ข่าวร้าย!ผลวิจัยมะกันชี้ผู้ป่วยโควิดมีโอกาสเจอปัญหาทางเดินอาหารในระยะยาว

หมอธีระอัพเดตความรู้เรื่องโควิด-19 เผยไวรัสไม่ได้กระทบแค่ระบบทางเดินหายใจ ผลวิจัยอเมริกาชี้ชัดผู้ป่วย Long COVID จะเจอปัญหาในทางเดินอาหารด้วย

08 มี.ค.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 8 มีนาคม 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 68,331 คน ตายเพิ่ม 243 คน รวมแล้วติดไป 680,821,343 คน เสียชีวิตรวม 6,806,127 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ไต้หวัน รัสเซีย และออสเตรีย เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 90.81 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 72.42

...อัพเดตความรู้โควิด-19 และ Long COVID

เหตุใดไวรัสโควิด-19 จึงทำให้เกิดความผิดปกติได้หลากหลายอวัยวะ? หลายคนคงสงสัยว่า ในเมื่อมีการตีฆ้องร้องป่าวมาตลอดว่าโควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ บางคนบอกก็แค่หวัดธรรมดา แต่เหตุใดทางการแพทย์จึงพบปัญหาตามมาในหลากหลายอวัยวะของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อที่รู้จักกันในนามของ Long COVID (ภาพที่ 1)

หนึ่งในคำตอบคือ การที่ไวรัสนี้สามารถจับกับตัวรับ ACE2 ที่ผิวเซลล์ ซึ่งตัวรับนี้ไม่ได้มีแค่ในระบบทางเดินหายใจอย่างหลอดลมและเนื้อปอดเท่านั้น แต่ยังมีในอวัยวะอื่นๆ ทั่วร่างกาย ตั้งแต่เซลล์บุเส้นเลือด ตับ ไต อัณฑะ ลำไส้เล็ก หัวใจ รวมไปถึงเซลล์ผิวหนังชั้นต่างๆ อีกด้วย (ภาพที่ 2) การเข้าใจถึงพยาธิกำเนิด และกลไกเหล่านี้ จึงมีความสำคัญ ที่จะกระตุ้นเตือนให้เราเห็นความสำคัญของการป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อซ้ำ

...ปัญหา Long COVID ในทางเดินอาหาร
Xu E และคณะจากประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษาติดตามผู้ป่วยโรคโควิด-19 จำนวน 154,068 คน ในระยะเวลา 1 ปีหลังจากที่ติดเชื้อ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ติดเชื้อ พบว่ากลุ่มที่ติดเชื้อโควิด-19 นั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารมากกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้ออย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่ามีอัตราการเกิดปัญหาเพิ่มขึ้นราว 60 คนต่อ 1,000 คน หรือราว 6% (ภาพที่ 3-4)

ทั้งนี้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นนั้น เกิดได้ทั้งในคนที่ติดเชื้ออาการน้อย ไม่ต้องรับการรักษาใน รพ. จนไปถึงคนที่ติดเชื้อแล้วป่วยรุนแรง โดยป่วยรุนแรงจะเสี่ยงมากกว่าป่วยอาการน้อย อาการผิดปกติของทางเดินอาหารที่เกิดขึ้นนั้นมีหลากหลาย อาทิ กรดไหลย้อน กระเพาะอาหารอักเสบ ท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน รวมถึงความเสี่ยงต่อผลตรวจเลือดเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด และการทำงานของตับและทางเดินน้ำดีที่ผิดปกติ

...ในยุคที่เปลี่ยนผ่านของโรคระบาด โดยยังมีการติดเชื้อแพร่เชื้อกันได้ต่อเนื่อง ควรใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ประมาท ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ สัจธรรมที่เห็นและพิสูจน์จากการวิจัยทางการแพทย์ทั่วโลก สะท้อนให้เราทราบว่า การติดเชื้อโควิด-19 ไม่จบแค่ชิลๆ แล้วหาย แต่ติดแล้วป่วยได้ ป่วยรุนแรงได้ ตายได้ และเสี่ยงต่อ Long COVID ในหลากหลายอวัยวะตามมาในระยะยาว

ระมัดระวังพฤติกรรมเสี่ยง สถานที่เสี่ยง ปรับสภาพแวดล้อมให้มีการระบายอากาศให้ดีกว่าในอดีต ทั้งที่ทำงาน ที่เรียน ที่กินดื่ม ที่เที่ยว การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ทั้งโควิด-19 และ PM2.5

อ้างอิง
Nature Reviews Microbiology. 13 January 2023.
Cell. 2 March 2023.
Nature Communications. 7 March 2023.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอยง' ชี้ 'โควิด' ระบาดหนัก แต่รุนแรงลดลง เข้าใกล้ไข้หวัดใหญ่

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โควิด 19

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

จุฬาฯ ผงาดเจ้าภาพครั้งแรกของเวทีระดับโลก ‘Hult Prize 2024 Global Summits Bangkok’

การแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโค้งสุดท้ายในระดับนานาชาติ Bangkok” ระหว่างวันที่ 21 – 23 มิถุนายน 2567

'หมอยง' ชวนฟังบรรยาย 20 มิ.ย. รับมือ RSV ฤดูกาลนี้

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า RSV กำลังจะระบาด