โมเดอร์นา-สมาคมรพ.เอกชน ออกข้อแนะนำควรฉีดโมเดอร์นาเป็นเข็มกระตุ้น หลังฉีดเข็ม2(AZ)แล้ว 3 เดือน

13ธ.ค.2564- โมเดอร์นาส่งข้อมูลเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน โมเดอร์นา เป็นเข็มกระตุ้น ในนามของสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ดังนี้ ตามที่ทางสมาคมโรงพยาบาลเอกชนได้สรุปแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา โดยอ้างอิงจากการประชุมเกี่ยวกับแนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากโรงเรียนแพทย์ โรงพยาบาลเอกชน และองค์การเภสัชกรรม มาร่วมปรึกษาและให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา เพื่อให้โรงพยาบาลต่างๆ ในเครือสมาคมโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศนำไปเลือกใช้ตามความเหมาะสมสำหรับกลุ่มต่างๆ

ล่าสุดตามข้อมูลที่อ้างอิงจาก UK COV-BOOST Study และ Expert Opinion สำหรับกลุ่มที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ชนิด viral vector (Astra Zeneca) มาครบ 2 เข็มแล้วนั้น การได้รับวัคซีนโควิด-19 เข็ม 3 (เข็มกระตุ้น) ด้วยวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา แนะนำให้ได้รับในระยะเวลา 3 เดือน หลังเข็ม 2 (ปรับเปลี่ยนระยะเวลาจากเดิมที่แนะนำในระยะเวลา 6 เดือนหลังเข็ม 2)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

แอสตร้าเซนเนก้า จับมือโรงพยาบาลพุทธชินราช ยกระดับการดูแลรักษาเชิงรุก ส่งมอบนวัตกรรม Asthma Smart Kiosk

กรุงเทพฯ – บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับโรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก ทำการติดตั้ง Asthma Smart Kiosk เดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์ผลักดันจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นเมืองต้นแบบแห่งการดูแลผู้ป่วยโรคปอด

เครือ BDMS นำร่อง รพ.มะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ จับมือ แอสตร้าเซนเนก้า ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด

บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ได้ร่วมลงนามความร่วมมือภายใต้โครงการ

แอสตร้าเซนเนก้า ร่วมกับ ศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช จัดงาน “Rethink Pink We Care” ปีที่ 2

เนื่องในเดือนแห่งการรณรงค์ต่อต้านโรคมะเร็งเต้านม แอสตร้าเซนเนก้า ประเทศไทย และศูนย์จีโนมิกส์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ควรฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นอีกมั้ย? 'ศูนย์จีโนมฯ' มีคำตอบ

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เราควรยุติการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อป้องกันโควิด-19 กันแล้วหรือไม่

'หมอยง' สรุป 2 ปี การให้วัคซีนโควิดของไทย

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า