บ่ายสอง! ศาลปกครองสูงสุดชี้ขาด 'ฟาวิพิราเวียร์ VS ฟ้าทะลายโจร'

สะเด็ดน้ำเสียที! ศาลปกครองสูงสุดนัดอ่านคำพิพากษาคดีที่สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยฟ้องหมอหนูและพวก ปมจัดซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งสมาคมฯ มองว่าประสิทธิภาพด้อยกว่าฟ้าทะลายโจร

07 มิ.ย.2566 – วันนี้ในเวลา 14.00 น. ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ณ ห้องพิจารณาคดี 6 ชั้น 3 ในคดีหมายเลขดำที่ 531/2565 คดีหมายเลขแดงที่ 1071/2565 ระหว่างสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย (ผู้ฟ้องคดี) กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณา)

โดยคดีนี้ผู้ฟ้องคดี ฟ้องว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ 1 กับพวกรวม 4 คน (ผู้ถูกฟ้องคดี) กระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจัดซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) มาใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ทั้งที่มีผลการวิจัยระบุว่า มีประสิทธิภาพด้อยกว่ายาฟ้าทะลายโจร ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพของประชาชนและเกิดความเสียหายต่องบประมาณแผ่นดิน จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง

ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องนี้ไว้พิจารณาและให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีที่ผู้ฟ้องคดีมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ระงับการจัดซื้อจัดหายาฟาวิพิราเวียร์ เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่มีหน้าที่และอำนาจในด้านการสาธารณสุข จัดหาและบริหารจัดการเกี่ยวกับเวชภัณฑ์เพื่อป้องกันและบรรเทาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงการจัดซื้อยาฟาวิพิราเวียร์ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสดังกล่าว อันเป็นข้อพิพาทที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างในคดีนี้ กรณีจึงเป็นการดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และโดยที่มาตรา 16 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว บัญญัติให้บรรดาข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง หรือการกระทำตามพระราชกำหนดนี้ ไม่อยู่ในบังคับของกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง ดังนั้น คำฟ้องในข้อหานี้จึงไม่อยู่ในอำนาจตรวจสอบของศาลปกครอง

ส่วนกรณีมีคำขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่พิสูจน์ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลข้างเคียงของผู้ป่วยที่ได้รับยาฟาวิพิราเวียร์ และให้กำหนดมาตรการหรือกลไกที่ชัดเจนเกี่ยวกับการชดเชยดูแลค่าเสียหายที่เกิดจากการป่วยและการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ให้เผยแพร่ข้อมูลให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทราบเกี่ยวกับข้อจำกัดของหลักฐานด้านประสิทธิภาพของยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโรคโควิด-19 และให้กำหนดมาตรการที่ชัดเจนในการส่งเสริมการใช้ฟ้าทะลายโจร เมื่อคำขอดังกล่าวเป็นเรื่องการวิจัยทางการแพทย์ในเรื่องการใช้ยารักษาโรคโควิด-19 ซึ่งต้องศึกษาและทำการวิจัย การจะให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่มีมาตรการที่ชัดเจนในการส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทย “ฟ้าทะลายโจร” อย่างจริงจังและให้มีประสิทธิภาพในสถานพยาบาลและหรือบุคลากรทางการแพทย์ของรัฐ-เอกชน จึงต้องกระทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญด้านยาโดยเฉพาะ ประกอบกับการศึกษาวิจัยทางการแพทย์กรณีนี้ต้องอนุมัติเงินงบประมาณแผ่นดินเพื่อสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วย อันเป็นเรื่องนโยบายการบริหารราชการของรัฐบาล ศาลปกครองจึงไม่อาจก้าวล่วงไปพิจารณาให้ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสี่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวภายในเวลาที่ศาลกำหนดได้ ดังนั้น คำฟ้องในข้อหาที่สองจึงเป็นกรณีที่ศาลไม่อาจออกคำบังคับตามที่กำหนด
ในมาตรา 72 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542
ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
ผู้ฟ้องคดีจึงยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ชาญ พวงเพ็ชร์' แพ้คดี! ศาลปกครองกลางสั่งชดใช้ 2.3 ล้าน ปมซื้อเครื่องออกกำลังกาย

คดีหมายเลขดำที่ 1015/2565 คดีหมายเลขแดงที่ 2245/2567 คดีที่นายชาญ พวงเพ็ชร์ ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ฟ้องเพิกถอนคำสั่งที่ให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

'ศรีสุวรรณ' นำชาวลาดพร้าวฟ้องโยธากทม.-คชก.อนุมัติสร้างคอนโด 6 แท่งเลียบทางด่วนฯ

นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ยื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อฟ้อง ผอ.สำนักการโยธา ผอ.เขตลาดพร้าว และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณา EIA (คชก.) ของ กทม.

ศาลฯยกฟ้องซิโนไทย ฟ้องสำนักงานเลขาฯสภาผู้แทนราษฎร คดีก่อสร้างรัฐสภา

ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ ๙๖๑/๒๕๖๓ หมายเลขแดงที่ ๒๐๔๒/๒๕๖๗ ระหว่างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ฟ้องคดี กับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ผู้ถูกฟ้องคดี