22 ธ.ค.2564 - ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ในประเทศไทย ว่า สำหรับสถานการณ์โอมิครอน ตอนนี้กระจายไปแล้ว 95 ประเทศทั่วโลก โดยสหรัฐอเมริการมีการติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวถึง 47 รัฐ คิดเป็น 73% ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคในสหรัฐรายงานว่าเชื้อโอมิครอน เป็นสายพันธุ์หลักของผู้ติดเชื้อรายใหม่ ทำให้หลายฝ่ายกังวล เกี่ยววันหยุดเทศกาลปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง ขณะที่ประเทศอิสราเอล พบผู้ติดเชื้อเพิ้มขึ้นอย่างรวดเร็วในไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา จึงมีมาตรการผิดพรมแดน และจำกัดการเดินทางตั้งแต่ปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา งดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ชาวอิสราเอลที่เดินทางกลับประเทศต้องได้รับการกักตัวทุกราย แม้จะได้รับวัคซีนครบแล้ว สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานว่าผู้ติดเชื้อโอมิครอนในประเทศไทยมีทั้งสิ้นจำนวน 104 ราย จำนวนนี้มีทั้งที่อยู่ระหว่างการรักษา และรักษาหายออกจากโรงพยาบาลแล้ว
พญ.สุมนี กล่าวว่า มติที่ประชุมศบค.เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค.งดรับการลงทะเบียนผ่านไทยแลนด์พลัส เพื่อเข้าประเทศในระบบเทสต์ แอนด์ โก และแซนด์บ็อกซ์ ยกเว้นภูเก็ต แซนด์ บ็อกซ์ โดยอนุญาตให้เข้าได้ใสนรูปแบบการกักตัวเท่านั้น แต่สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนเข้ามาก่อนหน้านี้ประมาณ 2 แสนคน ยังเข้าประเทศได้ตามเงื่อนไขเดิม แต่ต้องเพิ่มมาตรการความปลอดภัย เมื่อตรวจ RT-PCR ผลเป็นลบ สามารถเดินทางต่อไปได้ แต่ต้องติดตามตัวได้ตลอดเวลา และติดตั้งแอพพลิเคชั่นหมอชนะทุกคน มีการตรวจ RT-PCR ซ้ำ วันที่ 5-6 และจากกรณีมีรายงานนักท่องเที่ยวหลุดจากระบบการติดตามก่อนหน้านี้ ก็ขอให้ทุหน่วยงานเข้มข้นมาตรการติดตามนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษ เพื่อสกัดเชื้อโอมิครอน และเน้นย้ให้ทุกหน่วยงสนกำชับนักท่องเที่ยวให้ปฏิบัติตามมาตรการที่มีอย่างเคร่งครัด ระหว่างรอผลตรวจ RT-PCR ขอให้อยู่ในห้องพักห้ามออกไปไหน จนกว่าจะทราบผล ที่สำคัญระหว่างอยู่ในประเทศ เมื่อเดินทางไปไหนต้องใส่หน้ากากอนามัย สำหรับมาตรการดังกล่าวจะมีการประเมินอีกครั้งวันที่ 4 ม.ค. 2565
พญ.สุมนี กล่าวต่อว่า นอกจากมาตรการเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวแล้ว ที่ประชุมศบค.ยังมีมาตรการสำหรับคนไทย โดยเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานรัฐห้ามลาไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็น สำหรับคนไทยที่จะเดินทางไปต่างประเทศขอให้พิจารณาชะลอ หรือยกเลิกการเดินทางที่ไม่จำเป็น โดยเฉพาะการเดินทางไปประเทศยุโรป สหรัฐอเมริกา แอฟริกา และตะวันออกกลาง เน้นย้ำการตรวจ ATK ก่อนเดินทาง ที่ใช้เวลานานและมีคนแออัด และขอให้ตรวจ ATK ด้วยตัวเองเป็นระยะ ขอให้ฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง ที่สำคัญมาตรการกิจกรรมช่วงปีใหม่ ขอให้ตรวจ ATK ทั้งก่อนไปภูมิลำเนา และก่อนกลับมาทำงาน และหลังช่วงเทศกาลปีใหม่ขอความร่วมมือหน่วยงานภาครัฐอนุญาตให้เจ้าหน้าที่เวิร์ค ฟอร์ม โฮม ให้มากที่สุด เพื่อจำกัดการแพร่ระบาด ขณะที่มาตรการทั่วไปภาครัฐเน้นย้ำปฏิบัติตามมาตรการโควิดิฟรีเซ็ตติ้งในการทำกิจกรรมต่าางๆอย่างเคร่งครัด
เมื่อถามถึงการเปิดด่านที่จ.หนองคาย เป็นการเปิดในลักษณะเทสต์แอนด์โกทางบกที่แรก เป็นพื้นที่นำร่องหลังจากนี้จะดำเนินการต่อไปอย่างไร พญ.สุมนี กล่าวว่า ต้องเลื่อนออกไปก่อนและจะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ที่จังหวัดหนองคาย-สปป.ลาว ที่มี ชายแดนติดกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลเตือนเช็กอาการ 6 โรคหลังไปเที่ยวปีใหม่
รองโฆษกรัฐบาลขอ ปชช.เดินทางท่องเที่ยว ปลอดภัย ไร้โรค ไร้ภัย แนะหมั่นสังเกตอาการ หลังเดินทางกลับ หากมีอาการผิดปกติ รีบพบแพทย์
โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า