22 ธ.ค. 2564- เมืองเคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์—โมเดอร์น่าได้ประกาศถึงข้อมูลของระดับภูมิคุ้มกันในการยับยั้งไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน หลังจากการใช้วัคซีนโมเดอร์น่าเข็มกระตุ้นสูตรมาตรฐาน mRNA-1273 ขนาด 50 ไมโครกรัม สามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในการยับยั้งไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนได้เพิ่มขึ้นประมาณ 37 เท่า ในขณะที่การใช้วัคซีน mRNA-1273 เข็มกระตุ้นขนาด 100 ไมโครกรัม เพิ่มระดับภูมิคุ้มกันในการยับยั้งไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนได้เพิ่มขึ้นประมาณ 83 เท่า
โมเดอร์น่าจะยังคงดำเนินการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นสูตรใหม่ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (วัคซีนสูตร mRNA-1273.529) เพื่อนำไปสู่การศีกษาทางคลินิกต่อไป
Stéphane Bancel ซึ่งดำรงตำแหน่ง Chief Executive Officer ของโมเดอร์น่าได้กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 จากไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนเป็นที่น่ากังวลอย่างมาก อย่างไรก็ดี ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าวัคซีนโมเดอร์น่าเข็มกระตุ้นที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ในขณะนี้สามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันได้สูงขึ้นกว่าก่อนได้รับเข็มกระตุ้น 37 เท่า
“และเพื่อรับมือกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนที่มีความสามารถในการแพร่ระบาดที่สูงนี้ ทางโมเดอร์น่าจะยังคงพัฒนาวัคซีนเข็มกระตุ้นสูตรใหม่ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (วัคซีนสูตร mRNA-1273.529) เพื่อนำไปสู่การศึกษาทางคลินิกให้ได้อย่างรวดเร็วที่สุด สำหรับในกรณีที่วัคซีนโควิด-19 สูตรใหม่นี้อาจจะมีความจำเป็นในอนาคต”
ตามที่ได้เคยประกาศไปก่อนหน้านี้ ทางโมเดอร์น่ายังคงดำเนินการพัฒนาวัคซีนโมเดอร์น่าเข็มกระตุ้นสูตรใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อรับมือกับไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวลชนิดใหม่ๆ ที่อุบัติขึ้น กลยุทธ์เพื่อจัดการกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนนี้ ได้แก่การประเมินประสิทธิภาพของวัคซีนสูตร mRNA-1273 เข็มกระตุ้นขนาด 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม, วัคซีนโควิด-19 ทดลองสูตรผสมที่มีการรวมไวรัสสายพันธุ์ที่น่ากังวล ก่อนหน้านี้เอาไว้ด้วยกัน (วัคซีน mRNA-1273.211, mRNA-1273.213) ทั้งในขนาด 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม และวัคซีนโควิด-19 ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อสายพันธุ์ที่น่ากังวล เดลต้า, โอไมครอน ซึ่งในส่วนของผลการศึกษาวัคซีนสูตรทดลองชนิดต่างๆนั้น ในขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการประเมินทางคลินิกระยะที่ 2/3 โดยมีผู้เข้าร่วมวิจัยที่ประมาณ 300-600 รายต่อกลุ่ม
สำหรับข้อมูลที่นำเสนอในวันนี้ ประกอบไปด้วย ตัวอย่างเลือดของอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีนโมเดอร์น่าเข็มกระตุ้น ชนิดและขนาดที่ต่างกันไป จำนวน 20 ตัวอย่างต่อกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับวัคซีน mRNA-1273 ขนาด 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม, กลุ่มที่ได้วัคซีนทดลองสูตรผสม mRNA-1273.211 ขนาด 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม และ กลุ่มที่ได้รับวัคซีนทดลองสูตรผสม mRNA-1273.213 ที่ขนาด 100 ไมโครกรัม โดยทำการวิเคราะห์หาระดับภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในกลุ่มตัวอย่าง
