ศบค. เผยสุ่มตรวจสายพันธุ์โควิดทั้งประเทศ พบเดลต้า 96.61% โอมิครอน 3.26%

ศบค. แจงยิบรายละเอียดผู้ติดเชื้อ “โอมิครอน” ในประเทศไทย ระบุทั้งโลกมีอัตราติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น เผยการสุ่มตรวจสายพันธุ์โควิดทั้งประเทศ พบเดลต้า 96.61% โอมิครอน 3.26% ส่วนกทม.จำนวน 180 ราย 81.1% เป็นเดลต้า 18.3% โอมิครอน ยันมีการปรับมาตรการรับนนท.เข้าประเทศไทยแน่นอน คาด Test&Go ให้มีการติดตามการตรวจRT-PCR มีการกักตัวในระยะเวลาที่ถึงไทยเพิ่มขึ้น

20 ธ.ค.2564 - พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ประจำวัน ว่า ขอขอบคุณประชาชน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้วันนี้ (20 ธ.ค.) มีการฉีดวัคซีนครบ 100 ล้านโดส เข็มที่หนึ่งครอบคลุมประชากร 70.21% เข็มที่สองครอบคลุมประชากร 61.63% เข็มที่สามครอบคลุมประชากร 6.97% เข็มที่สี่ครอบคลุมประชากร 0.09% แต่ในขณะนี้ยังมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศ โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลกพบว่ามีการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น และอัตราการเสียชีวิตลดลงอย่างช้าๆ เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี ส่วนประเทศที่มีรายงานผู้เสียชีวิตสูงสุด คือ ประเทศรัสเซีย 1,023 ราย ขณะที่การติดเชื้อในประเทศเพื่อนบ้านของไทย เช่น เวียดนามติดเชื้อ 16,210 ราย มาเลเซีย 3,108 รายสิงคโปร์ 255 ราย

พญ.สุมนี กล่าวว่า ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกได้มีการชี้แจง ว่าเชื้อโอมิครอน มีการระบาดเพิ่มเร็วมากขึ้น 2 เท่า ใน 3 วันโดยพบการระบาดไปแล้วกว่า 89% และสหรัฐอเมริกามีการระบาดแล้วกว่า 36 รัฐ เนเธอร์แลนด์ มีการประกาศล็อคดาวน์ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและในช่วงปีใหม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีของเนเธอร์แลนด์ ขอความร่วมมือประชาชนอยู่บ้านให้มากที่สุด สำหรับกิจกรรมที่มีการล็อคดาวน์ปิดกิจการไป จะเป็นกิจการที่ไม่จำเป็นเช่น บาร์ ฟิตเนส ร้านตัดผม โรงภาพยนตร์ ซึ่งมีการประกาศปิดไปตั้งแต่วันนี้ จนถึง 14 ม.ค.2565 นอกจากนี้ยังมีมาตรการของประเทศฝรั่งเศส ในการงดรับนักท่องเที่ยวจากสหราชอาณาจักร ไม่ให้เข้าประเทศ

สำหรับผู้ที่เดินทางเข้าไทยวันนี้ (20 ธ.ค.) ทั้ง 3 ประเภท เปรียบเทียบกันสองเดือนคือเดือนพ.ย.และเดือนธ.ค.1-19 ธ.ค. มีคนเดินทางเข้าประเทศ 160,445 ราย บางกว่าคนที่เดินทางเข้าประเทศในช่วงเดือนพ.ย.ซึ่งมีจำนวน 133,061 คน ผู้ติดเชื้อจำแนกตามประเภท พบว่าภาพรวมมีแนวโน้มสูงขึ้น ในเดือนพ.ย.มีผู้ติดเชื้อ 0.13% ขณะที่ในช่วงนี้เดือนธ.ค.อยู่ที่ 0.22% โดยเป็น Test&Go จาก 0.08% ของเดือนพฤศจิกายน ในเดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นเป็น 0.15% ประเภทแซนด์บ็อก เดือนพฤศจิกายน 0.21% เดือนธันวาคม เพิ่มขึ้นเป็น 0.27% ประเภทกักตัว เดือนพฤศจิกายน 0.18% และเดือนธันวาคมเพิ่มขึ้นเป็น 2.49%

