'หมอธีระ' ยกสหรัฐอเมริกาใช้ ATK ตรวจหาโอมิครอนเจอผลปลอม เผยสถานการณ์ในไทยเหมือนฉายหนังม้วนเก่า แต่แนวโน้มหนักกว่าเดิม
29 ธ.ค.2564 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่าทะลุ 283 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,162,614 คน ตายเพิ่ม 6,296 คน รวมแล้วติดไปรวม 283,102,381 คน เสียชีวิตรวม 5,430,067 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร สเปน และอิตาลี จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 92.01 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.94 ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 57.64 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 54.06 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...สำหรับสถานการณ์ไทยเรา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 2,305 คน สูงเป็นอันดับ 38 ของโลก หากรวม ATK อีก 390 คน ก็ขยับเป็นอันดับ 35 ของโลก ยอดรวม ATK จะเป็นอันดับ 7 ของเอเชีย
...อัพเดต Omicron องค์การอนามัยโลกยังยืนยันในรายงานล่าสุดเมื่อวานนี้ 28 ธันวาคม 2564 WHO Weekly Epidemiological Update โดยระบุว่าการระบาดของ Omicron เป็นความเสี่ยงระดับสูงมาก (very high) แม้จะมีการศึกษาจากหลายประเทศที่บ่งว่าสายพันธุ์ Omicron จะมีความเสี่ยงต่อการป่วยจนต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลน้อยลงกว่าสายพันธุ์เดลตา แต่อัตราการแพร่เชื้อที่รวดเร็วมาก ทั้งนี้มีอัตราการเพิ่มขึ้นสองเท่า (doubling time) ทุกๆ 2-3 วัน โดยเป็นผลมาจากคุณสมบัติของตัวไวรัสเองที่สามารถแพร่ได้เร็วขึ้น และดื้อต่อภูมิคุ้มกัน
นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเรื่องการดื้อต่อโมโนโคลนัล แอนติบอดี้หลายชนิดที่ใช้ในการดูแลรักษา เมื่อดูสถิติการติดเชื้อใหม่ทั่วโลกในสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่าสูงขึ้นถึง 11% โดยจำนวนการเสียชีวิตรายสัปดาห์ลดลง 4% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า
...การใช้ชุดตรวจเร็ว หรือ Rapid antigen test kit (ATK) ล่าสุดทาง US FDA ออกคำเตือนมาเมื่อวานนี้ จากการประเมินของ US FDA พบว่าชุดตรวจเร็วที่ใช้นั้นจะมีความไวลดลงเมื่อใช้ตรวจสายพันธุ์ Omicron ดังนั้นจึงเตือนให้ประชาชนระวัง หากมีการสัมผัสความเสี่ยง หรือมีอาการสงสัยว่าจะเป็นโควิด-19 หากใช้ชุดตรวจเร็วมาตรวจเองแล้วได้ผลลบ ไม่ได้การันตีว่าจะไม่ติดเชื้อ ต้องตรวจซ้ำด้วยวิธี RT-PCR ที่จะมีความไวสูงกว่า
...สำหรับไทยเรา ศักยภาพของระบบการตรวจคัดกรองโรค RT-PCR นั้นสำคัญมากในการรับมือ Omicron การเข้าถึงบริการตรวจ ความครอบคลุม ความทันต่อเวลาตั้งแต่ตรวจจนถึงรายงานผล และการปลดล็อกกฎเกณฑ์และเรื่องค่าใช้จ่ายให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายและฟรี คือสิ่งที่จำเป็น สร้างความตระหนักให้ประชาชนทราบข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้ ATK ว่าความไวจำกัด จะมีโอกาสเกิดผลลบปลอมสูงกว่า RT-PCR ดังนั้นหากได้ผลลบแต่มีประวัติชัดเจนหรือมีอาการสงสัย จำเป็นต้องตรวจซ้ำ หรือไปตรวจด้วย RT-PCR
ATK มีประโยชน์ในแง่ของการ rule in แต่ไม่ควรใช้ rule out...แปลง่ายๆ คือ หากได้ผลลบ อย่าวางใจ อย่าประมาท หากเสี่ยงหรือมีอาการสงสัย แต่หากได้ผลบวก โอกาสติดเชื้อจริงมีสูง ยามที่ระบาดกันเยอะๆ
สถานการณ์ระบาดของ Omicron ในไทย ชัดเจนแล้วว่าไม่ใช่แค่เจอในนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ แต่ตอนนี้แพร่กันในชุมชน โดยเป็นแบบ superspreaders เหมือนฉายหนังม้วนเก่าแต่แนวโน้มหนักกว่าเดิม เช่น ที่กาฬสินธุ์ซึ่งติดไปแล้วกว่า 170 คนจากร้านอาหารกึ่งสถานบันเทิง หรือแม้แต่ กทม. ที่ติดกันในวง 11 คนที่กินดื่มไวน์กัน
ย้ำเตือนกันให้ใส่หน้ากากเสมอ สองชั้น ชั้นในเป็นหน้ากากอนามัย ชั้นนอกเป็นหน้ากากผ้า เลี่ยงการตะลอนท่องเที่ยว เลี่ยงที่แออัด อยู่ห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร งดการปาร์ตี้สังสรรค์ การแชร์ของกินของใช้
Omicron มีหลายเหตุการณ์ทั่วโลกที่ติดเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ สัมพันธ์กับเรื่องการแพร่เชื้อติดเชื้อทางอากาศ (airborne transmission) ดังนั้นจึงต้องป้องกันตัวเคร่งครัดมากๆ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลปกป้องลูกหลาน เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เนื่องจากยังไม่ได้วัคซีนหรือได้วัคซีนจำกัดมาก ทั่วโลกเด็กและเยาวชนติดกันมาก ป่วยกันมาก ด้วยรักและห่วงใย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ
ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science” ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform