หมอธีระอัปเดตความรู้เรื่องโควิด ชี้ชัดโมลูพิราเวียร์ป้องกันโควิดไม่ได้ แต่ยา Metformin ลดการนอนโรงพยาบาลและลองโควิด ย้ำการเสียชีวิตจากโรคนี้ส่งผลต่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
23 ก.พ.2566 - รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กในเรื่องสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ว่าเมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 91,058 คน ตายเพิ่ม 427 คน รวมแล้วติดไป 679,048,196 คน เสียชีวิตรวม 6,793,249 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน รัสเซีย เกาหลีใต้ และออสเตรีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอ ง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 18 ใน 20 อันดับแรกของโลก จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 91.17 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 72.59
อัปเดตความรู้โควิด-19
1. Molnupiravir ไม่สามารถใช้ป้องกันโรคโควิด-19 ได้ การศึกษา MOVe-AHEAD ในกลุ่มประชากรจำนวน 1,500 คนจาก 19 ประเทศทั่วโลก ซึ่งอาศัยอยู่กับสมาชิกในครอบครัวที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยประเมินประสิทธิผลของยา Molnupiravir ว่าจะสามารถช่วยป้องกันโรคโควิด-19 ในกลุ่มคนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อได้หรือไม่ (Post-exposure prophylaxis) พบว่ากลุ่มที่ได้ยา Molnupiravir ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคโควิด-19 น้อยกว่ากลุ่มที่ได้ยาหลอกราว 23.6% แต่ไม่ได้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ
2. การตายจากโรคโควิด-19 นั้นถือเป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจมหาศาลต่อประเทศ Silva S และคณะจากประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่ผลการศึกษาใน Scientific Reports เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ประเมินผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจของการสูญเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวนกว่าล้านคนสาระสำคัญพบว่า ความสูญเสียจากโรคโควิด-19 นั้นทำให้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรลดลง 3.08 ปี และประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึง 3.57 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
3. ยา Metformin ช่วยลดปริมาณไวรัส ลดเสี่ยงป่วยนอน รพ.และเสียชีวิต รวมถึง Long COVID ผลการวิจัยล่าสุด COVID-OUT Trial นำเสนอในการประชุม CROI 2023 สหรัฐอเมริกา โดย Bramante C จากมหาวิทยาลัย Minnesota ศึกษาในผู้ป่วย 1,323 คนจาก 6 โรงพยาบาล พบว่า ยา Metformin ช่วยลดปริมาณไวรัสได้ดีกว่ายาหลอก 4.4 เท่า โดยผลในการลดปริมาณไวรัสของ Metformin นั้นเทียบเท่ากับ Paxlovid ณ วันที่ 5 และดีกว่า Paxlovid ณ วันที่ 10
นอกจากนี้ กลุ่มที่ได้ยาจะลดเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้ 58% และลดเสี่ยง Long COVID ได้ราว 42% อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามดูงานวิจัยอื่นๆ จากทั่วโลกว่ามีการศึกษาแล้วได้ผลในทิศทางเดียวกันหรือไม่ เพื่อให้มีความมั่นใจมากขึ้น และนำไปสู่การพิจารณาประยุกต์ใช้วงกว้าง
...ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ปรับสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ที่เรียน ที่กินดื่ม ที่ทำงาน ให้มีการระบายอากาศให้ดีกว่าเดิม การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก ไม่ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด ความใส่ใจสุขภาพของตนเองและครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญ
อ้างอิง
1. Merck Provides Update on Phase 3 MOVe-AHEAD Trial Evaluating LAGEVRIO™ (molnupiravir) for Post-exposure Prophylaxis for Prevention of COVID-19. Businesswire. 21 February 2023.
2. Study of MK-4482 for Prevention of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) in Adults (MK-4482-013) (MOVe-AHEAD). ClinicalTrials.gov. Accessed on 23 February 2023.
3. Silva S et al. Assessing the impact of one million COVID-19 deaths in America: economic and life expectancy losses. Scientific Reports. 22 February 2023.
4. Metformin Linked to Reductions in COVID-19 Viral Load. Medscape. 21 February 2023.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'หมอยง' เผยสถาการณ์โควิดเปลี่ยนไปมากคำแนะนำก็ต้องเปลี่ยนตาม
ศ.นพ.ยง ภู่รวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
จุฬาฯ เดินหน้ายุทธศาสตร์ใหม่ สร้าง Siam Square ให้เป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน รวมพลคนพิการโชว์พลังครั้งใหญ่ที่สุด!
อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำทีม PMCU (สำนักทรัพย์สินจุฬาฯ) และ มูลนิธิ Five for All เปิดงาน Siam Square Walking Street For All ครั้งแรก! บนพื้นที่ใจกลางสยามสแควร์ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับคนไทยทุกคน ทุกกลุ่ม
เปิดข้อมูล ‘ไวรัสโควิด’ สร้างได้ในห้องทดลอง มีจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2018
การสร้างไวรัสใหม่ชนิดนี้จะสามารถครอบคลุมไวรัสที่จะแพร่และเกิดโรคระบาดในมนุษย์ได้ทั้งสิ้น และสามารถที่จะสร้างวัคซีนให้มนุษย์ก่อนได้
'หมอยง' แนะแนวทางแก้ไขหลุดพ้นจากกับดักผลงานวิชาการ
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
อ.ไชยันต์ยกตัวอย่างการอภัยโทษในต่างประเทศที่น่าสนใจ!
ศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์
ดิจิทัล วอร์รูม เตือนภัยฝ่าน้ำท่วม-ดินโคลนถล่ม
ภาคเหนือเผชิญอุทกภัยรุนแรง โดยเฉพาะที่ อ.แม่สาย น้ำท่วมตัวเมือง มีน้ำป่าไหลทะลักลงตามแม่น้ำสาย ทำให้บ้านเรือน ร้านค้า ตลาดสด พื้นที่เกษตรที่ติดลำน้ำสายได้รับความเสียหายอย่างหนัก ปัจจุบันแม้น้ำแห้งแล้วแต่ประชาชนยังจมโคลนจมฝุ่นต้องการการช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยาจากปัญหาที่น้ำท่วมได้ทิ้งไว้ตามบ้านเรือนของประชาชนและสถานที่ต่างๆ