จับตา 7 ม.ค. ศบค.ปรับมาตรการ ขอปชช.ทำงานที่บ้าน 2 สัปดาห์หลังกลับจากภูมิลำเนา

5 ม.ค.2565 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผอ.สำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในฐานะผู้ช่วยรองโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย ว่า สำหรับมาตรการหลังเทศกาลปีใหม่ศบค.ขอความร่วมมือผู้เดินทางกลับจากต่างจังหวัดทำงานที่บ้านในช่วง 2 สัปดาห์แรก ตรวจคัดกรองด้วย ATK 2 ครั้งก่อนกลับไปทำงาน หากติดเชื้อให้โทร 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อลงทะเบียนรับการดูแลที่บ้าน ส่วนผู้เดินทางมาจากจังหวัดที่มีความเสี่ยงคือ จ.ชลบุรี เชียงใหม่ อุบลราชธานีขอนแก่น มหาสารคาม อุดรธานี ยโสธร กาฬสิน ภูเก็ต และยะลา ขอให้สังเกตอาการ เฝ้าระวังเป็นเวลา 14 วัน และสังเกตอาการตัวเองหากสงสัยอาการให้รีบคัดกรองตัวเองด้วย ATK ขณะที่โรงงานต่างๆหากพบการติดเชื้อไม่จำเป็นต้องหยุดแต่ให้ทำมาตรการบับเบิลแอนด์ซีลเพื่อจำกัดวงการติดเชื้อและจัดการรักษาในระบบของสถานประกอบการนั้นๆ ในส่วนของโรงเรียนให้ศึกษาธิการเขตหรือศึกษาธิการจังหวัดพิจารณาเปิดหรือปิดโรงเรียนตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ ในที่ประชุมศปก.ศบค.หารือมาตรการรองรับกรณีหากมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า โดยให้ทุกจังหวัดเตรียมพร้อมระบบการรักษาที่บ้านและชุมชน ให้ส่วนท้องถิ่นเตรียมการและประสานกับหน่วยงานสาธารณสุข เพื่อรองรับทรัพยากรหากต้องรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มเติม

เมื่อถามว่า กรณีเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนมีการแพร่กระจายง่ายแต่ไม่รุนแรงควรให้มีการติดเชื้อตามธรรมชาติเพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือควรได้รับวัคซีนเพื่อให้มีภูมิคุ้มกัน พญ.สุมนีกล่าวว่า หากปล่อยให้มีการระบาดวงกว้างระบบสาธารณสุขจะรองรับไม่ทัน แม้คนไทยได้รับวัคซีน2 เข็มแล้วจำนวนมาก แต่ก็มีผู้ยังไม่ได้รับวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบหลักล้าน อย่างนี้จะมีความเสี่ยงอาการหนัก เชื้อสายพันธุ์ใหม่ยังไม่แน่ใจว่าหายแล้วจะมีอาการข้างเคียงอะไรบ้าง นอกจากนี้หากปล่อยให้มีการแพร่เชื้อมากก็เสี่ยงจะมีการกลายพันธุ์ ดังนั้นการมีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจึงดีกว่าการมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้ออย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม วันนี้ ศปก.ศบค.ได้มีการประชุมเพื่อเตรียมมาตรการต่างๆเสนอต่อที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่วันที่ 7 ม.ค. โดยวาระสำคัญคือการปรับพื้นที่สีตามสถานการณ์ จะมีการจำกัดจำนวนคนและการรวมกลุ่มทำกิจกรรม รวมถึงอนุญาตดื่มสุราในร้านอาหาร และจะมีการพิจารณาปรับมาตรการในการควบคุมโรค จากเดิมมีแนวโน้มจะเปิดสถานบันเทิงหรือไม่ แต่ช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากในคลัสเตอร์ร้านอาหารกึ่งผับบาร์ และไม่ได้ดำเนินการมาตรการที่ ศบค.กำหนด ตรงนี้จะเป็นข้อมูลและเป็นตัวชี้วัดการตัดสินใจสำคัญในวันที่ 7 ม.ค.ว่าจะมีการเปิดสถานบันเทิง ผับ บาร์ หรือคาราโอเกะหรือไม่ รวมถึงจะมีการปรับมาตรการของผู้ที่เดินทางเข้ามาประเทศไทยแบบ Test and Go ที่มีการชะลอก่อนหน้านี้ รวมถึงมีวาระเพิ่มการเรื่องการจัดการสายพันธุ์โอมิครอน จึงขอให้ประชาชนติดตามการประชุมเพื่อปฏิบัติตัวได้ตามมาตรการ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล