สธ. เผยผู้ติด 'โอมิครอน' อาการน้อย 90% เชื้อส่วนใหญ่อยู่หลอดลมมากกว่าลงปอด

27 ธ.ค.2564 - ที่กระทรวงสาธารณสุข สธ. นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงฉากทัศน์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย และอัพเดตสถานการณ์เชื้อโอมิครอน ว่า ประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. – 18 ธ.ค.64 เป็นต้นมา สะสม 514 รายที่เป็นต้นเชื้อ กระจายใน 14 จังหวัด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากระบบเข้าประเทศทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบไม่กักตัว(Test and go) ระบบแซนด์บ๊อกซ์ (Sand box) และระบบกักตัว(Quarantine) แล้วเราตรวจจับได้หลังจากนั้นคนเหล่านี้จะกลับไปพื้นที่ต่างๆ ส่วนใหญ่อยู่ในการควบคุม แต่บางส่วนเล็ดลอดออกไป พบเป็นการสัมผัสใกล้ชิดผู้เดินทางจากต่างประเทศประมาณ 20% เช่น ไปเยี่ยมญาติ ก็อาจทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้ จึงต้องระมัดระวังให้มาก

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับอาการโอมิครอน ของผู้ติดเชื้อ มี ดังนี้ อาการน้อยจนถึงไม่มีอาการ 90% มีอาการเล็กน้อย 10% อาการมาก 3-4% ขณะที่ โอมิครอนพบที่หลอดลมมากกว่าลงปอด ดังนั้นอาการที่พบได้มากคือ ไอ แต่หากลงปอดก็จะมีความรุนแรงเช่นเดียวกับเดลต้า ส่วนการศึกษาจากผู้ติดเชื้อโอมิครอน 41 รายที่เราทำการรักษาอยู่ พบว่า อาการไอ 54% เจ็บคอ 37% ไข้ 29% ปวดกล้ามเนื้อ 15% มีน้ำมูก 12% ปวดศีรษะ 10% หายใจลำบาก 5% และไม่ได้กลิ่น 2%

ทั้งนี้เราพบอาการไม่ได้กลิ่นน้อย พบเพียง 1 ราย โดยเราให้ยาที่มีอยู่คือ ฟาวิพิราเวียร์ จำนวน 5 วันตามมาตรฐาน เราจึงพบว่า หากให้ยาตั้งแต่ต้น อาการจะดีขึ้นภาพใน 24-72 ชั่วโมง อาการฟื้นกลับมาเป็นปกติได้

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้มีเสนอฉากทัศน์พยากรณ์ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของโอมิครอนใน 3 รูปแบบ โดยรูปแบบที่ 1 ระดับรุนแรงที่สุด พบการระบาดของเชื้อโควิด-19 และฉีดวัคซีนใกล้เคียงช่วงเดือน ธ.ค. ประชาชนให้ความร่วมมือน้อย ไม่มีการป้องกัน ขณะทำกิจกรรมรวมคน สถานประกอบการ จัดกิจกรรมไม่สามารถปฏิบัติตาม VUCA ได้ ทำให้ควบคุมการแพร่ระบาดได้ยากโดยใช้เวลา 3-4 เดือนกว่าจะควบคุมโรคได้ ซึ่งจะมีการติดเชื้อรายวันถึง 3 หมื่นราย และมีผู้เสียชีวิต 170-180 รายต่อวัน รูปแบบที่ 2 ระดับปานกลาง โอกาสติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น ฉีดวัคซีนใกล้เคียงช่วงเดือน ธ.ค. ขณะที่ทุกภาคส่วนยังคงปฏิบัติตามมาตรการ VUCA อย่างเคร่งครัด ก็อาจจะพบผู้ติดเชื้อประมาณ 1.5-1.6 หมื่นรายต่อวัน และใน 1-2 เดือนตัวเลขผู้ติดเชื้อก็ค่อยทรงตัว และจะลดลงมาตามลำดับ โดยมีผู้เสียชีวิต 100 รายนิดๆต่อวัน และรูปแบบที่ 3 ระดับดีที่สุด ผลจากโอกาสติดเชื้อเพิ่มปานกลาง ฉีดวัคซีนได้เร็วขึ้นทุกกลุ่ม ลดกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก และปฏิบัติ VUCA อย่างเคร่งครัด ตัวเลขสูงสุดจะอยู่ที่ 1.3 หมื่นราย หลังจากนั้นจำนวนผู้ติดเชื้อจะทรงตัว และลดลง ส่วนผู้เสียชีวิตจะอยู่ที่ 60-70 และจะลดลงในที่สุด

ข้อมูลของการเสียชีวิตเป็นไปตามพื้นฐานของการติดเชื้อที่มีการกระจายได้สูง แต่มีความรุนแรงที่ต่ำ เพราะฉะนั้นอัตราการเสียชีวิตอาจจะไม่สูงมากนัก

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลในประเทศอังกฤษที่ได้มีการศึกษาความเสี่ยงในการเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอน ลดลงเมื่อเทียบกับเดลต้า โดยสายพันธุ์เดลต้าโอกาสเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมี 50% และนอนโรงพยาบาล 1 วันขึ้นไป 61% ส่วนสายพันธุ์โอมิครอนรักษาที่โรงพยาบาลอยู่ที่ 20-25% และนอนโรงพยาบาล 1 วันขึ้นไป 40-50%

ส่วนการศึกษาในแอฟริกาใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.-30 พ.ย. 2564 พบว่าผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนมีร้อยละเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลลดลงเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่นๆอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความรุนแรงไม่แตกต่างกัน เนื่องจากเชื้อส่วนใหญ่จะอยู่แถวหลอดลม มากกว่าลงปอด แต่ถ้าลงสู่ปอดก็จะเกิดอาการรุนแรงพอๆกันกับเดลต้า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สันติ" รมช.สธ. ยกต้นแบบ รพ.อัจฉริยะ รพ.ปากช่องนานา-เทพรัตน์ จ.นครราชสีมา ดึงเอกชนร่วมพัฒนาเขาใหญ่สู่แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสร้างรายได้ประชาชนยั่งยืน

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมคณะผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ลงพื้นที่ตรวจราชการก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์

สธ. ห่วง ปชช. ช่วงฤดูฝน พร้อมดูแลผู้ป่วยงูพิษกัด ไข้เลือดออกระบาด

น.ส.เกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และนายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.สาธารณสุข

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล