โควิดทำยอดคนลางานเมืองผู้ดีพุ่งสูงสุดในรอบ 18 ปี!

นพ.ธีระเผยข้อมูลจากเมืองผู้ดี ตัวเลขการขาดและลางานในปี 2565 พุ่งสูงสุดในรอบ 18 ปี ซึ่งสัมพันธ์กบโรคโควิด19 ตอกย้ำงานวิจัย Long COVID ทำให้คนจำนวนมากไม่สามารถทำงานได้

27 เม.ย.2566 - นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 27 เมษายน 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 56,792 คน ตายเพิ่ม 184 คน รวมแล้วติดไป 686,692,298 คน เสียชีวิตรวม 6,860,995 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส รัสเซีย และเวียดนาม เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.28 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 71.73

...การขาดหรือลางานในสหราชอาณาจักร
ข้อมูลล่าสุดจาก Office for National Statistics (ONS) ชี้ให้เห็นว่า อัตราการขาดหรือลางานจากการเจ็บป่วยในปี 2022 (พ.ศ.2565) ที่ผ่านมานั้น อยู่ที่ 2.6% ซึ่งถือว่าสูงที่สุดนับจากปี 2004 เป็นต้นมา หากนับจำนวนวันของการขาดหรือลางานจากการเจ็บป่วย พบว่า ปี 2022 สูงถึง 185.6 ล้านวัน ลักษณะของคนที่ขาดหรือลางานจากการเจ็บป่วยนั้น มักเป็นเพศหญิง วัยทำงานที่อายุมาก รวมถึงคนที่ทำงานด้านการดูแลและอุตสาหกรรมบริการ

...ข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของประชากรที่สูงขึ้น และมีผลกระทบต่อการทำงานทั้งระดับบุคคล และระบบแรงงานในประเทศ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสถิติที่สูงขึ้นมากนั้นมีความสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมจากโรคโควิด-19 โดยสอดคล้องกับความรู้พื้นฐานทางการแพทย์ที่เราทราบกันดีว่า มีคนติดเชื้อจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง และการติดเชื้อโรคโควิด-19 นั้นไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหายหรือตาย แต่ทำให้เกิดผลกระทบระยะยาวอย่าง Long COVID ที่ทำให้เกิดอาการผิดปกติได้แทบทุกระบบในร่างกาย ทำให้บั่นทอนคุณภาพชีวิต และสมรรถนะในการใช้ชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำงาน

งานวิจัยหลายต่อหลายประเทศทั่วโลก รายงานไปในทางเดียวกันว่า Long COVID ทำให้คนจำนวนมากไม่สามารถทำงานได้ ต้องออกจากระบบงาน ขาดรายได้ และต้องตกอยู่ในภาวะพึ่งพิง ในขณะที่ข้อมูลของ ONS ล่าสุดนี้เสริมให้เข้าใจผลกระทบภาพรวมมากขึ้นว่า Long COVID ไม่ได้ทำให้เพียงคนออกจากระบบงาน แต่ยังน่าจะมีส่วนที่จะทำให้คนที่ยังคงอยู่ในระบบงานนั้นทำงานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ ขาดหรือลางานมากขึ้นอีกด้วย

...สำหรับไทยเรา ย่อมมีโอกาสสูงที่จะได้รับผลกระทบเช่นกัน เคสติดเชื้อมีมากขึ้นชัดเจน สังเกตได้จากสถานการณ์รอบตัว ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ระวังที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ไม่แชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

อ้างอิง
Sickness absence in the UK labour market: 2022. Office for National Statistics. UK. 26 April 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดพิกัดเที่ยวพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในจุฬาฯ

ปีนี้งาน Night Museum at Chula เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดภายใต้แนวคิด “เสน่ห์ Science”  ชูเสน่ห์ของวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในธรรมชาติรอบตัวเรา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันและเป็นแรงขับเคลื่อนทุกย่างก้าวของคนในปัจจุบัน 

ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า

จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!

อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม