดับแรกของโลก
… Omicron ตอนนี้แพร่ระบาดไปแล้ว 150 ประเทศทั่วโลก (Source: BNO) จากการประเมินสถานการณ์ล่าสุดของ European Centre for Disease Prevention and Control พบว่า ประเทศต่างๆ ในยุโรปมี Omicron เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศนั้นมี Omicron เป็นสายพันธุ์หลักไปอย่างเต็มตัว เช่น เบลเยี่ยม: 97.8% (2021-w52) ไอร์แลนด์: 96% (5 January 2022) เดนมาร์ก: 92.5% (2 January 2022) สวีเดน: 91.7% (2021-w52) ฝรั่งเศส: 80.3%% (2021-w52)
เนเธอร์แลนด์: 76.3%-90.8% (2 January 2022) โปรตุเกส: 75% (27 December 2021) ไอซ์แลนด์: 70% (21 December 2021)
สำหรับไทยเรานั้น ช่วงที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า การระบาดปะทุกลับมารุนแรงขึ้น จากการมีกิจกรรมเสี่ยงต่างๆ ที่มากขึ้นเน้นย้ำให้ป้องกันตัวอย่างเคร่งครัด ดูแลตนเองและครอบครัวใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้าเลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี พบคนอื่นน้อยลง สั้นลง และอยู่ห่างๆ ใส่หน้ากากแม้จะคุ้นเคยกันเพียงใด กินอาหารในร้านต้องระวัง เวลากินไม่พูด เวลาจะพูดคุยให้ใส่หน้ากาก ซื้อกลับไปแยกกินจะปลอดภัยกว่า คอยสังเกตอาการ หากไม่สบาย รีบแยกจากคนใกล้ชิด และหาทางตรวจรักษา
เรื่อง Long COVID อาจเป็นปัญหาระยะยาว หากควบคุมการระบาดไม่ได้ ช่วงเวลาที่จับตามองคือ หลังจากกลางเดือนมกราคม แนวโน้มการเพิ่มน่าจะมากขึ้นหากเป็นไปตามธรรมชาติของการระบาดที่เห็นจากต่างประเทศ หวังว่าเราจะสามารถช่วยกันป้องกันและบรรเทาการขยายวงระบาดอย่างพร้อมเพรียงไม่มีใครช่วยเราได้ หากเราไม่ทำ…
อ้างอิง Weekly epidemiological update: Omicron variant of concern (VOC) – week 1 (data as of 7 January 2022) EU/EEA. ECDC. Accessed on 10 January 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
อาจารย์หมอจุฬาฯ แนะวิธีดูแลอาการ 'รองช้ำ' เบื้องต้นด้วยตัวเอง
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง 'รองช้ำ หรือ Plantar fasciitis"
อาจารย์หมอ เตือนอากาศร้อนมาก ผู้สูงอายุ-คนมีโรคประจำตัว ระวังการออกนอกบ้าน
คนสูงอายุ และคนที่มีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังการออกไปข้างนอกบ้าน ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศ ใช้หมวกหรือร่มบังแดด
อาจารย์หมอจุฬาฯ วิเคราะห์การระบาดโควิดไทย อยู่ในช่วง ’ขาลง’
ตัวเลขสัปดาห์ล่าสุด 25 กุมภาพันธ์ - 2 มีนาคม 2024 จำนวนผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 462 ราย เสียชีวิต 2 ราย ปอดอักเสบ 263 ราย และใส่ท่อช่วยหายใจ 91 ราย
ปรบมือรัวๆ ‘หมอธีระ’ วิเคราะห์การระบาด ‘โควิด’ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง
อาจารย์หมอจุฬาฯ ชี้ตอนนี้ไทยเป็นขาลง แต่ขอให้ตระหนักว่าการติดเชื้อในระหว่างใช้ชีวิตประจำวันยังมีกันอยู่ต่อเนื่อง การเจ็บป่วยไม่ใช่เรื่องที่น่าพิสมัย ไม่ประมาท
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี