น่าสะพรึง! นักไวรัสวิทยา ยกงานวิจัย 'โอมิครอน' สายพันธุ์ที่อาจกระโดดจากสัตว์สู่คน

แฟ้มภาพ

25 ธ.ค.2564 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ในเฟซบุ๊ก ว่างานวิจัยที่เพิ่งตีพิมพ์ใน Nature พบว่าตัวอย่างที่เก็บจากจมูกกวางหางขาวในรัฐ hio ประเทศสหรัฐอเมริกา มีมากถึง 35% ที่ผลออกมาเป็นบวกกับไวรัสโรคโควิด-19

โดยอย่างน้อย 3 สายพันธุ์ที่ตรวจพบได้ในประชากรกวางตรงกับช่วงที่สายพันธุ์ทั้ง 3 ระบาดอยู่ในประชากรมนุษย์เช่นเดียวกัน น่าสนใจตรงที่ในจำนวนไวรัสที่ตรวจพบมีหนึ่งสายพันธุ์คือ B.1.596 สามารถแพร่จากกวางสู่กวาง ได้เป็นคลัสเตอร์ใหญ่ และ มีการแตกกิ่งทางพันธุกรรมออกไปจากไวรัสสายพันธุ์อื่น

เรายังไม่ชัดเจนว่าโอมิครอนมาจากไหนกันแน่...

ผลงานวิจัยชิ้นนี้บอกว่า อาจมีความเป็นไปได้ว่า ไวรัสที่ไม่เคยพบในประชากรมนุษย์มาก่อนอย่างโอมิครอน อาจเกิดจากการบ่มเพาะของไวรัสในประชากรสัตว์ชนิดอื่นๆสักพัก โดยที่เราไม่รู้ตัว เพราะไม่เคยไปสนใจถอดรหัสไวรัสในประชากรสัตว์เหล่านั้นอย่างเป็นระบบ เหมือนที่ทำในประชากรมนุษย์ อาจจะเป็นเหตุการณ์ใดสักอย่างที่ทำให้ไวรัสดังกล่าวสามารถกระโดดกลับมาคนได้แบบนำการเปลี่ยนแปลงแบบที่ไม่เคยพบมาก่อนมาแพร่ในประชากรมนุษย์

ถ้าเป็นแบบนี้จริงๆจะเป็นเรื่องน่ากังวลครับ เพราะไวรัส SARS-CoV-2 สามารถติดเข้าสู่สัตว์ได้หลายสปีชีร์ และ ยังไม่ชัดว่ามีกี่ชนิดที่ไวรัสแพร่กระจายในประชากรสัตว์เหมือนที่พบในกวางการเปลี่ยนแปลงของไวรัสนอกประชากรมนุษย์สามารถเกิดได้หลากหลาย ยากมากที่จะคาดเดาได้ล่วงหน้า โอกาสที่จะตรวจพบไวรัสที่เปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดดอย่างโอมิครอนในอนาคตจึงมีความเป็นไปได้สูงครับ

https://www.nature.com/articles/s41586-021-04353-x

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018

การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้

ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า