1ธ.ค.2564- เมืองเคมบริดจ์, รัฐแมสซาชูเซตส์ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564—บริษัทโมเดอร์น่าได้ประกาศความคืบหน้าเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ทางบริษัทโมเดอร์น่า จะใช้ในการจัดการรับมือกับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน (B.1.1.529) อันเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่เพิ่งอุบัติใหม่
สำหรับไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนที่เพิ่งมีการค้นพบเร็วๆนี้ พบว่าตัวไวรัสเองมีการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับที่พบในสายพันธุ์เดลต้า ที่เชื่อว่ามีส่วนเพิ่มความสามารถในการติดต่อแพร่กระจายของเชื้อ นอกจากนี้ แล้วยังพบการกลายพันธุ์เช่นเดียวกับที่พบในสายพันธุ์เบต้าและเดลต้า ที่เชื่อว่ามีส่วนส่งเสริมความสามารถในการหลบหนีภูมิคุ้มกันของตัวเชื้อ เมื่อการกลายพันธุ์ทั้งสองประเภทนี้เกิดขึ้นพร้อมกัน จะทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเกิดการเร่งของอัตราการลดลงของระดับภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ และภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากการฉีดวัคซีน ในขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่า วัคซีนโควิด-19 โมเดอร์น่าสูตร mRNA-1273 ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับประชากรส่วนใหญ่นั้นเป็นขนาด 50 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นไปตามกลยุทธ์ในขณะนี้ในการกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันที่ลดลงเท่านั้น ทางบริษัทโมเดอร์น่ากําลังดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อทดสอบความสามารถของปริมาณวัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันต่อการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน และคาดว่าจะมีข้อมูลออกมาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ตั้งแต่ต้นปี 2564 บริษัทโมเดอร์น่าได้พัฒนากลยุทธ์ที่ครอบคลุมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสายพันธุ์ที่น่ากังวลชนิดใหม่ๆ ที่อาจอุบัติขึ้นมา กลยุทธ์นี้ได้แก่ แนวทางการรับมือสามระดับ กรณีหากพบว่าวัคซีนเข็มกระตุ้นสูตร mRNA-1273 ขนาด 50 ไมโครกรัม ไม่สามารถกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันในระดับที่เพียงพอต่อการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนได้
กลยุทธ์ที่หนึ่ง บริษัทโมเดอร์น่าอยู่ในระหว่างการดำเนินการทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนเข็มกระตุ้นสูตร mRNA-1273 ในขนาด 100 ไมโครกรัม ซึ่งเป็นการวิจัยในกลุ่มอาสาสมัครผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดี โดยในขณะนี้ทางบริษัทโมเดอร์น่าได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการฉีดวัคซีนในอาสาสมัครผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 306 คน เพื่อศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของวัคซีนเข็มกระตุ้นขนาด 100 ไมโครกรัม นี้เรียบร้อยแล้ว
อนึ่ง สำหรับวัคซีน mRNA-1273 ขนาด 100 ไมโครกรัม ที่ใช้เป็นเข็มกระตุ้น ได้มีการศึกษามาก่อนหน้านี้แล้วโดยสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (National Institute of Health, NIH) ของสหรัฐอเมริกา และพบว่ามีประสิทธิภาพในการกระตุ้นระดับภูมิคุ้มกันในการยับยั้งเชื้อต่อไวรัส SARS-CoV2 สายพันธุ์ต่างๆ ที่มีการแพร่ระบาดมาก่อนหน้านี้ในระดับที่สูงที่สุด ทางบริษัทโมเดอร์นาเองกำลังอยู่ในระหว่างการทดสอบซีรั่มจากเลือดของอาสาสมัครผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นขนาด 100 ไมโครกรัม อย่างเร่งด่วน เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อและป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้หรือไม่
กลยุทธ์ประการที่สอง ทางบริษัทโมเดอร์นากําลังอยู่ระหว่างการศึกษาวัคซีนเข็มกระตุ้นชนิดผสมสองสูตรที่บริษัทพัฒนาขึ้นในขั้นตอนการวิจัยทางคลินิก โดยวัคซีนสูตรผสมดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อรับมือกับลักษณะการกลายพันธุ์ที่มีความจำเพาะเจาะจงดังเช่นที่ปรากฏในสายพันธุ์โอไมครอน โดยวัคซีนสูตรผสมชนิดแรกคือ วัคซีน mRNA-1273.211 ที่ได้มีการรวบรวมเอาการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งที่ในไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนที่ปรากฏอยู่ในสายพันธุ์เบต้าเช่นกัน ในขณะนี้ทางบริษัทโมเดอร์นาได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการฉีดวัคซีน mRNA-1273.211 ในขนาด 50 ไมโครกรัม (จำนวนอาสาสมัครที่ 300 คน) และ ขนาด 100 ไมโครกรัม (จำนวนอาสาสมัครที่ 584 คน) เรียบร้อยแล้ว
