'ดร.อนันต์ - นักไวรัสวิทยา'เผยงานวิจัยของเดนมาร์ก หลังฉีดวัคซีน Pfizer กับ Moderna ประสิทธิภาพของPfizerx2 ต่อการป้องกัน'โอมิครอน'จะลดลงอย่างรวดเร็วคือ 16.1% ที่ 1-2 เดือน และ 9.8% ที่ 2-3 เดือน
24 ธ.ค.2564 - ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า
ทีมวิจัยของเดนมาร์กได้คำนวณค่าประสิทธิภาพของวัคซีน Pfizer กับ Moderna ในการป้องกันการติดเชื้อโอมิครอน เทียบกับ เดลต้า แต่ข้อมูลชุดนี้ตัวเลขของ Pfizer ดูน่าเชื่อถือว่า Moderna เนื่องจากจำนวนตัวอย่างจากกลุ่ม Moderna น้อยไป จึงขออนุญาตอ้างอิงแต่ Pfizer นะครับ
ตัวเลขระบุว่า ประสิทธิภาพของ PZx2 ต่อการป้องกันโอมิครอน สูงสุดคือประมาณ 55.2% ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับวัคซีนเข็มสองไปแล้วภายใน 1 เดือน แต่หลังจาก 1 เดือน ประสิทธิภาพของวัคซีน PZx2 ต่อโอมิครอนจะลดลงอย่างรวดเร็วคือ 16.1% ที่ 1-2 เดือน และ 9.8% ที่ 2-3 เดือน
พูดง่ายๆคือ หลัง 1 เดือนภูมิจาก Pfizer 2 เข็มป้องกันการติดเชื้อโอมิครอนได้น้อยมาก ซึ่งแตกต่างจากเดลต้า ที่ภูมิจาก PZx2 สามารถมีประสิทธิภาพได้มากกว่า 50% ได้นานกว่า 5 เดือน (150 วัน)
ภูมิจาก PZx3 หรือ จากการกระตุ้นด้วย PZ เข็ม 3 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันโอมิครอนได้ 54.6% ซึ่งใกล้เคียงกับภูมิที่ PZx2 ทำได้ในช่วงเดือนแรกหลังเข็มสอง ซึ่งตัวเลขนี้ของเดนมาร์กน้อยกว่าที่ทาง UK เคยคำนวณไว้ที่มากกว่า 70% แต่น่าเสียดายครับที่ข้อมูล PZx3 มีแค่ 1-30 วันหลังฉีดเข็มกระตุ้น
เพราะคำถามที่หลายๆคนอยากรู้คำตอบคือ ภูมิจากการฉีดเข็ม 3 สามารถอยู่ได้นานแค่ไหน เพราะถ้าตัวเลข PZx3 ที่ 31-60 วัน ตกลงมาอยู่ระดับที่ 16-20% เหมือน PZx2 นั่นแสดงว่า เราอาจกำลังเจอกับปัญหาใหญ่แล้วครับ เพราะวัคซีนสูตร Wuhan คงช่วยเราได้แค่นี้
https://www.medrxiv.org/.../2021.12.20.21267966v2.full.pdf
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