จากการทดสอบพบว่า ภูมิคุ้มกันต่อการยับยั้งไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนก่อนการได้รับวัคซีนโมเดอร์น่าเข็มกระตุ้นในทุกกลุ่มตัวอย่างมีระดับที่ต่ำ แต่หลังจากได้รับวัคซีนโมเดอร์น่าเข็มกระตุ้นผ่านไปแล้ว 29 วัน พบว่าวัคซีนสูตร mRNA-1273 เข็มกระตุ้น ขนาด 50 ไมโครกรัม สามารถเพิ่มระดับของภูมิคุ้มกันในการยับยั้งไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ด้วยค่าเฉลี่ยที่ระดับ 850 ซึ่งสูงกว่าระดับภูมิคุ้มกันก่อนได้รับการกระตุ้นประมาณ 37 เท่า ส่วนกลุ่มที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น mRNA-1273 ขนาด 100 ไมโครกรัม ค่าเฉลี่ยในการยับยั้งไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนอยู่ที่ 2228 ซึ่งสูงกว่าระดับภูมิคุ้มกันก่อนได้รับการกระตุ้นประมาณ 83 เท่า ในส่วนของวัคซีนทดลองสูตรผสมทั้งขนาด 50 ไมโครกรัม และ 100 ไมโครกรัม นั้น พบว่าค่าภูมิคุ้มกันยับยั้งไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนมีระดับสูงขึ้นในระดับที่ใกล้เคียงกัน และเนื่องด้วยวัคซีนสูตร mRNA-1273 มีประสิทธิภาพที่สูงในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทางบริษัทโมเดอร์น่าจึงมุ่งเน้นที่จะใช้วัคซีน mRNA-1273 ในการรับมือกับไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ อย่างไรก็ดี บริษัทโมเดอร์น่าจะยังคงทำการประเมินความครอบคลุมและความทนทานของภูมิคุ้มกันในการต่อต้านไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนจากการกระตุ้นด้วยวัคซีนทดลองสูตรผสมต่างๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้
นอกจากนี้แล้ว ทางบริษัทโมเดอร์น่ายังมีการประกาศในส่วนของ ข้อมูลความปลอดภัยจากการวิจัยทางคลินิกระยะที่ 2/3 ของวัคซีน mRNA-1273 ขนาด 100 ไมโครกรัม เมื่อใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น (จำนวนอาสาสมัคร 305 ราย) โดยพบว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นสูตร mRNA-1273 ขนาด 100 ไมโครกรัม นั้น มีความปลอดภัยดี โดยความถี่และลักษณะของเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นภายในเวลา 7 วัน ทั้งที่เกิดเฉพาะบริเวณที่ฉีดและที่เกิดแบบระบบทั่วร่างกายหลังจากได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นพบว่ามีความคล้ายคลึงกับที่พบหลังจากที่ได้รับวัคซีนหลักเข็มที่สอง โดยวัคซีนโมเดอร์น่าขนาด 100 ไมโครกรัม มีแนวโน้มในการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์บ่อยขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับวัคซีน mRNA-1273 เข็มกระตุ้น ขนาด 50 ไมโครกรัม
เนื่องจากวัคซีนสูตร mRNA-1273 มีประสิทธิภาพสูงในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว วัคซีน mRNA-1273 ขนาด 50 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นสูตรที่มีการอนุญาตให้ใช้อยู่ในปัจจุบันในการเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น จึงเป็นทางเลือกอันดับแรกในการใช้ป้องกันการไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในขณะนี้ และด้วยความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งอาจจะทำให้มีความเสี่ยงเกิดขึ้นในระยะยาว ทางโมเดอร์น่าเองจะยังคงพัฒนาวัคซีนสูตรใหม่ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน (mRNA-1273.529) ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถนำไปทดลองทางคลินิกได้ในช่วงต้นปี 2565 และบริษัทโมเดอร์น่าจะมีการประเมินเพื่อรวมเอาไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนนี้เข้าไปรวมอยู่ในโปรแกรมวัคซีนทดลองสูตรผสมอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวร้าย! ดร.อนันต์เผยโมเดอร์นาต้องระงับการพัฒนาวัคซีนป้องกันเชื้อ RSV ในเด็กเล็ก
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”
'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”
ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86