ส่วนวัคซีนสูตรผสมชนิดที่สอง คือวัคซีน mRNA-1273.213 อันเป็นวัคซีนที่ได้รวบรวมเอาการกลายพันธุ์หลายๆ ตำแหน่งในไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน ที่พบในสายพันธุ์เบต้า และเดลต้าเช่นเดียวกัน ทางบริษัทโมเดอร์น่าเองได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการฉีดวัคซีนสูตรผสมที่สองนี้ในขนาด 100 ไมโครกรัม (จำนวนอาสาสมัครที่ 584 คน) เรียบร้อยแล้ว และอยู่ในขั้นตอนการวางแผนที่จะทดสอบวัคซีนดังกล่าวที่ขนาด 50 ไมโครกรัม ในอาสาสมัครจำนวน 584 คน เป็นลำดับต่อไป โดยทางบริษัทจะเร่งดำเนินการทดสอบซีรั่มจากเลือดของอาสาสมัครจากโครงการวิจัยวัคซีนเข็มกระตุ้นที่เป็นสูตรผสมนี้ทั้งในส่วนที่เสร็จสิ้นแล้วและส่วนที่กำลังดำเนินการอยู่เพื่อทดสอบว่าวัคซีนสูตรผสมทั้งสองชนิดนี้จะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อและป้องกันการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนได้หรือไม่
กลยุทธ์ประการที่สาม ทางบริษัทโมเดอร์น่าจะรีบดำเนินการพัฒนาวัคซีนสูตรใหม่ที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อไวรัสสายพันธุ์โอไมครอน (วัคซีนสูตร mRNA-1273.529) โดยด่วน ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานของบริษัทโมเดอร์น่า ที่สามารถผลิตวัคซีนสูตรใหม่ขึ้นมาเพื่อรับมือกับไวรัสกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่มีการอุบัติใหม่ขึ้นมาได้ในเวลาไม่นาน สำหรับในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมาบริษัทโมเดอร์น่าได้มีการพัฒนาวัคซีนเข็มกระตุ้นที่มีความจำเพาะต่อไวรัสทั้งสายพันธุ์เบต้าและเดลต้ามาแล้ว ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบริษัทโมเดอร์น่าในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนสูตรใหม่สำหรับใช้ในการทดสอบทางคลินิกให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลา 60-90 วัน
Stéphane Bancel ซึ่งดำรงตำแหน่ง Chief Executive Officer ของบริษัทโมเดอร์นา กล่าวว่าจากจุดเริ่มต้น เราเคยกล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า การที่เราพยายามที่จะเอาชนะการระบาดครั้งใหญ่นี้ มันเป็นสิ่งจําเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องดำเนินการเชิงรุกเมื่อไวรัสมีวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลา การกลายพันธุ์ที่พบในไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนนี้เป็นที่น่ากังวลอย่างมาก และช่วงเวลาหลายๆวันที่ผ่านมากเราได้ดำเนินการตามกลยุทธ์ของเราอย่างรวดเร็วที่สุดเพื่อจัดการกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้” “ในขณะนี้ เรามีกลยุทธ์ทั้งสามประการที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการไปพร้อมกัน อันได้แก่ การทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนสูตรมาตรฐาน mRNA-1273 สำหรับการเป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นขนาด 100 ไมโครกรัม ประการที่สองเรากำลังอยู่ในระหว่างการศึกษาวัคซีนสูตรผสมทั้งสองชนิดที่พัฒนาขึ้นมาและอยู่ในขั้นตอนการวิจัยทางคลินิก โดยวัคซีนดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อรับมือกับการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสดังตัวอย่างที่พบในสายพันธุ์โอไมครอน เป็นต้น และคาดการณ์ว่าจะมีข้อมูลออกมาในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า และประการที่สาม เรากําลังพัฒนาวัคซีนสูตรใหม่ mRNA-1273.529 ซึ่งจะเป็นสูตรที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อสายพันธุ์โอไมครอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี! วัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ลดป่วยและตายเห็นผลชะงัก
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาฯ บอกข่าวดีวัคซีนเข็มกระตุ้น 2 สายพันธุ์ลดป่วยและตายจากการติดเชื้อเห็นผลชัดเจน หลังผลวิจัยในอิสราเอลที่ฉีดถึง 6 แสนคนลดอัตรานอน รพ.และตายถึงกว่า 80%
‘หมอธีระ’ เตือนสายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ แตกหน่อต่อยอดไปมาก
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก
'ศูนย์จีโนมทางการแพทย์' เปิดต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019
ศูนย์จีโนมฯ เผยโอไมครอนสานพันธุ์ลูกผสม XBB หลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้เหนือกว่าทุกสายพันธ์ที่พบมา โชคดียังไม่พบในไทย เผยโลกสร้างต้นไม้แห่งการวิวัฒนาการของไวรัสโคโรนา 2019 ได้แล้ว
พบในไทยแล้ว 4 ราย! โควิดเจน 3 โอมิครอน 'BA.2.75.2'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Center for Medical Genomics” ว่า โควิดเจเนอเรชัน 3 "โอมิครอน BA.2.75.2" พบแล้วในไทยรวม 4 ราย
ศูนย์จีโนมฯพบในไทยแล้ว 1 ราย โควิดเจเนอเรชัน 3 โอไมครอน 'BA.2.75.2'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เฝ้าติดตามโควิด-19 'เจเนอเรชัน 3' โอไมครอน 'BA.2.75.2' พบแล้วในไทย 1 ราย เตรียมพร้อมการตรวจกรองรับมือการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโอไมครอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
'หมอยง' ปลื้มผลวิจัยกระตุ้นmRNAครึ่งโดส เผยแพร่วารสารโลก
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19 วัคซีน การใช้วัคซีนขนาดครึ่งโดส mRNA