'นพ.ธีระ' แนะยังต้องป้องกันตัวเองเพราะไทยมีผู้ติดโควิดระดับเกินพันต่อวัน

'หมอธีระ' เผยตัวเลขล่าสุดจากองค์การอนามัยโลก โอมิครอนยึดแล้ว 99.6% โดยสายพันธุ์ที่แรงที่สุดยามนี้คือ XBB.1.5 เผยไทยยังพบผู้ติดเชื้อใหม่ในระดับเกินพันต่อวัน

09 มี.ค.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 9 มีนาคม 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 72,984 คน ตายเพิ่ม 280 คน รวมแล้วติดไป 680,955,404 คน เสียชีวิตรวม 6,807,132 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ รัสเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน และออสเตรีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 88.91 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 90

...อัพเดตจาก WHO
องค์การอนามัยโลกออกรายงาน WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อคืนนี้ 8 มีนาคม 2566 ในรอบเดือนที่ผ่านมา ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ครองการระบาดทั่วโลก 99.6%

จากการติดตามจนถึงต้นเดือนมีนาคม พบว่า Omicron สายพันธุ์ย่อยที่เกิดจากการผสมข้ามกันแบบ recombinant นั้นมีสัดส่วนการตรวจพบสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ณ ช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา XBB.1.5 นั้นครองการระบาดในสัดส่วนสูงสุดราว 32% ในขณะที่ BQ.1.1 ลดลงเหลือราว 20% ส่วนสายพันธุ์อื่นๆ ก็ได้รับการตรวจพบลดหลั่นกันไปแบบซุปสายพันธุ์ อาทิ CH.1.1, XBB, BA.2.75 และ BF.7

...ลักษณะสายพันธุ์ย่อยต่างๆ ที่กล่าวมา สอดคล้องกับที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า XBB.1.5 จะครองการระบาด และมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นไปเรื่อยๆ หากไม่มีการป้องกันอย่างดีพอ ถึงแม้อัตราการป่วยรุนแรงจะไม่ต่างจากสายพันธุ์ที่เคยระบาดมาก่อนหน้านี้ แต่ด้วยสมรรถนะของการแพร่เชื้อติดเชื้อที่ไว การติดเชื้อแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะติดครั้งแรก หรือติดซ้ำ ก็จะตามมาด้วยความเสี่ยงต่อการป่วย ป่วยรุนแรง เสียชีวิต รวมถึง Long COVID ได้

...สำหรับไทยเรา
รายงานรายสัปดาห์จาก 26 ก.พ. ถึง 4 มี.ค. 2566 มีคนติดเชื้อแล้วป่วยจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล 147 คน เสียชีวิต 7 คน หากคาดประมาณจำนวนคนที่ติดเชื้อใหม่จะสูงราว 1,050-1,458 คนต่อวัน ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวเสมอ ระมัดระวัง คอยสังเกตสังกาสถานการณ์รอบตัว หากมีใครมีอาการไม่สบายก็ไม่ควรไปใกล้ชิดคลุกคลี ไม่แชร์ของกินของใช้กัน ปรับสภาพแวดล้อมที่บ้าน ที่ทำงาน ที่กินดื่ม ที่เที่ยว ให้มีการระบายอากาศให้ดีกว่าในอดีต ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ทั้งโควิด-19 และ PM2.5

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน