'โอไมครอน' เกิดขึ้นได้อย่างไร! งานวิจัยตั้งสมมติฐานไว้ 3 แบบ

6 ธ.ค. 2564 – รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า Omicron เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ล่าสุดมีงานวิจัยที่ศึกษาลักษณะการกลายพันธุ์ของ Omicron เทียบกับไวรัสอื่นๆ และมีการนำเสนอสมมติฐานเพื่ออธิบายการเกิดขึ้นของ Omicron อยู่ 3 แบบหลัก

หนึ่ง The surveillance failure hypothesis หมายถึงการที่ไวรัสมีการระบาดในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน โดยไม่ได้รับการตรวจพบ ทั้งนี้อาจเป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรจำกัด และมีระบบเฝ้าระวังติดตามพันธุกรรมของเชื้อได้น้อย ไม่ครอบคลุม ทำให้ไวรัสมีการปรับเปลี่ยนพันธุกรรมไปได้เป็นจำนวนมาก

สอง The chronic infection hypothesis หมายถึงการที่ไวรัสติดเชื้อในคนเป็นระยะเวลายาวนาน จนเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมไปมาก เช่น กลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฯลฯ

สาม The reverse-zoonosis hypothesis หมายถึงการที่ไวรัสมีการระบาดและติดเชื้อไปยังสิ่งมีชีวิตอื่นๆ แล้วย้อนกลับมาที่คน

หรืออาจเป็นหลายแบบผสมกัน

การจะพิสูจน์ว่าเกิดจากสาเหตุใด จำเป็นจะต้องมีการติดตามศึกษาวิจัยให้มีข้อมูลมากขึ้นกว่านี้

อ้างอิง Martin DP et al. Selection analysis identifies significant mutational changes in Omicron that are likely to influence both antibody neutralization and Spike function (Part 2 of 2). 5 December 2021.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน

โควิดกลับมาระบาดใหม่ ‘หมอมนูญ’  ขออย่าตื่นตระหนก รักษาตามอาการหายได้

เวลาผ่านไปโรคโควิดลดความรุนแรงลง โรคโควิดไม่น่ากลัวหมือนเมื่อ 3-4 ปีก่อน คนไทยไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจกลัวโรคโควิดมากเกินไป

'เส้นเลือดแตกในสมอง' ทำไมพบบ่อยมากและรุนแรงขึ้น

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์เชี่ยวชาญทางอายุรกรรมและสมอง และที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์ตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า เส้นเลือดแตกในสมอง