'ดร.อนันต์' แจงข่าว 'โอมิครอน'อาจผสมกับสายพันธุ์'เดลต้า' ระบุการที่ไวรัส 2 สายพันธุ์จะเข้าไปในเซลล์เดียวกันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ แต่ถ้าเกิดขึ้นมาจริงๆ ไม่มีใครยืนยันได้ว่า จะสร้างความเสียหายมากกว่าไวรัสตัวเดิม
15 ธ.ค.2564- ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โพสต์ข้อความผ่าน เฟซบุ๊ก ระบุว่า
สิ่งที่ต้องอธิบายให้ชัดเจน เมื่อชัดแล้วผู้รับสารจะประเมินความเสี่ยงได้ด้วยตัวเองครับ
1. ไวรัส SARS-CoV-2 สามารถติดเข้าสู่เซลล์เดียวกันพร้อมๆกันได้ และ เมื่อเกิดเหตุการณ์เช่นนั้น สาย RNA ของแต่ละสายพันธุ์สามารถมีการแลกเปลี่ยนบางตำแหน่งกันได้ โดยเฉพาะส่วนที่เป็น hot spot ซึ่งทางวิชาการเรียกกระบวนการนี้ว่า Recombination
2. แต่การที่ไวรัส 2 สายพันธุ์จะเข้าไปในเซลล์เดียวกันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ประเด็นสำคัญคือ เวลา เพราะเซลล์ของร่างกายเราเมื่อได้รับไวรัสชนิดหนึ่งเข้าไปแล้ว ร่างกายจะมีระบบภูมิคุ้มกันเรียกว่า Innate immunity ขึ้นมาไวมาก ใช้เวลาไม่กี่ชั่วโมงจะมีการแสดงออกของยีนต่างๆออกมาต่อต้านการติดเชื้อไวรัส ซึ่งโอกาสที่สายพันธุ์ที่ 2 จะเข้าติดตามเข้ามาจะยิ่งยากขึ้นถ้าปล่อยให้เวลาห่างจากสายพันธุ์แรกนานไป สรุปง่ายๆคือ จะเกิดเหตุการณ์แบบข้อ 1 ได้ ไวรัสต้องเข้าสู่เซลล์ได้พร้อมๆกัน หรือ ห่างกันไม่นาน คำถามคือ เราจะมีโอกาสแบบที่ได้รับเชื้อลักษณะนี้ได้มากแค่ไหนในบริบทจริง
3. ถ้าเหตุการณ์ใน 1. เกิดขึ้นมาจริงๆ ไม่มีใครยืนยันได้ว่า ไวรัสจะเปลี่ยนแปลงไปลักษณะไหน แต่ส่วนใหญ่คือ ไวรัสจะไม่เปลี่ยนไปจากเดิม เพราะ SARS-CoV-2 ที่อยู่ในปัจจุบัน ตำแหน่งที่ยังเหมือนกันอยู่แบบไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลยมีมากถึง 25000+ ตำแหน่ง พูดง่ายๆคือ สลับกันไปมาก็ได้ของเดิมกลับเข้ามา แต่กรณีที่สลับแลกเปลี่ยนเอาของใหม่เข้ามา คำถามที่จะต้องตอบต่อคือ แล้วยังไง เช่น เดลต้าไปรับเอาส่วน nucleocapsid ของ โอมิครอนเข้ามา เดลต้าจะดุขึ้นมั้ย??? หรือ โอมิครอนไปรับเอาส่วน ORF1a ของเดลต้ามาจะแพร่ไวขึ้นอีกหรือไม่??? ปัจจุบันไม่มีองค์ความรู้อะไรมาอธิบายได้เลย
ข้อสรุปที่ได้ว่า ไวรัส Hybrid จะดุและรุนแรงขึ้นไม่มีอะไรจะสามารถยืนยันอะไรได้ การเกิด Hybrid ระหว่าง Alpha และ Delta ก็เกิดขึ้นมาแล้ว และ ไม่มีอะไรบ่งชี้ว่าไวรัส Hybrid เหล่านั้นจะสร้างความเสียหายมากกว่าไวรัสตัวเดิม ถ้าชัดเจนตรงนี้ เราจะเข้าใจสถานการณ์มากขึ้นและควรตั้งรับอย่างไรครับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี! ดร.อนันต์เผยงานวิจัยฝรั่งค้นพบกลไกสำคัญของโยโย่เอฟเฟกต์
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'นักไวรัสวิทยา' สรุป 3 สายพันธุ์ 'โรคฝีดาษลิง' ความรุนแรงอาจขึ้นอยู่กับช่องทางการติดเชื้อ
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า
หนาว! ไทยมีสิทธิ์เป็นประเทศที่สองในโลกที่ฝีดาษวานรโผล่นอกแอฟริกา
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
'ดร.อนันต์' เตือนสติไวรัสยังเป็นสิ่งน่ากังวล
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค)
'ดร.อนันต์' เปิดผลวิจัยสาเหตุโลกไม่นิยมใช้ 'โมนูพิราเวียร์' สู้โควิด!
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
ผงะ! ดร.อนันต์บอกชายเยอรมันฉีดวัคซีนโควิดมากสุด 217 เข็มใน 29 เดือน
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