การให้วัคซีนมากครั้ง เสี่ยงกับอาการข้างเคียงที่มากขึ้น เช่นการให้ mRNA ถึง 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 อาการข้างเคียงมากกว่าครั้งแรก เช่น กล้างเนื้อหัวใจอักเสบ ครั้งที่ 3 พบว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 2 ครั้งแรก
14 ธ.ค.2564-ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ว่า วัคซีนโควิด-19 มีคำถามถึงเข็ม 4 กันแล้ว ??
โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ วัคซีนก็ใหม่ การดำเนินการอะไรจำต้องอาศัย องค์ความรู้แบบค่อยเป็นค่อยไป เพื่อประโยชน์สูงสุด และลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้น การต่อสู้ต้องใช้เวลายาวนาน
มาถึงเวลานี้ เราทราบว่าการให้วัคซีนเบื้องต้น ป้องกันได้ระดับหนึ่ง จำเป็นต้องกระตุ้นเข็ม 3 ที่ให้ภูมิต้านทานสูงและอยู่นาน ขอให้ทุกคนได้ครบ 2 เข็ม และกระตุ้นเข็ม 3 ก่อน
เข็ม 4 ไว้ใช้เมื่อจำเป็นและถึงเวลา และรอเวลาอีกหน่อย ให้องค์ความรู้เพิ่มขึ้น หรือมีการพัฒนาวัคซีนรุ่นใหม่
- การฉีด 3 เข็ม อย่างในประเทศไทย ที่มีการกระตุ้นด้วย AZ ตามหลังเชื้อตาย หรือ Pfizer Moderna ก็น่าจะเพียงพอในระดับหนึ่ง และรอผลการศึกษาประสิทธิภาพและการลดลงของภูมิต้านทาน
- การฉีดวัคซีนระยะใกล้กัน เช่น เข็ม 3 กับ เข็ม 4 ที่ใกล้กัน การกระตุ้นภูมิต้านทานจะสู้ที่ห่างออกไปไม่ได้ (ยิ่งห่างยิ่งดี) การกระตุ้นได้ดีกว่า เหมือนน้ำเต็มขัน ยังไม่ทันลด ถึงเติมไปก็ไม่ได้ประโยชน์มาก ร่างกายยังมีหน่วยความจำช่วยได้อีก วัคซีนระยะห่าง ยิ่งห่างยิ่งกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี แต่ห่างมากไป เกรงว่าจะติดเชื้อแทรกกลางเสียก่อน จุดสมดุลต้องมี
- การให้วัคซีนมากครั้ง เสี่ยงกับอาการข้างเคียงที่มากขึ้น เช่นการให้ mRNA ถึง 3 ครั้ง ครั้งที่ 2 อาการข้างเคียงมากกว่าครั้งแรก เช่น กล้างเนื้อหัวใจอักเสบ ครั้งที่ 3 พบว่ามีต่อมน้ำเหลืองโตมากกว่า 2 ครั้งแรก ในการต่อสู้ที่ยืดเยื้อจะมีผลอย่างไร ไม่มีใครรู้ คงต้องรอข้อมูลการติดตามผล และองค์ความรู้เพิ่มเติม
ถึงแม้ว่าจะมีภาคเอกชนให้แสวงหาได้ หรือจองไว้แล้ว เลื่อนได้ ให้เลื่อนไปก่อน (เข็ม 4) ในการที่จะได้รับถึง 4 เข็ม จากข้อมูลทั้งหมด การได้รับครบ 3 ครั้งแล้ว ขอให้รอข้อมูลก่อน ในอนาคตยังไม่รู้ว่าจะมีไวรัสตัวใหม่อะไรอีก อย่างน้อยก็ 6 เดือน หลังเข็ม 3 หรือมีข้อมูลใหม่มาช่วยในการพิจารณา ว่าจำเป็นต้องให้เร็วกว่านั้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