WHO เคาะแนวทางรับมือโควิดประจำปี 2023-2025 แล้ว

หมอธีระเผยองค์การอนามัยโลกได้เคาะแผนรับมือโควิด19 ประจำปี 2023-2025 ออกมาแล้ว วาง 5 องค์ประกอบหลักให้สมาชิกทั่วโลกนับไปปรับใช้

04 พ.ค.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 62,541 คน ตายเพิ่ม 173 คน รวมแล้วติดไป 687,391,325 คน เสียชีวิตรวม 6,867,910 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส โรมาเนีย และรัสเซีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 97.36 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 94.79

...แผนการตอบสนองและเตรียมรับมือโควิด-19 ปี 2023-2025

องค์การอนามัยโลกเพิ่งเผยแพร่ Strategic preparedness and response plan สำหรับโรคโควิด-19 ปี 2023-2025 เมื่อวานนี้ 3 พฤษภาคม 2023

สาระสำคัญคือ การปรับแผนจากการใช้แนวคิดเสาสิบต้น (10 pillars) ไปเป็น 5 องค์ประกอบหลัก เพื่อเป็นแนวทางให้แต่ละประเทศวางแผนรับมือช่วงเปลี่ยนผ่านของโรคระบาดโควิด-19

องค์ประกอบหลักทั้ง 5 เรื่อง ได้แก่ การวางแผนประสานงานเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน (Emergency coordination) , การร่วมมือกันในการเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ระบาดและแชร์ข้อมูลระหว่างกัน (Collaborative surveillance), การป้องกันการระบาดในชุมชน (Community protection), การวางแผนเพื่อให้คนสามารถเข้าถึงวัคซีน (Access to countermeasures), และการจัดเตรียมระบบดูแลรักษาที่เพียงพอและปลอดภัย (Safe and scalable care)

...ตลอดช่วงที่ผ่านมา วิกฤติที่เกิดขึ้นหลายต่อหลายรอบจนนำมาสู่การสูญเสียชีวิตจำนวนมาก เจ็บป่วย ภาวะวิกฤติกดดันจนต้องหาทางเอาตัวรอดยามฉุกเฉินของคนในสังคม รวมถึงเรื่องยา วัคซีน อุปกรณ์ป้องกัน ชุดตรวจ เตียง และอื่นๆ ย่อมเป็นบทเรียนให้ทราบว่าหนักหนาสาหัสเพียงใด และกระตุ้นให้เราวิเคราะห์สาเหตุ หาทางจัดการป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำอีกในอนาคต

สำหรับไทยเรา ขณะนี้มีการติดเชื้อแพร่เชื้อกันมาก จึงควรรู้เท่าทันสถานการณ์ และป้องกันตัวระหว่างการใช้ชีวิตประจำวันให้ดี ..ติดเชื้อแต่ละครั้งไม่ใช่ชิลๆ แล้วหาย แต่ป่วยได้ รุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยง Long COVID ด้วย เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่แชร์ของกินของใช้กับคนอื่นนอกบ้าน การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอนั้นสำคัญมาก ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน