12 ธ.ค. 2564 นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ โควิด 19 วัคซีน การกระตุ้นเข็ม 3
มีผู้ถามมามากจริงๆ ก็อยากจะตอบรวม และ การตัดสินใจอยู่ที่ตัวเราเอง
การต่อสู้กับสายพันธุ์ โอมิครอน จำเป็นจะต้องใช้ระดับภูมิต้านทานที่สูง จึงจำเป็นที่จะต้องกระตุ้นเข็ม 3 ให้เร็วขึ้น
หลักการกระตุ้นและการเลือกใช้วัคซีนในการกระตุ้น
จากการที่ได้ทำการศึกษาทางคลินิกมาโดยตลอด มีข้อมูลองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นมาสนับสนุน
การต่อสู้กับโควิด 19 ต้องใช้ระยะเวลายาวนาน ยืดเยื้อ เหมือนการวิ่งมาราธอน หรือทำสงครามยาวนาน
การต่อสู้ต้องรู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา รู้จักใช้อาวุธ เมื่อไหร่ใช้อาวุธหนัก เมื่อไหร่ใช้อาวุธเบา จึงขอสรุปดังนี้
วัคซีนเชื้อตาย อาการข้างเคียงน้อย ปลอดภัยสูง เป็นตัวเริ่มต้นที่ดี แต่กระตุ้นไม่ดี
วัคซีนไวรัส Vector ถ้าให้หลายๆครั้ง ด้วยตัวเดียวกันร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานต่อ Vector หรือ adenovirus ทำให้การใช้เข็มที่ 3 กระตุ้นภูมิต้านทานได้ไม่ได้มาก อาการข้างเคียงจะมากในเข็มแรกและจะลดลงไปเรื่อยๆในเข็มที่ 2 หรือถ้ามีการใช้เข็มที่ 3 ก็จะน้อยลงอีก
วัคซีน mRNA กระตุ้นภูมิต้านทานได้สูงมาก อาการข้างเคียงจะเกิดมาก ในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก และมีการพบว่าในเข็มที่ 3 จะพบต่อมน้ำเหลืองโตได้มากกว่าเข็มที่ 1 และ 2 ส่วนการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ จะเกิดมากในเข็มที่ 2 มากกว่าเข็มแรก ส่วนเข็มที่ 3 ยังไม่มีข้อมูลเพราะจำนวนการศึกษาน้อย
ดังนั้นแนวทางการให้วัคซีน ที่ควรจะเป็น
1 ถ้าฉีดเชื้อตาย 2 เข็ม (sinovac or sinopharm)แล้ว เข็ม 3 สามารถกระตุ้นได้ตั้งแต่ virus Vector (AZ) หรือ mRNA ได้ตั้งแต่ 1 เดือนหลังเข็ม 2 และยิ่งห่างยิ่งดี แต่กลัวจะติดโรคเสียก่อน การกระตุ้นด้วย AZ ภูมิขึ้นสูงมากเพียงพอ อย่างน้อยอีก 4-6 เดือน มีข้อมูลการศึกษาจำนวนมาก สามารถเก็บ mRNA ไว้เป็นเข็ม 4 หรือเมื่อมีการระบาดสายพันธุ์ใหม่มากขึ้น (ในกรณีนี้ AZ เข็ม 4 ก็ยังมีทางที่ให้ได้ เพราะ AZ ถ้าให้มากกว่า 2 เข็ม กระตุ้นภูมิต้านทานไม่ดีดังกล่าวมาตอนต้น) การศึกษาในเข็ม 4 ในอนาคตคงต้องรอ ยังไม่มีข้อมูล
2 การฉีดสลับ เชื้อตายตามด้วยไวรัสเวกเตอร์ (SV/ SP – AZ) ในกรณีนี้เข็มสาม สามารถให้ไวรัสเวกเตอร์ ได้ (AZ จะเป็นเข็มที่ 2) หรือจะเป็น mRNA ก็ได้ โดยให้ได้ตั้งแต่ 3 เดือนหลังเข็ม 2 เป็นต้นไป
ในทำนองเดียวกันถ้าได้ AZ เป็นเข็มที่ 3 เข็มที่ 4 ในอนาคตควรเป็น mRNA แน่นอน เหมือนกับว่าเราจะเก็บ mRNA ไว้ใช้เมื่อจำเป็น ในกรณีสายพันธุ์ใหม่ที่ต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้น และถึงเวลานั้นมีข้อมูลการศึกษามากขึ้นอีก เหมือนการต่อสู้ใช้อาวุธจากเบาไปหาหนัก หรือเช่นเดียวกับการใช้ยาปฏิชีวนะ
3 ผู้ที่ได้รับวัคซีนไวรัสเวกเตอร์ AZ มา 2 เข็ม การกระตุ้นเข็ม 3 ควรเป็น mRNA และให้ได้ตั้งแต่ 3 ถึง 6 เดือนหลังเข็ม 2การให้ AZ เข็ม 3 จะมีผลของ Antivirus เวกเตอร์ ทำให้ภูมิขึ้นได้ไม่ดี เท่า mRNA ถ้าใครจะใช้ AZ เป็นเข็ม 3 อีก จะต้องเว้นช่วง หลังเข็ม 2 ให้นานมากกว่า 6 เดือน เพื่อให้ภูมิต้านไวรัสเวกเตอร์ ลดน้อยที่สุด
4 ผู้ที่ได้รับ mRNA มาแล้ว 2 เข็ม การกระตุ้นเข็ม 3 ก็ควรเป็น mRNA
การพิจารณากระตุ้นเข็ม 3 ยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์การระบาดของโรค ผลที่ได้ ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้น และอาการข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นด้วย รวมทั้งวัคซินที่เรามี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' ชวนฉีดวัคซีน ปีนี้ไข้หวัดใหญ่ระบาดหนัก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ไข้หวัดใหญ่ปีนี้ระบาดมาก
'หมอยง' เปิดผลวิจัยการให้วัคซีน หลังสัมผัสเชื้อ 'ฝีดาษลิง'
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ
'หมอยง' แจงยิบ 'วัคซีนฝีดาษ' รุ่น 1-3 และอาการข้างเคียง
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนป้องกันฝีดาษ