นพ.ธีระเผยผลวิจัยสเปนชี้ PM2.5 สัมพันธ์กับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน!

หมอธีระอัปเดตข้อมูลโควิด19 ถึงอึ้งผลวิจัยแดนกระทิงดุบอก PM2.5 สัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน เผย WHO ยังบอกไวรัสโควิดยังกลายพันธุ์ต่อเนื่องไม่นิ่ง!

06 เม.ย.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 6 เมษายน 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 57,674 คน ตายเพิ่ม 194 คน รวมแล้วติดไป 684,340,314 คน เสียชีวิตรวม 6,834,080 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 85.94 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 87.62

...อัปเดตความรู้โควิด-19

1.PM2.5 สัมพันธ์กับระดับภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน

งานวิจัยน่าสนใจโดย Kogevinas M และทีมงานจากประเทศสเปน เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสาร Environmental Health Perspectives เมื่อวานนี้ 5 เมษายน 2566 ศึกษาพบว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะทางอากาศ และระดับ PM2.5 สูง จะมีระดับภูมิคุ้มกันแอนติบอดี้ชนิด IgM ณ 1 เดือนหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 ต่ำกว่าประชากรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่อื่น อย่างไรก็ตาม ผลดังกล่าวพบในกลุ่มที่ไม่เคยมีการติดเชื้อมาก่อน หากเกิดการติดเชื้อมาก่อน ระดับแอนติบอดี้จะไม่แตกต่างกัน

2.วิวัฒนาการของไวรัสโควิด-19

Markov PV และคณะจากสหราชอาณาจักร เผยแพร่บทความทบทวนความรู้ทางวิชาการที่ดีมาก ในวารสาร Nature Review Microbiology ถือเป็น Must Read ของบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ที่สนใจเรื่องโควิด-19 โดยนำเสนอวิวัฒนาการของไวรัสโรคโควิด-19 ตั้งแต่สายพันธุ์ดั้งเดิมไปจนถึง Omicron

ทั้งนี้การระบาดที่หนักหน่วงมากในรอบหลายปีที่ผ่านมานั้น มาจากปัจจัยหลัก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของตัวไวรัสเองที่แพร่ได้ง่ายขึ้น, ระยะเวลาที่คนติดเชื้อสายพันธุ์นั้นๆ จะสามารถแพร่ไปให้คนอื่นรอบข้างได้, การที่คนติดเชื้อสามารถเริ่มแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นได้เร็วขึ้น, และการที่ไวรัสมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่มากขึ้น ปัจจัยข้างต้นเป็นตัวอธิบายปรากฏการณ์ที่เราเผชิญมา ทั้งในเรื่องจำนวนคนที่ติดเชื้อมากมาย ทั้งติดใหม่ และติดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ตลอดจนความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งการเสียชีวิต และผลกระทบระยะยาวจาก Long COVID

...องค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนเมื่อไม่กี่วันก่อนว่า ปัญหาในปัจจุบันคือ ไวรัสโควิด-19 นั้นยังคงกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง โดยที่เรายังไม่สามารถทำนายหรือคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของมันได้ แตกต่างจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ดังนั้นจึงควรดำเนินชีวิตประจำวันอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ปรับสภาพแวดล้อมให้มีการระบายอากาศที่ดีกว่าเดิม ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ที่เที่ยว ที่กินดื่ม ระมัดระวังการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่นนอกบ้านโดยไม่ป้องกันตัว ควรเลี่ยงการแชร์ของกินของใช้กัน การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด

อ้างอิง
1. Kogevinas M et al. Long-Term Exposure to Air Pollution and COVID-19 Vaccine Antibody Response in a General Population Cohort (COVICAT Study, Catalonia). Environmental Health Perspectives. 5 April 2023.
2. Markov PV et al. The evolution of SARS-CoV-2. Nature Reviews Microbiology. 5 April 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567

'จุลพันธ์' ยันไม่ให้เงิน 'กรมบัญชีกลาง 'เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 พร้อมหนุนเต็มที่

'จุลพันธ์' ยัน จะไม่ให้เงินของ กรมบัญชีกลาง เป็นอุปสรรค แก้ปัญหา PM 2.5 ย้ำ รัฐบาล' ให้ความสำคัญ คือการส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือ บอก ไม่ต้องกังวลเรื่องงบขาดพร้อมสนับสนุนเต็มที่