'นพ.ธีระ' คาดหลังกลาง ม.ค.ยอดติดเชื้อโอมิครอนพุ่ง

หมอธีระชี้โอมิครอนไทยติดอันดับ 13 ของโลก เชื่อหลังกลางเดือน ม.ค.จะมีอัตราเร่งการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แนะอย่าบ้าจี้ติดเชื้อแล้วสร้างภูมิกันหมู่ เพราะไม่ใช่วัคซีนธรรมชาติ

05 ม.ค.2565 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิดประจำวันที่ 5 มกราคม 2565 ว่าทะลุ 295 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,983,537 คน ตายเพิ่ม 5,830 คน รวมแล้วติดไปรวม 295,242,257 คน เสียชีวิตรวม 5,472,460 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร อิตาลี และสเปน จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.16 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 89.57 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 54.29 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 52.31 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก

...อัพเดต Omicron
Omicron แพร่ระบาดไปแล้ว 140 ประเทศ โดยมี 17 ประเทศที่รายงานมากกว่า 1,000 ราย

...สำหรับสถานการณ์ไทย จำนวนเคส Omicron สะสม 2,062 คน เป็นอันดับ 13 ของโลก

...เปรียบเทียบความเสี่ยงในการติดเชื้อจนต้องนอน รพ.ของแต่ละสายพันธุ์ Ratcliff J จากมหาวิทยาลัย Oxford ได้ทบทวนข้อมูลวิชาการและชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงในการป่วยจนต้องนอน รพ.ของโรคโควิด-19 นั้น ของแต่ละสายพันธุ์ จะพบว่า เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม Wuhan แล้ว สายพันธุ์ล่าสุดอย่าง Omicron มีความเสี่ยงที่ติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องนอนรักษาใน รพ. มากกว่าถึง 1.4 เท่า หรือ 40% ในขณะที่อัลฟานั้นมากกว่า Wuhan ราว 1.7 เท่า และเดลตาราว 2.4 เท่า

...วัคซีนช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรงและเสียชีวิต ดังที่เราทราบกันมาแล้วว่า การฉีดวัคซีนจะช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรงได้ เพราะจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันทั้งในน้ำเลือด ที่เรียกว่า แอนติบอดี้ และภูมิคุ้มกันระดับเซลล์

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีงานวิจัยถึง 6 ชิ้น จากทั่วโลก ที่ศึกษาผลของวัคซีนต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ได้ และอยู่ได้นานถึง 6-8 เดือน ซึ่งเป็นเวลาที่ศึกษา และอาจนานกว่านั้น โดยภูมิคุ้มกันระดับเซลล์นี้สามารถต่อสู้กับเชื้อสายพันธุ์ Omicron ได้ด้วย (เครดิตตาราง: Topol E)

ภูมิคุ้มกันระดับเซลล์นี้เชื่อว่ามีบทบาทสำคัญในการช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรง นี่ถือเป็นสัญญาณที่ดี และเป็นข้อมูลที่สนับสนุนให้มีการฉีดแก่ประชาชน

...สำหรับประชาชนไทย ขณะนี้เราเห็นชัดเจนว่า Omicron ระบาดหนักขึ้นเรื่อยๆ ถัดจากกลางเดือน คาดว่าจะเป็นช่วงอัตราเร่งของการระบาด (acceleration phase) การป้องกันตัวเองและสมาชิกในครอบครัวนั้นจำเป็นอย่างยิ่ง อย่าหลงเชื่อกับการหวังจะได้ประโยชน์จากการติดเชื้อ ว่าไม่รุนแรง และหวังจะได้ภูมิคุ้มกันหมู่ เพราะการติดเชื้อไม่ใช่การฉีดวัคซีนธรรมชาติ มีโอกาสป่วยรุนแรง และเสียชีวิตได้

นอกจากนี้การติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นจะมีผลกระทบระยะยาว ที่เรารู้จักกันในชื่อ Long COVID ซึ่งส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายทั้งสมอง หัวใจและหลอดเลือด ทางเดินอาหาร หรือภาวะทางจิตได้ในระยะยาว สายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้านี้มีโอกาสเกิดได้ถึง 20-40% แต่สำหรับ Omicron เรายังไม่มีข้อมูล ดังนั้นจึงไม่ควรประมาท ได้ไม่คุ้มเสียครับ ใส่หน้ากากนะครับ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า อยู่ห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร เลี่ยงที่แออัด ถ่ายเทอากาศไม่ดี หมั่นสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากไม่สบาย ควรหยุดเรียนหยุดงานและรีบตรวจรักษา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด