7 ธ.ค.2564 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงข้อสังเกตที่ว่าการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โอมิครอน ซึ่งอาจจะมีผลต่อการจัดรูปแบบการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในปี 2565 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม ว่า ตอนนี้ยังอีกไกล และต้องติดตามว่าจะมีการจัดการเกี่ยวกับการระบาดของเชื้อไวรัสสายพันธุ์นี้อย่างไร รวมถึงต้องติดตามอย่างต่อเนื่องว่าการระบาดดังกล่าวในอนาคตจะเป็นอย่างไร ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นแม้จะพบว่ามีเชื้อดังกล่าวเข้ามาแต่อาจจะไม่ลุกลามต่อก็ได้ดังนั้นตอนนี้เราอย่าเพิ่งไปกังวล ขณะเดียวกันเราหวังว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับประเทศเราและการประชุมดังกล่าว
เมื่อถามขณะนี้ได้มีการจัดเตรียมรูปแบบการจัดประชุมดังกล่าวไว้อย่างไรบ้าง อาทิ จะเป็นการประชุมด้วยตัวเองออนไลน์ควบคู่กับการเข้าร่วมด้วยตัวเอง หรือเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า ยังไม่คิดไปถึงจุดนั้น เพราะตอนนี้อยู่ในปี 2564 ส่วนการประชุมดังกล่าวจะเริ่มขึ้นในปี 2565 ดังนั้นตอนนี้ยังมีเวลา ซึ่งระหว่างนี้ไปจนถึงวันที่มีการจัดประชุมจริงทุกคนต้องช่วยกัน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าเราได้มีการเตรียมแผนสำรองรองรับกรณีที่เกิดสถานการณ์ต่างๆ โดยจากนี้ไปเราต้องดูภาพใหญ่ว่าพัฒนาการของสถานการณ์ต่างๆว่าเป็นอย่างไร แต่สิ่งสำคัญคือการทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากภารกิจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเอเปค ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด โดยตรงทำให้ประเทศ ประชาชน องค์กรต่างๆร่วมถึงทั้งภูมิภาคได้รับประโยชน์จึงอยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันและมองถึงประเด็นตรงนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่าในช่วงเวลาจากนี้ไปจะมีบุคคลสำคัญจากต่างประเทศเดินทางมาประเทศไทยหรือไม่ นายดอน กล่าวว่า จะมีเข้ามาอีกจำนวนมาก เมื่อถามกรณีที่มีข่าวว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกาจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย นายดอน กล่าวว่า เขาจะเดินทางมาภายในเดือนนี้ ขอให้ติดตามดูก็แล้วกัน ทั้งนี้บุคคลสำคัญของต่างประเทศทยอยเดินทางเข้ามากันเรื่อยๆ เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่ใครๆก็อยากเดินทางเข้ามาสร้างปฏิสัมพันธ์ ซึ่งนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร
"แต่เรื่องที่แปลกคือกรณีที่มีคนไปหยิบยกเรื่องบางเรื่องมาบิดเบือนให้เกิดประเด็นขึ้นมา ประเทศไทยไม่ควรมีปัญหาถ้าไม่มีปัญหาชีวิตของพวกเราจะดีขึ้น เพราะจะเกิดทั้งเสรีภาพและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำพาให้ต่างประเทศเข้ามามีปฏิสัมพันธ์กับประเทศไทยในหลายวงการ ทั้งการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและด้านอื่นๆ เพราะประเทศเรามีทุนเดิมที่ดีอยู่แล้วจึงอยากให้ทุกคนช่วยกันอย่าทำให้ประเทศเรามีปัญหา เพราะการที่มีคนเอาเรื่องไปบิดเบือนและออกข่าวให้เป็นประเด็น นั่นจะทำให้ประเทศมีปัญหา ซึ่งมันเปล่าประโยชน์ แต่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับบ้านเมืองเราคือนิ่งๆไม่สร้างปัญหาแล้วช่วยกันเดินหน้าพัฒนาประเทศต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง" นายดอนกล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯอิ๊งค์ลั่นประเทศไทยต้องยืนหนึ่งบนเวทีโลก
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า “ก่อนการเดินทางกลับประเทศไทยช่วงเวลา 18 นาฬิกาของวันนี้ (วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน) ตามเวลาเปรู ซึ่งจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 27 ชั่วโมง โดยจะถึงประเทศไทยในวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน ประมาณ 11 นาฬิกา ตามเวลาในประเทศไทย นายกรัฐมนตรี นางสาวแพทองธาร ชินวัตร ให้สัมภาษณ์สรุปภาพรวมภารกิจ การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 31 และการประชุมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู ดังนี้
นายกฯ ถึงสหรัฐ เตรียมประชุมเอกอัครราชทูต-กงสุลใหญ่ หารือภาคธุรกิจ
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รมว.การต่างประเทศ เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
เปิดภารกิจนายกฯบินพบนักธุรกิจ-คนไทยในแอลเอ. ชวน ‘บิ๊กระดับโลก’ ลงทุนไทย
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อม ด้วยนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และคณะออกเดินทางเยือนนครลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”