ทั้งนี้ Test&Go มีการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างชัดเจน โดยในวันที่มีการติดเชื้อมีจำนวนสูงสุดของผู้ที่เข้ามาในประเทศคือวันที่ 18 ธันวาคม จำนวน 37 ราย ขณะที่ผู้ติดเชื้อประเภทกักตัว โดยวันที่มีรายงานติดเชื้อสูงสุด 11 ราย วันที่ 11,19 ธันวาคม ส่วน การติดเชื้อสูงสุดในระบบแซนบ็อกซ์​มีรายงานติดเชื้อสูงสุด 7 ราย ในวันที่ 18 ธ.ค.สำหรับการรับนักท่องเที่ยวเข้ามาในวันนี้จากทุกช่องทาง 13,664 รายมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 42 ราย Test&Go 24 ราย คิดเป็น 0.15% รองลงมาคือกักตัว 11 ราย คิดเป็น 2.49% และระบบแซนด์บ็อก 7 ราย คิดเป็น 0.27% ซึ่งเป็นจำนวนมากรองลงมาจากเมื่อวาน (19 ธ.ค.) จำนวน 49 ราย โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางแล้วมีอาการติดเชื้อมากที่สุด คือ จากสหราชอาณาจักร คิดเป็น 0.54% สหรัฐอเมริกาคิดเป็น 0.51% รัสเซีย 0.14%

สำหรับผู้เดินทางจากต่างประเทศรวม 42 รายที่ติดเชื้อ มาจากบรูไน 1 ราย ระบบกักตัว สหราชอาณาจักร 9 ราย เข้าทั้งระบบ Test&Go และระบบกักตัว สหรัฐอเมริกา 6 ราย จาก Test&Go และการกักตัว ยูเครน 1 ราย เข้านะบบแซนด์บ็อก ออสเตรีย 2 ราย Test&Go เนเธอร์แลนด์ 1 ราย Test&Go รัสเซีย 4 ราย ระบบแซนด์บ็อก กัมพูชา 2 ราย Test&Go ฟินแลนด์ 1 ราย ระบบการกักตัว แอบเบเนีย 2 ราย แซนด์บ็อก เยอรมนี 2 ราย Test&Go สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย Test&Go และกักตัว ฝรั่งเศส 1 ราย Test&Go สวิตเซอร์แลนด์ 1 ราย เอธิโอเปีย 1 ราย เดนมาร์ก 1 ราย นอร์เวย์ 3 ราย เข้าระบบ Test&Go ทั้งนี้หากดูในจำนวน 42 รายที่มีการติดเชื้อส่วนใหญ่ทั้งหมดไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งระบบการคัดกรองการตรวจจับด้วย RT-PCR มีความจำเป็นมากรวมถึงการกักตัวเพื่อสังเกตอาการก็มีความสำคัญ

พญ. สุมนี กล่าวเพิ่มเติม​ว่า​ ในส่วนรายงานผู้ติดเชื้อโอมิครอนในประเทศไทย ที่มีรายงานเพิ่มเติมวันนี้ รายงานคลัสเตอร์จากสสจ. นนทบุรี ซึ่งมีความเชื่อมโยงในหลายจังหวัดไม่ว่าจะเป็นปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา รวมถึงกรุงเทพมหานคร โดยเป็นกลุ่มคณะที่เดินทางไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนา รวม 31 คน ที่ซาอุดิอาระเบีย ต้นเดือนธ.ค. 2564 และเดินทางกลับมาไทยวันที่ 15 ธ.ค. 2564 เข้าพักที่โรงแรมแห่งหนึ่งเพื่อตรวจหาเชื้อ โควิด-19 แบบ RT-PCR และพบเชื้อทั้งหมด 14 ราย เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมพบว่ามีเชื้อโอมิครอน 6 ราย เดลต้า 8 ราย

หลังจากเข้ามาก็ได้มีการติดตามผู้สัมผัสเสียงสูงรวมถึงตรวจเพิ่มเติมพบติดเชื้ออีก2 รายในวันที่ 19 ธ.ค. และวันที่ 20 ธ.ค.ตรวจพบเพิ่มเติมอีก 2 ราย คลัสเตอร์ในกลุ่มนี้มี 18 ราย และยังรอผลการตรวจยืนยันสายพันธุ์อีก 4 ราย ขณะที่รายงานผู้ติดเชื้อคู่สามีภรรยา โดยเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย เข้ามาในประเทศไทยวันที่ 26 พ.ย. 2564 ซึ่งเป็นวันก่อนประกาศมาตรการ8 ประเทศกลุ่มเสี่ยงจากทวีปแอฟริกา ซึ่งคู่สามีภรรยาได้เข้าสู่ระบบแซนบ็อกซ์​ โดยวันที่ 4-7 ธ.ค. สามีชาวต่างชาติ มีโรคประจำตัวเบาหวานเริ่มมีอาการไข้เจ็บคออ่อนเพลีย จึงมีการตรวจ ATK ผลตรวจเป็นลบ แต่ในวันที่ 7 ธ.ค.ยังคงมีอาการอยู่ภรรยาจึงพาไปโรงพยาบาลและได้ทำการตรวจแบบ RT-PCR ซึ่งผลการตรวจเป็นบวกแล้วได้เข้าทำการรักษาในโรงพยาบาล

