27 พ.ย.2564 - เวลา 13.00 น. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวภายหลังองค์การอนามัยโลกประกาศให้เชื้อไวัรสโควิด-19 สายพันธุ์ B.1.1.529 เป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวล โดยตั้งชื่อว่า “โอไมครอน” (Omicron) ว่า มีข้อมูลตั้งแต่กลาง พ.ย.64 ว่ามีการระบาดที่บอตสวานา ขยับมาที่แอฟริกาใต้ ไปหลายประเทศ เช่น ฮ่องกง เบลเยียม อิสราเอล โดยบางคนที่ตรวจเชื้อเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้ว สำหรับประเทศไทยยังไม่พบเชื้อตัวนี้
นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า เชื้อโอไมครอนมีการกลายพันธุ์หลายตำแหน่งมากถึง 50 กว่าตำแหน่ง โดยมี 32 ตำแหน่งอยู่ในสไปก์โปรตีน หรือโปรตีนหนามที่จะมาจับกับเซลล์มนุษย์ ซึ่งมากกว่าสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย) ที่มีการกลายพันธุ์ในสไปก์โปรตีนเพียงแค่ 9 ตำแหน่ง ทั้งนี้การกลายพันธุ์บางส่วนอาจเพิ่มอำนาจการแพร่เชื้อได้มากขึ้น น่าจะหลบภูมิคุ้มกันได้พอสมควร หรือดื้อต่อวัคซีน รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นในบริเวณพื้นที่ที่พบ พบว่าการตรวจเจอเชื้อค่อนข้างเข้มข้น และหาเชื้อง่ายในแต่ละรายที่ตรวจพบ เนื่องจากเชื้อเยอะมากสะท้อนให้เห็นว่าอาจมีการติดเชื้อง่าย และเร็วขึ้น จึงต้องติดตามข้อมูลกันต่อไป
นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ไทยมีเปิดประเทศ มี Test&Go ซึ่งกำลังประสานกับผู้ตรวจเชื้อ ให้ส่งตัวอย่างของผู้ติดเชื้อมาตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อย่างไรก็ตาม การกลายพันธุ์ของโควิด-19 ครั้งนี้ ไม่ใช่ลูกหลานของเดลต้า หรืออัลฟ่า (อังกฤษ) แต่เป็นการกลายพันธุ์ตัวใหม่ และหลายตำแหน่ง แต่ข้อมูลยังมีไม่มากพอ ต้องมีการติดตาม และระบบเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
นพ.ศุภกิจ กล่าวเพิ่มเติมว่าข้อได้เปรียบของไทย คือ ประชาชนค่อนข้างเคร่งครัดในการปฎิบัติตามมาตรการต่างๆ ฉะนั้น ขอให้ทุกคนปฎิบัติในการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดต่อไป การ์ดอย่าตก เพราะไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนเกิดขึ้นก็สามารถจัดการได้ และการดื้อต่อวัคซีนไม่ใช่ข้อมูล 100% ขอให้ทุกคนตั้งสติและรับมือ มั่นใจในภาครัฐว่าจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อให้พี่น้องประชาชนปลอดภัย และการตรวจหาพันธุกรรมไวรัสมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีเครือข่ายที่เข้มแข็งในการทำงานเรื่องนี้ รวมถึงอยากฝากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้มงวดในการเข้าประเทศ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะทางอากาศเท่านั้น แต่ตามชายแดนต่างๆ ก็ต้องกวดขันอย่างจริงจัง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต "ชุดทดสอบสารพาราควอดตกค้างในผักและผลไม้สด"
วันนี้ (26 สิงหาคม 2567) นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชุดทดสอบอิมมูโนโครมาโตกราฟี สำหรับตรวจหาสารพาราควอตตกค้างในผักและผลไม้สด ระหว่าง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ป.ป.ท.จับ 2 จนท.สถาบันชีววิทยาศาสตร์การแพทย์ปลอมเอกสารเท็จจัดซื้อจัดจ้าง!
ป.ป.ท.ร่วมปฏิบัติการจับกุมและตรวจค้น 2 เจ้าหน้าที่ 'สถาบันชีววิทยาศาสตร์การแพทย์' ทำเอกสารเท็จ-ปลอมลายมือชื่อ 'ทุจริตจัดซื้อพัสดุ 44 ครั้ง' มูลค่าความเสียหายกว่า 4.3 ล้านบาท