ศูนย์จีโนมทางการแพทย์เผยไทยมีรุ่นลูกรุ่นหลานของอาร์คทูรัสแล้ว ถอดรหัสพันธุกรรมแล้วการเติบโตและการแพร่ระบาดแทบไม่ต่างกันไม่ว่าจะเชื้อรุ่นไหน ผลวิจัยย้ำการใช้มาตรการคุมหลากหลายลดตายได้
26 เม.ย.2566 – เพจ Center for Medical Genomics หรือศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีโพสต์รูปพร้อมเนื้อหาว่า อาร์คทูรัส (Arcturus) XBB.1.16 กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอย่างรวดเร็ว พบรุ่นลูก รุ่นหลานแล้วในไทย
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ได้วิเคราะห์ข้อมูลรหัสพันธุกรรมจากฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส (GISAID)” ณ. วันที่ 24 เมษายน 2566 พบ XBB.1.16 (การกลายพันธุ์ตำแหน่งที่จำเพาะ S:E180V, S:478R)
โดยทั่วโลกพบ 3,439 ราย ประเทศไทยพบ 24 ราย
รุ่นลูก
XBB.1.16.1 (S:T547I) ทั่วโลกพบ 909 ราย ประเทศไทยพบ 1 ราย
รุ่นหลาน
XBB.1.16.1.1 (T3802C): นามแฝง FU.1 ทั่วโลกพบ 122 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ
XBB.1.16.1.2 (C8692T): นามแฝง FU.2 ทั่วโลกพบ 68 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ
XBB.1.16.2 (ORF3a:V13L, ORF1a:P926H) ทั่วโลกพบ 232 ราย ประเทศไทยพบ 6 ราย
XBB.1.16.3 (A2893C) ทั่วโลกพบ 72 ราย ประเทศไทยพบ 1 ราย
ศูนย์จีโนมฯ รพ. รามาธิบดี ได้ทำการวิเคราะห์จากรหัสพันธุกรรมโควิด-19 ทั้งจีโนมพบว่า
โอไมครอนลูกผสม XBB.1.16.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)
เหนือกว่า XBB.1.16 ประมาณ 9%
โอไมครอนลูกผสม XBB.1.16.1.1 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)
เหนือกว่า XBB.1.16 ประมาณ 29%
โอไมครอนลูกผสม XBB.1.16.1.2 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)
เหนือกว่า XBB.1.16 ประมาณ 20%
โอไมครอนลูกผสม XBB.1.16.2 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)
เหนือกว่า XBB.1.16 ประมาณ 1%
สรุปได้ว่า ความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด ระหว่าง XBB.1.16 และ XBB.1.16 ที่กลายพันธุ์ไปในรุ่นลูก รุ่มหลาน ไม่แตกต่างกันมากนัก
ในอาเซียนประเมินว่าสิงคโปร์จะมีการระบาดของโอไมครอนลูกผสมสายพันธุ์ย่อย XBB.1.16 มากที่สุด
ส่วนโอไมครอน XBB.1.16 รุ่นลูก หรือรุ่นหลานจะกลายพันธุ์ก่อให้เกิดอาการติดเชื้อรุนแรงหรือไม่ คงต้องเฝัาติดตาม
ดร.อริจิตต์ จักรวารตี (Arijit Chakravarty) จากสถาบัน Fractal Therapeutics ในเมืองเล็กซิงตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ร่วมมือกับนักวิจัยจากสถาบันต่างๆ ศึกษาข้อจำกัดของการพึ่งพาวัคซีนเพียงอย่างเดียวในการควบคุมและหยุดยั้งการกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 พวกเขาสรุปว่าอัตราการแพร่เชื้อโควิด-19 ที่สูงมากเป็นการเอื้ออำนวยการกลายพันธุ์เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่ได้ แม้ว่าจะมีการฉีดวัคซีนกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มประชากรทั่วโลกก็ยังไม่พอเพียง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำมาตรการอื่นมาผนวกรวมด้วย เช่น กินร้อน ช้อนกลาง ใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม การใช้ยาต้านไวรัส และแอนติบอดีสังเคราะห์ ฯลฯ เพื่อลดระดับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลงอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเทศที่ใช้หลายมาตรการเข้ามาช่วยควบคุมการระบาดของโควิด-19 เช่น ญี่ปุ่น และไทย จะมีอัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ค่อนข้างต่ำ คือ 0.2% และ 0.7% ในขณะที่ประเทศที่ใช้มาตรการอย่างไม่เคร่งครัด เช่น อเมริกา และอังกฤษ จะมีอัตราผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ค่อนข้างสูง คือ 1% และ 0.9% ตามลำดับ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สัญญาณอันตราย!สหรัฐพบไวรัสไข้หวัดนกในหมูเสี่ยงระบาดครั้งใหม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
'มาริษ' ขอบคุณนานาชาติเลือกไทยนั่งคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
'รมว.กต.' ขอบคุณ หลังไทยได้รับเลือกนั่ง HRC วาระ 2568-2570 ยืนยันจะเป็นสะพานเชื่อมความแตกต่างของชาติสมาชิก แสดงความมุ่งมั่นส่งเสริมสถานะประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนไทยให้เป็นที่ยอมรับ
'ดร.ธรณ์' ชี้มหาพายุเฮอริเคน 'มินตัน' สภาพอากาศสุดขั้ว คนอเมริกานับล้านต้องอพยพหนี
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
มาอีกแล้ว! ไวรัสตัวใหม่ 'มาร์บูร์ก' น้องๆอีโบลา
เพจศูนย์จีโนมทางการแพทย์ ศูนย์สนับสนุนพันธกิจ
'ภูเก็ต' เจ๋ง! คว้า 2 รางวัลโลก สร้างชื่อเสียงประเทศไทย
ข่าวดี! 'ภูเก็ต' คว้ารางวัล 2 รางวัลใหญ่ สร้างชื่อเสียงประเทศไทย 'เมืองเทศกาลโลก' ปี 2024 พ่วงงาน 'ประเพณีถือศีลกินผัก'
'มาริษ' พบ 'ไบเดน' ย้ำสัมพันธ์ไทย-สหรัฐแน่นแฟ้น
'มาริษ' พบ 'ไบเดน' ย้ำความสัมพันธ์ 2 ประเทศ ยืนยันไทยพร้อมทำงานร่วมกับสหรัฐให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น พร้อมขอบคุณต้อนรับอบอุ่น