'หมอธีระ' เผยยอดติดเชื้อโควิดโลกทะลุ 267 ล้านคนไปแล้ว ยกผลวิจัยชี้ 'โอมิครอน' ดื้อต่อภูมิคุ้มกันจากวัคซีนมากกว่าสายพันธุ์ G 41 เท่า
08 ธ.ค.2564 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ทะลุ 267 ล้านไปแล้ว เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 551,538 คน ตายเพิ่ม 6,905 คน รวมแล้วติดไปรวม 267,284,709 คน เสียชีวิตรวม 5,285,221 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน สหราชอาณาจักร และรัสเซีย จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 92.69 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 93.55
ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นมากถึงร้อยละ 61.6 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 59.71 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก
...สำหรับสถานการณ์ไทยเรา เมื่อวานติดเชื้อเพิ่ม 3,525 คน สูงเป็นอันดับ 28 ของโลก หากรวม ATK อีก 752 คน ก็ขยับเป็นอันดับ 27 ของโลก ยอดรวม ATK จะเป็นอันดับ 8 ของเอเชีย
...อัพเดต Omicron กับเรื่องภูมิคุ้มกันจากวัคซีน ล่าสุด Alex Sigal จาก African Health Research Institute ประเทศแอฟริกาใต้ และคณะวิจัยได้เผยแพร่ผลงานวิจัยเบื้องต้น แต่มีความสำคัญมาก สรุปสาระได้ดังนี้
หนึ่ง Omicron อาศัยตัวรับ ACE2 ในการติดเชื้อเข้าสู่เซลล์ปอดของมนุษย์ เฉกเช่นเดียวกับสายพันธุ์อื่นๆ ก่อนหน้านี้
สอง ในการศึกษาเรื่องผลของภูมิคุ้มกันจากวัคซีนพบว่า Omicron โดยเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ G นั้น พบว่าภูมิคุ้มกันจากวัคซีน Pfizer/Biontech (BNT162b2) จะจัดการเชื้อ Omicron ได้ลดลง 41 เท่า
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มคนที่เคยมีประวัติติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน แล้วได้รับวัคซีน BNT162b2 ไป จะยังคงจัดการเชื้อได้ นี่เป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ได้รับการเผยแพร่ออกมา และคาดว่าจะมีงานวิจัยอื่นๆ ทยอยออกตามมาในไม่ช้า เพื่อให้เราเข้าใจ Omicron ได้ลึกซึ้งขึ้น
มองผลการศึกษาดังกล่าว เน้นย้ำให้เราทราบว่า มีแนวโน้มสูงที่ Omicron จะดื้อต่อภูมิคุ้มกันจากวัคซีน จะมากจะน้อย คงต้องรองานวิจัยอื่นๆ จากทั่วโลกด้วยว่าออกมาสอดคล้องกันหรือไม่ เพราะ Pfizer/Biontech ถือเป็น mRNA vaccine ซึ่งมีประสิทธิภาพสูง กระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันได้สูงกว่า platform อื่นๆ การลดลงของประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันนั้นหากเป็นจริงก็ยิ่งชี้ให้เห็นความจำเป็นของการฉีดเข็มกระตุ้น
นอกจากนี้ ด้วยความรู้ปัจจุบัน Omicron นั้นเป็นสายพันธุ์ที่สามารถติดเชื้อในคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน โดยพบการติดเชื้อซ้ำ (reinfection) ได้มากกว่าสายพันธุ์อื่น 2.4 เท่า บ่งชี้ว่าภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาตินั้นน่าจะไม่พอที่จะป้องกัน แต่งานวิจัยของ Sigal นี้ชี้ให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันในคนที่ติดเชื้อมาก่อนแล้วได้รับวัคซีนไป จะยังสามารถจัดการเชื้อ Omicron ได้
ดังนั้นจึงมีความสำคัญยิ่งที่เราต้องเน้นย้ำให้คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ไปรับวัคซีนด้วย โดยไทยเราตอนนี้มีคนติดเชื้อไปกว่า 2 ล้านคน
ภาพรวม Omicron แพร่ง่ายขึ้นชัดเจน มีแนวโน้มดื้อต่อภูมิคุ้มกันจากวัคซีนมากกว่าสายพันธุ์ G 41 เท่า การติดเชื้อดูเหมือนจะมีอาการป่วยรุนแรงน้อยลงกว่าเดิมแต่พอมีคนติดจำนวนมากก็กระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศนั้นๆ อย่างมากทีเดียว ส่วนเรื่องการเสียชีวิตนั้นน่าจะประเมินกันได้ในอีกไม่กี่สัปดาห์ถัดจากนี้ แต่เรื่องภาวะอาการคงค้างหรือ Long COVID จาก Omicron นั้นยังไม่มีข้อมูล เพราะต้องติดตามระยะยาว
ใส่หน้ากากนะครับ เว้นระยะห่างจากคนอื่นเกินหนึ่งเมตร ระวังเรื่องการระบาดเป็นกลุ่มก้อนใหญ่จากการปาร์ตี้สังสรรค์ตามสถานที่ต่างๆ ด้วยรักและห่วงใย
อ้างอิง
Cele S et al. SARS-CoV-2 Omicron has extensive but incompleter escape of Pfizer BNT162b2 elicited neutralization and requires ACE2 for infection. AHRI. 7 December 2021.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดรายสัปดาห์ ป่วยนอนโรงพยาบาล 557 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต
ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 1 - 7 ธันวาคม 2567 ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล (รายสัปดาห์)
'หมอยง' ช้ำถูกวิกิพีเดียใส่ข้อมูลเท็จซ้ำเข้าไปแก้ไขไม่ได้
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา
‘หมอยง’ สะท้อนความรู้สึกโควิด-19 ปีที่ 2 'ยุ่งเหยิง-ดราม่าวัคซีน-เซียนคีย์บอร์ด'
หลังการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในปีแรก ทุกคนมุ่งหวัง ที่จะยุติการระบาดด้วยวัคซีน จึงมีการผลิตคิดค้นวัคซีนกันมากมาย มากกว่า 10 platform
'หมอยง' หวนระลึกโควิด19 ปีที่สองของการระบาด!
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้