2 ธ.ค.2564 - ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรค และภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค แถลงผลการเฝ้าระวังติดตามผู้เดินทางเข้าประเทศที่มาจากพื้นที่เสี่ยงโรคโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ว่า เบื้องต้นประเทศที่พบสายพันธุ์โอไมครอน คือ แอฟริกาใต้ ไนจีเรีย บอสซาวานา โมซัมบิก ซิมบักเว นามิเบีย มาลาวี เอสวาทินิ เลโวโท และยังมีประเทศในทวีปอื่นๆ อย่าง บราซิล แคนาดา ญี่ปุ่น อิสราเอล ออสเตรีย เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ฮ่องกง สหราชอาณาจักร ตุรกี เยอรมนี สเปน อิตาลี เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม สวีเดน โปรตุเกส สวิตเซอร์แลนด์ เดนมาร์ก ออสเตรเลีย เป็นต้น ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
นพ.เฉวตสรร กล่าวว่ากรณีข่าวในสื่อจนทำให้วิตกกังวลว่า มีผู้เดินทางกลุ่มเสี่ยงสูงเข้ามาประเทศไทย อย่างไรก็ตาม สำหรับข้อมูลผู้เดินทางจากทวีปแอฟริกา ผ่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ตั้งแต่วันที่ 15- 27 พ.ย.64 และ วันที่ 5 ธ.ค.64 แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง 8 ประเทศ เดินทางเข้ามาวันที่ 15-30 พ.ย.2564 มีจำนวน 252 คน ในกลุ่มแซนด์บ็อกซ์ และกลุ่มเสี่ยงต่ำที่เดินทางเข้ามาวันที่ 15 พ.ย. -5 ธ.ค.64 จากประเทศอื่นๆ ในทวีปแอฟริกา 452 คน ซึ่งเป็นทั้งกลุ่มแซนด์บ็อกซ์ และสถานที่กักกัน โดยรวมทั้ง 2 กลุ่ม จำนวน 782 คน
นพ.เฉวตสรร กล่าวอีกว่า หลายคนกังวลว่า กลุ่มเดินทางเหล่านี้ไปที่ไหนบ้าง ขอเรียนว่า ผู้ที่เดินทางเข้ามาก่อนมาต้องมีการตรวจเชื้อเป็นลบก่อน และเมื่อมาถึงวันแรกก็ต้องผลเป็นลบ หากเป็นบวกต้องเข้าโรงพยาบาล (รพ.) ส่วนคนที่อยู่ในแซนด์บ็อกซ์ครบเวลา 7 วัน ก่อนจะไปพื้นที่อื่นก็ต้องตรวจ ATK ว่าไม่พบเชื้อ อย่างน้อยๆ ตรวจ 3 ครั้ง ก่อนมาและมาถึงประเทศเรา อย่างไรก็ตาม เราแจ้งเพิ่มเติมว่า สำหรับผู้ที่มาจาก 8 ประเทศ นับตั้งแต่วันเข้าประเทศจนถึง 14 วัน จะขอตรวจ RT-PCR ก่อนอีกครั้งประมาณวันที่ 12 หรือ 13 ของการเข้าประเทศ แต่คนเหล่านี้เขาได้ฉีดวัคซีนมาแล้ว ก็ลดความเสี่ยงไปแล้วเช่นกัน ดังนั้น ขอให้อย่าวิตกกังวลเกินไป ทั้งนี้ ในวันนี้ (2 ธ.ค.64) คณะทำงานของกรมควบคุมโรคจะมีการประชุมว่า มีการติดตามติดต่อแล้วจำนวนเท่าไร อย่างไร เนื่องจากต้องยืนยันข้อมูลอีกครั้ง
“ขอย้ำว่ามาตรการในส่วน 8 ประเทศนั้น ไม่ได้ให้ขอไทยแลนด์ พาส (Thailand Pass) เข้าประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย.2564 แต่คนที่ขอก่อนอาจมีบ้าง แต่นับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2564 จะไม่มีแล้ว และคนที่เดินทางเข้ามาก็เข้าสู่มาตรการควบคุมกักตัวจนครบ 14 วัน ส่วนจุดที่เป็นการติดตามคนที่เดินทางมาก่อนหน้านั้น หากเดินทางมาตั้งแต่ต้นเดือนผ่านเวลา 14 วัน ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ แม้เชื้อโควิด-19 จะบอกว่า ระยะฟักตัวอาจอยู่ 2-14 วัน แต่เวลาส่วนใหญ่ที่พบจะเป็น 5-7 วัน มีอาการเริ่มป่วย หากเกิน 7 วันไปแล้ว ก็ค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจมีได้ แต่ไม่ควรกังวลเกินไป เพราะเรามีมาตรการวัคซีน มาตรการป้องกันส่วนบุคคล หากยกการ์ดสูงก็ช่วยได้” นพ.เฉวตสรร กล่าว