ต่อมาวันที่ 10 ธ.ค. ภรรยาได้มีการตรวจ RT-PCR และมีผลเป็นบวก ศึกในวันเดียวกันนี้ผลตรวจของสามียืนยันว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอน อย่างไรก็ตามทั้งสองรายได้มีการเข้ารับการรักษารวมถึงสอบสวนผู้สัมผัสเสียงสูงอีก 1 รายซึ่งผลตรวจ RT-PCR เป็นลบ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการกักตัวสังเกตุอาการ โดยมีผู้สัมผัสเสียงต่ำอีก 83 ราย ซึ่งทั้งหมดไม่มีอาการใดๆ และอยู่ระหว่างการกักตัวติดตาม ดังนั้นถือว่าผู้หญิงที่เป็นภรรยาของสามีชาวต่างชาติถือเป็นรายแรกที่ติดเชื้อโอมิครอน ในการประเทศไทย

ส่วนคลัสเตอร์นราธิวาส 3 ราย ที่มีผลตรวจ RT-PCR เป็นบวก โดยทั้ง 3 ราย กลับมาจากประเทศตะวันออกกลางซึ่งเดินทางไปทำกิจกรรมทางศาสนา เข้าประเทศมาทางสนามบินภูเก็ต ในประเภทนักท่องเที่ยวแบบแซนบ็อกซ์​ โดย มีผู้สัมผัสเสียงสูง 4 ราย ผู้สัมผัสเสียงต่ำ 126 ราย ซึ่งทั้งหมดอยู่ระหว่างการกักตัวตรวจติดตามอาการ ถึงวันที่ 27 ธ.ค. 2564 และทั้งหมดนี้ได้รับการตรวจ โควิด-19 แบบ RT-PCR ไปแล้ว ซึ่งมีผลเป็นลบ อย่างไรก็ตาม 1 ใน 3 คนนี้ มีการตรวจแบบถอดสายพันธุ์กรรมพบว่าเป็นสายพันธุ์โอมิครอน โดยเป็นเพศชายอายุ 36 ปี ขณะที่อีก 2 ราย อายุ48,40 ปี เป็นสายพันธุ์เดลต้า ทั้ง 3 คนเป็นคนไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาตัว

ขณะที่กลุ่มที่มีรายงาน จากสำนักงานควบคุมโรคเขต 11 ที่เดินทางมายังสนามบินภูเก็ตและสนามบินสมุยรวม 7 ราย เป็นนักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและคนไทย เข้ามาสนามบินภูเก็ตวันที่ 13 ธ.ค.4 ราย เข้ามาที่สนามบินสมุยวันที่ 15-16 ธ.ค. 3 ราย โดยทั้ง 7 รายพบผลบวกจากการตรวจ โควิด-19 แบบ RT-PCR ตั้งแต่วันแรกที่มาถึงเมื่อผลเป็นบวกได้มีการแยกรักษาตัวพร้อมทั้งมีการส่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสายพันธุ์โดยการถอดรหัสพันธุกรรมโดยพบว่า7 ราย เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ขณะนี้สำนักงานป้องกันควบคุมโรคเขต 11 ได้มีการติดตามสอบสวนผู้สัมผัสเสียงสูงและผู้สัมผัสเสียงต่ำและจะได้มีการรายงานให้ทราบต่อไป

สำหรับการเฝ้าระวังในประเทศไทยซึ่งมีรายงานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้มีการชี้แจงถึงสายพันธุ์เฝ้าระวังในประเทศไทยขณะนี้มากที่สุด คือ เดลต้า 68.67% อัลฟา 29.79% เบต้า 1.41% และโอมิครอน 0.13%

โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมาวันที่ 11- 19 ธ.ค.2564 มีการสุ่มตรวจในภาพประเทศ โดยสุ่มตรวจจำนวน 1,595 ตัวอย่างพบว่าสายพันธุ์เดลต้า 96.61% ขณะที่สายพันธุ์โอมิครอน 3.26% แต่หากแยกในภาพของกรุงเทพมหานครจากการสุ่มตรวจจำนวน 180 ตัวอย่างพบว่า 81.1% สายพันธุ์เดลต้าและ 18.3% เป็นสายพันธุ์โอมิครอน ขณะที่ภูมิภาค สุ่มตรวจตัวอย่าง 1,415 ตัวอย่างพบว่า 98.6% เป็นสายพันธุ์เดลต้าและ 1.3% เป็นสายพันธุ์โอมิครอน การคาดการณ์การระบาดในกรณีที่คนในประเทศไม่มีภูมิคุ้มกันหากติดสายพันธุ์เดลต้า 1 คนสามารถแพร่เชื้อได้อีก 6.5 คน หากเทียบกับโอมิครอน 1 คน สามารถติดเชื้อ 8.45 คน แต่จากข้อมูลในประเทศแอฟริกา พบว่าคนที่ติดเชื้อโอมิครอน อัตราการป่วยหนัก นอนโรงพยาบาล ยังไม่ได้มากกว่าคนที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลต้า

ทั้งนี้องค์การอนามัยโลกได้มีการแนะนำเรื่องวัคซีนซึ่งเป็นวัคซีนกระตุ้นจะสามารถทำให้ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโอมิครอนได้มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า หรือกลุ่ม mRNA สถานการณ์โอมิครอนในประเทศไทยขณะนี้ คล้ายกับสถานการณ์โลก คือ คนติดเชื้อสายพันธุ์ดังกล่าวนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลกที่สายพันธุ์โอมิคนอนเพิ่มขึ้นเช่นกัน ทุกรายที่ ติดเชื้อในประเทศไทยมีการเชื่อมโยงการเดินทางที่มาจากต่างประเทศ ใน 1 ส่วน 4 ของคนที่มาจากต่างประเทศเป็นสายพันธุ์โอมิครอน ไม่ใช่เฉพาะจากทวีปแอฟริกาเท่านั้นแต่เป็นนักเที่ยวที่มาจากหลายประเทศทั่วโลก

ดังนั้นการยกระดับในการจัดการมาตรการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศไทยจะต้องมีการปรับอย่างแน่นอน แล้วจะต้องมีการพิจารณาจากทางศบค. ชุดเล็ก และนำเสนอผอ.ศบค. เพื่อพิจารณาว่าจะมีมาตรการยกระดับหรือไม่อย่างไรเพราะมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งมีการเรียกประชุมหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญโอมิครอน มีเคสตรวจ RT-PCR ก่อนเดินทางเข้าประเทศไทย มาถึงได้ตรวจซ้ำในวันแรกผลยังเป็นลบ แล้วออกไปจากระบบแล้วมีอาการวันที่ 3-4 และเมื่อตรวจก็พบว่าผลเป็นบวก

ดังนั้นสายพันธุ์โอมิครอน จะมีระยะฟักตัวอยู่ช่วงหนึ่งที่ไม่สามารถตรวจจับได้ ดังนั้นการเข้าประเทศแบบ Test&Go ต้องมีวิธีการจัดการให้มีการตรวจจับได้มากขึ้นเช่นอาจจะต้องมีการปรับระบบการเข้าประเทศแบบ Test&Go ไปเป็นระบบที่มีการติดตามการตรวจRT-PCR หรือมีการกักตัวในระยะเวลาที่ถึงไทยเพิ่มขึ้น ส่วนจะเป็นระยะเวลาเท่าใดต้องขอให้ติดตามมาตรการต่อไป การตรวจสายพันธุ์โอมิครอน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทุกศูนย์ในประเทศไทยสามารถตรวจจับและสามารถตรวจทุกสายพันธุ์ ที่เข้ามาในประเทศไทยได้.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’  ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้

เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป

สายการบิน 'ลุฟท์ฮันซา' ต้องจ่ายค่าปรับกรณีเลือกปฏิบัติต่อผู้โดยสารชาวยิว

สายการบินลุฟท์ฮันซาต้องจ่ายค่าปรับจำนวน 4 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา เหตุเพราะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดขอ

ไทยติดโควิดรอบสัปดาห์ 353 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 6 - 12 ตุลาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่