โฆษกรัฐบาล เผยนายกฯ สั่งการให้เฝ้าระวังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิดอย่างใกล้ชิด แม้ภาพรวมผู้ติดเชื้อมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง เชิญชวนประชาชนฉีดวัคซีน ลดอาการรุนแรงของโควิดได้ทุกสายพันธ์ุ
9 ธ.ค.2564 - นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมติดตามสถานการณ์รายวันของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในไทยอย่างใกล้ชิด แม้ภาพรวมผู้ติดเชื้อมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในวันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 4,203 ราย ยอดผู้ที่หายป่วยกลับบ้านแล้ว 7,939 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 49 ราย นอกจากนี้ ผู้ที่กำลังรักษาตัวอยู่ 60,415 ราย หายป่วยสะสมตั้งแต่ 1 เม.ย. 64 จำนวน 2,047,662 ราย ขณะที่รายงานภาพรวมการฉีดวัคซีนโควิด-19 สรุปจำนวนผู้ที่ได้รับได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่ 28 ก.พ. - 6 ธ.ค. 2564 อยู่ที่ 95,616,058 โดส ใน 77 จังหวัด โดยแบ่งเป็น จำนวนผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 สะสม 49,308,940 ราย ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 สะสม 42,527,505 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 3 สะสม 3,779,613 ราย
นายธนกรกล่าวว่า รัฐบาลได้รับมือการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดกลายพันธุ์ (Omicron) โดยได้วางแนวป้องกันตามช่องทางการเดินทางเข้าออกประเทศและสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด มีการสุ่มตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และผู้ป่วยไข้หวัดที่เป็นกลุ่มก้อน (Cluster) และได้ทำการส่งตัวอย่างเชื้อที่พบจากผู้เดินทางหรือรายที่น่าสงสัยไปตรวจหาสายพันธุ์ Omicron ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ทำให้การตรวจพบเชื้อเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดจากภายนอกได้เร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถคัดกรองผู้ที่เข้าข่ายอาการป่วยได้อย่างทันท่วงที ทั้งนี้ ประชาชนสามารถให้ความร่วมมือได้ โดยปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด ฉีดวัคซีนโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด ใช้มาตรการป้องกันส่วนบุคคลที่เข้มงวด เช่น สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง และ VUCA คือ V Vaccine ฉีดครบโดส ลดการป่วยหนัก U Universal Prevention การป้องกันการติดเชื้อแบบครอบจักรวาล C Covid Free Setting มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร และตรวจ A ATK เป็นประจำหรือเมื่อมีอาการป่วย หรือใกล้ชิด สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวถึงกรณีล่าสุด ศบค. รายงานพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron รายที่ 2 และ 3 ของประเทศไทย ซึ่งเดินทางมาจากทวีปแอฟริกา พบว่า ยังไม่ได้รับวัคซีน รวมทั้งขณะที่ทำกิจกรรมต่างๆ ก็ไม่ได้สวมใส่หน้ากากอนามัย จึงเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อ ซปัจจุบันทั้ง 2 รายอยู่ระหว่างการคุมสังเกตอาการเพิ่มเติมอีก 7 วัน จึงขอฝากไปถึงพี่น้องประชาชนที่ยังลังเลไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน ให้รีบเข้ามารับการฉีดวัคซีน เพื่อให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันป้องกันตัวเองจากเชื้อโควิด-19 รวมทั้งเพื่อช่วยลดอาการรุนแรงจากเชื้อโควิดได้ ทั้งนี้ รัฐบาลได้อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงวัคซีน โดยประชาชนที่ต้องการฉีดวัคซีน สามารถประสานอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) หรือสถานพยาบาลสุขภาพใกล้บ้าน เพื่อรับคำแนะนำเรื่องการฉีดวัคซีนที่ถูกต้องได้
“นายกรัฐมนตรี ต้องการให้ประชาชนเปลี่ยนความกังวลและความตกใจ ให้เป็นพลังป้องกันในการต่อสู้กับโรค โดยการฟังข้อมูลข่าวสารจากทางภาครัฐ มาตรการรับมือกับโรคและแนวทางป้องกันต่าง ๆ หากต้องการทราบข้อมูล สามารถสอบถามจากแหล่งที่ให้ข้อแนะนำที่เชื่อถือได้ เช่น กรมควบคุมโรค และหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุข เพื่อช่วยลดความตื่นกลัว และนำมาใช้ป้องกันโรคอย่างถูกทาง” นายธนกร กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”
'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”
ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86
ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่