นายกฯ ขอบคุณพลังแห่งความสามัคคีของคนไทยร่วมกันนำชาติฝ่าวิกฤตโควิด-19 และกลับมาเติบโตอย่างยั่งยืน หลัง ครม.รับทราบผลการใช้เงินกู้สู้ COVID-19 ภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
11 พ.ค.2566 - นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2566 คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบสรุปผลการประเมินโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 1 จำนวน 10 โครงการ (จากกำหนดเป้าหมายประเมินผลทั้งสิ้น 250 โครงการ) วงเงินอนุมัติ 184,410.22 ล้านบาท เกิดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 42,322.44 ล้านบาท รายได้จากการจัดเก็บภาษีทั้งทางตรงและทางอ้อมที่รัฐคาดว่าจะได้รับกลับคืนสูงสุดภายใน 3 ปี จำนวน 8,168.23 ล้านบาท ประกอบด้วย
1.แก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 1 โครงการตัวอย่างจาก 45 โครงการ (วงเงิน 8,616.08 ล้านบาท ผลการเบิกจ่าย 8,616.08 ล้านบาท คิดเป็น 100%) จัดหาวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดสและจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมให้ครอบคลุมประชากรกลุ่มเป้าหมาย 100% สามารถช่วยป้องกันการเสียชีวิต ป้องกันอาการป่วยรุนแรง กระตุ้นการตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีนสนับสนุนอุตสาหกรรมวัคซีนให้มีศักยภาพมากขึ้นในอนาคต
2.ช่วยเหลือเยียวยาและชดเชยให้กับภาคประชาชนทุกสาขาอาชีพ จำนวน 6 โครงการตัวอย่างจาก 31 โครงการ (วงเงินอนุมัติ 115, 494.95 ล้านบาท ผลการเบิกจ่าย 114,576. 03 ล้านบาท คิดเป็น 99.20%) ได้แก่ โครงการเยียวยาผู้ประกันตน ม.39 (1.37 ล้านราย) ผู้ประกันตน ม.40 (7.21 ล้านราย) และนายจ้าง (0.16 ล้านราย) ผู้ประกันตน ม. 33 (3.36 ล้านราย) การเพิ่มกำลังซื้อบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 (13.36 ล้านบาท) และ 4 ( 13.20 ล้านราย) รวมทั้ง การลดค่าไฟฟ้า (บ้านอยู่อาศัย/กิจการขนาดเล็ก (21.3 ล้านราย) มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 42,292.35 ล้านบาท รายได้ที่คาดว่าภาครัฐจะได้กลับคืนในระยะเวลาสามปีสูงสุด 8,162.42 ล้านบาท ซึ่งสามารถลดความเครียด และชะลอการเกิดหนี้เสียและไม่ต้องขายทรัพย์สินเพื่อนำมาใช้จ่าย
3.มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 3 โครงการตัวอย่าง จาก 2,432 โครงการ (วงเงิน 60,299.19 ล้านบาท ผลเบิกจ่าย 60, 299.19 ล้านบาท คิดเป็น 100%) ได้แก่ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ผู้ได้รับประโยชน์ ได้แก่ ประชาชนทั่วไป (27.98 ล้านราย) ผู้ประกอบการ (1.3 ล้านราย) นายจ้าง SME รับเป็นเงินอุดหนุน (0.24 ล้านราย) รักษาระดับการจ้างงาน (3.26 ล้านราย) และการจ้างงานใหม่ (0.18 ล้านราย) เงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 30.09 ล้านบาท รายได้ที่คาดว่าภาครัฐจะได้กลับคืนในระยะเวลาสามปีสูงสุด 5.81 ล้านบาท ลดการเลิกจ้างงาน เพิ่มความตระหนักรู้ด้านดิจิทัล ส่งเสริมสังคมไร้เงินสดของไทย
โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการประเมินภาพรวมของแผนงาน/โครงการที่มีการดำเนินการทั้ง 10 โครงการ ได้ระดับดีมาก ภายใต้ตัวชี้วัดทั้ง 5 มิติ ได้แก่ ความสอดคล้อง-เชื่อมโยง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบและความยั่งยืน ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กล่าวผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่นชม และขอบคุณพลังแห่งความสามัคคีของคนไทยทุกคน ที่ได้ร่วมกันช่วยประเทศฝ่าวิกฤตโควิด - 19 และสามารถกลับมาเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกอิ๊งค์ควง 2 รมต.หญิงลง 'ขอนแก่น-มหาสารคาม' ติดตามแก้น้ำท่วม-น้ำแล้ง-ตัดริบบิ้นเปิดงาน
นายกฯ เร่งสปีดนโยบายรัฐบาล ลงขอนแก่น-มหาสารคาม 20 ธ.ค. แก้ไขน้ำท่วม-น้ำแล้ง พร้อมติดตามโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน พร้อมตัดริบบิ้นเปิดงานซอฟพาวเวอร์ของไทย
ครม.เคาะแพ็กเกจใหญ่ช่วยเหลือ 'ลูกหนี้รายย่อย-เอสเอ็มอี'
ครม. อนุมัติชุดใหญ่! จัดมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ ผู้ประกอบการ SMEs มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นแน่
นายกฯ อิ๊งค์ลั่นกลาง ครม.พร้อมลงภาคใต้แต่ไม่รู้เมื่อไหร่!
นายกฯ แจ้งที่ประชุม ครม. พร้อมลงภาคใต้ ขอ ศปช.ส่วนหน้าสรุปแผนแก้ไขน้ำท่วมอย่างเป็นระบบ ทั้งระยะสั้น-ระยะยาว เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก
รัฐบาลตีปี๊บแถลงผลงาน 90 วัน 12 ธ.ค. มั่นใจประเทศไทยไปได้สวย
รัฐบาลแถลงผลงาน 90 วัน “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง“ พฤหัสนี้ มั่นใจประเทศไทยไปได้สวย หลังพบทุกมิติของประเทศคึกคัก คาดจีดีพีปีหน้าเติบโตสู้ประเทศในอาเซียนได้แน่
รัฐบาลพร้อมรับ 4 คนไทยกลับบ้าน เช็กสุขภาพ-เยียวยาจิตใจทันที
นายกฯ รับรายงานพร้อมรับ 4 คนไทยกลับบ้าน ด้าน สธ. เตรียมทีมดูแลสุขภาพกาย-จิตใจ ทันทีที่เหยียบแผ่นดินไทย
รัฐบาลชวนชมริ้วขบวนอัญเชิญ 'พระเขี้ยวแก้ว' จากดอนเมืองมาสนามหลวง
รัฐบาล เชิญชวนชมริ้วขบวนอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วจากดอนเมือง มาประดิษฐาน มณฑลพิธีท้องสนามหลวง พร้อมเปิดสักการะ 5 ธ.ค.2567 - 14 ก.พ.2568