นพ.เฉวตสรร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับจำนวนผู้ที่เดินทางเข้าไทยตั้งแต่วันที่ 1-30 พ.ย.64 ผ่านระบบไม่กักตัว (Test & Go) 106,211 คน ระบบแซนด์ บ็อกซ์ 21,438 คน ระบบกักตัว 7 วัน จำนวน 1,743 คน กัก 10 วันจำนวน 3,654 คน และ กัก 14 วัน จำนวน 15 คน ส่วนผลการดำเนินงานรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยาน ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2564 พบว่า ในส่วน Test & Go มี 5,598 ราย พบติดเชื้อ 3 ราย ซึ่งอัตราการติดเชื้อร้อยละ 0.05 เป็นตัวเลขต่ำมาก แต่หากมองภาพรวมทั้งหมดเข้ามา 6,291 ราย ติดเชื้อ 9 ราย ขณะที่ประเทศต้นทางที่เข้ามามาก 10 อันดับแรก (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธ.ค.64) โรมาเนีย สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ เยอรมนี สหาราชอาณาจักร สิงคโปร์ สวีเดน ญี่ปุ่น ฟินแลนด์ ขณะที่อัตราการติดเชื้อแยกผู้เดินทางเข้ามาจากประเทศต้นทาง (ข้อมูลณ วันที่ 1 ธ.ค.64) พบมัลดีฟส์ รัสเซีย กัมพูชา สหราชอาณาจักร เยอรมนี สหรัฐ
นพ.เฉวตสรร กล่าวถึงสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศว่า ภาพรวมมีแนวโน้มดีขึ้น ผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิตลดลงเรื่อยๆ ประกอบกับมีจำนวนการครองเตียงลดลง ทั้งนี้ ได้มีการติดตามคลัสเตอร์ที่มีการแพร่ระบาดอย่างใกล้ชิด โดยคลัสเตอร์ที่พบการแพร่ระบาด ได้แก่ Test & Go, โรงงานหรือสถานประกอบการ, ตลาด, พิธีกรรมทางศาสนา, แคมป์คนงาน, โรงเรียนหรือสถานศึกษา, ค่ายทหาร และร้านอาหารหรือสถานบันเทิง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักไวรัสวิทยา' ไม่ฟันธง โควิด XBB.1.16 เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการตาแดง มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
'นักไวรัสวิทยา'ไม่ฟันธง โควิด XBB.1.16 เป็นไวรัสที่ก่อให้เกิดอาการตาแดง มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ
ข่าวดี! วัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ลดป่วยและตายเห็นผลชะงัก
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาฯ บอกข่าวดีวัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ลดป่วยและตายจากการติดเชื้อเห็นผลชัดเจน หลังผลวิจัยในอิสราเอลที่ฉีดถึง 6 แสนคนลดอัตรานอน รพ.และตายถึงกว่า 80%
ไม่ต้องตื่นกลัว! โควิดสายพันธุ์ใหม่จากจีน
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ข่าวดีรัฐบาลจีนผ่อนคลายนโยบายโควิดเป็นศูนย์อย่างต่อเนื่อง
'หมอยง' ชี้การกลายพันธุ์ของไวรัส ไม่มีผลต่อยาที่ใช้รักษา
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 การกลายพันธุ์ของไวรัส ไม่มีผลต่อยาที่ใช้รักษา
'หมอยง' ชี้โควิดเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล พีกที่ 2 ไม่มากเท่าหน้าฝน
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 เมื่อโรคเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล